คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรชาติ บุญศิริพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 467 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการเคาะไม้ขายทอดตลาดเมื่อราคาเสนอซื้อต่ำกว่าราคาเดิม
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินในครั้งถัด ๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนเท่านั้นไม่ เพราะการขายทอดตลาดในครั้งต่อมา อาจเกิดข้อขัดข้อง เช่น เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบทำให้ราคาที่ดินตกต่ำอย่างต่อเนื่อง หรือลูกหนี้อาจสมคบกับบุคคลอื่นสร้างราคาซื้อขายในครั้งก่อนไว้สูงกว่าราคาปกติมาก ๆ จึงยากจะมีผู้มาเสนอราคาที่ไม่น้อยกว่าครั้งก่อนได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าราคาที่เสนอครั้งหลังเป็นราคาที่สมควรหรือไม่ และไม่มีอำนาจเคาะไม้ขายหากเป็นราคาที่ต่ำกว่าครั้งก่อน การขายทอดตลาดก็จะเนิ่นช้าไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเจตนารมณ์ตามกฎหมายไม่น่าจะประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอซื้อไว้ในครั้งก่อน จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายขึ้นวินิจฉัยเองแล้วพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของโจทก์ และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาว่าขายไปในราคาต่ำเกินสมควร การวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสุดท้าย สมควรส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ในคดีอาญาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่าจะนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้น และให้นำมาใช้บังคับเพียงเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 193/17 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติในมาตรา 185 วรรคหนึ่ง ว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บทบัญญัติ ป.วิ.พ. ในคดีอาญา และการพิจารณาอายุความตาม ป.วิ.อ.
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่า จะนำบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้นและให้นำมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสองและมาตรา 193/17 วรรคสอง ซึ่งเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงแห่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่บทบัญญัติของ ป.วิ.พ. จึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้, เบี้ยปรับ, อัตราดอกเบี้ย, การผิดนัดชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ
แม้สัญญากู้ยืมเงินเลิกกันไปแล้วตามการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ เพราะจำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้เงินกู้ยืมก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ซึ่งเป็นอัตราลอยตัวได้ ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เดิมตามข้อสัญญาต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และประกาศธนาคารโจทก์ที่ออกตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กับยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับจากจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาได้ด้วยเช่นกัน ตามข้อสัญญาและ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่ แต่สำหรับค่าเสียหายส่วนที่เป็นเบี้ยปรับ อันได้แก่ ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 กับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 ถึง 3.25 ต่อปี นั้น เมื่อได้คำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีและทางได้เสียของโจทก์ประกอบกับภาวะดอกเบี้ยในตลาดการเงินในปัจจุบันซึ่งเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลงแล้วเห็นว่าสูงเกินไป จึงสมควรกำหนดให้โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นเบี้ยปรับได้อีกเพียงร้อยละ 0.50 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2 ต่อปี หรือเท่ากับดอกเบี้ยอัตรา เอ็ม อาร์ อาร์ บวกร้อยละ 2.50 ต่อปี
(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน: อำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้เสนอโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด & หน้าที่แบ่งแยกที่ดินเกินอาคาร
สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและบันทึกข้อตกลงมีข้อตกลงให้ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่มีอาคารปลูกสร้างรุกล้ำของแต่ละฝ่ายให้แก่กันและกัน และจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกที่ดินส่วนที่เกินจากอาคารของจำเลยทั้งสองให้แก่ฝ่ายโจทก์อีกด้วย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากบังคับฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ก็ต้องบังคับให้อีกฝ่ายชำระหนี้ตอบแทนได้ แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องเสนอขอโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ฝ่ายโจทก์จะต้องโอนให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญาก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคู่ความเข้ามาในคดี: เหตุผลความจำเป็นต้องแสดงความสัมพันธ์ทางสิทธิและการใช้สิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนอาคารพาณิชย์พร้อมสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา และยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ตามคำร้องระบุเพียงว่าจำเลยให้การว่าวัดเจ้าของที่ดินมอบสิทธิการเช่าที่ดินและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แก่จำเลยร่วม กรณีไม่สามารถทราบได้ชัดแจ้งว่าเจ้าของที่ดินมอบสิทธิให้แก่ผู้ใด จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าโจทก์อาจฟ้องหรือถูกจำเลยร่วมฟ้องได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าศาลพิจารณาให้จำเลยร่วมแพ้คดี เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตดัดแปลงอาคารสูง ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การฟ้องต้องระบุสิทธิที่ชัดเจน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 50 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และมาตรา 51 (1) บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนมาตรา 52 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าทดแทนเวนคืน: อุปกรณ์ขนย้ายได้-ความเสียหายทางธุรกิจก่อนเวนคืนไม่ได้รับ
อุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์สามารถขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไปใช้งานในสถานที่อื่นได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าวไม่มีผู้ประสงค์จะซื้อ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนนั้นตามความหมายของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสุดท้าย
โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพียงใดนั้นจะต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 บัญญัติไว้ ตาม พ.ร.บ. นี้ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายต่อธุรกิจของผู้ถูกเวนคืนช่วงก่อนวันที่ผู้ถูกเวนคืนจะออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายต่อธุรกิจของโจทก์ในช่วงก่อนวันที่โจทก์จะออกจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ต้องเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการขอสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่ขยายเวลาอุทธรณ์ได้ หากเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความ
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 แม้ทนายจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงขอถ่ายสำเนาคำพิพากษาไว้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2545 และยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545 เจ้าหน้าที่ศาลได้บันทึกไว้ในคำแถลงของจำเลยดังกล่าวว่าได้ดำเนินการถ่ายเอกสารให้แก่จำเลยเสร็จแล้วและยังปรากฏจากรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2545 อีกว่า โจทก์ได้มาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาจากศาลไปแล้ว ดังนี้ทนายจำเลยย่อมสามารถมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาได้ตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นกัน แต่จำเลยกลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยมาติดต่ออีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ที่จะมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาอย่างจริงจัง ที่ทนายจำเลยอ้างว่า เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษา จึงยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเพราะมีกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้แล้วเหลือเพียง 7 วันนั้น จึงเป็นเพราะความบกพร่องของทนายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ปล่อยคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักร
ขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ตรวจคนโดยสารขาออกนอกราชอาณาจักร จ. คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนโดยสารขาออกถือหนังสือเดินทางมาให้จำเลยตรวจเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อจำเลยตรวจพบว่า จ. มีเพียงหนังสือเดินทางโดยไม่มีตราประทับขาเข้ากับไม่มีเอกสารการเดินทางครบถ้วน แต่จำเลยไม่ได้ยึดหนังสือเดินทางและควบคุม จ.ไว้เพื่อให้นายตำรวจสัญญาบัตรมารับตัวไปดำเนินคดีตามระเบียบปฏิบัติ กลับปล่อยให้ จ. ผ่านช่องตรวจของจำเลยเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ
of 47