พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ใจความว่า ด้วย ร.ม.ต.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 และมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ออกประกาศกระทรวงเกษตรให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่ทุกจังหวัดและโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ใจความว่า ก. ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งหกร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ขึ้นที่บริเวณไม่มีเลขที่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยร่วมกันตั้งโรงงานทำเป็นสถานที่ขึ้นเพื่อทำการแปรรูปไม้ไผ่ซางโดยใช้เครื่องจักรกล ได้แก่แท่นเครื่องแปรรูปไม้ไผ่ซาง 4 แท่น แท่นเครื่องตัดไม้ไผ่ซางมีใบเลื่อยพร้อมมอเตอร์ 3 เครื่อง และตาชั่ง 1 เครื่อง เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ภายในโรงงาน ที่ใช้ทำการเลื่อยแปรรูปไม้ไผ่ซางให้เปลี่ยนรูป เปลี่ยนขนาด แปรเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ทั้งนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่มีเหตุอันควรได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ข. จำเลยทั้งหกได้บังอาจร่วมกันทำไม้ภายในเขตป่าฝั่งซ้ายของแม่น้ำป่าสัก ในท้องที่ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยได้ร่วมกันนำไม้ไผ่ซางที่มีอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวมาผ่าเลื่อยให้เปลี่ยนรูป เปลี่ยนขนาด แปรเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยจำเลยทั้งหกไม่ได้รับสัมปทานและมิได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันทำการแปรรูปไม้หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมโดยมิได้รับอนุญาตภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ อันเป็นความผิดคนละฐานซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และความผิดฐานทำไม้ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องมา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุบทมาตราให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แม้ลงโทษอาญาแล้ว
จำเลยกับพวกเข้าไปขุด ถาง ปรับสภาพพื้นดิน และปลูกสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมล้อมรั้วลวดหนาม ในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลและใช้ประโยชน์ของกรมสวัสดิการทหารเรือ กองทัพเรือ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือ นอกจากจำเลยจะมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แม้ลงโทษอาญาแล้ว
การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว ยังเป็นความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐ อันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ อันมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผิดสัญญาซื้อขายโรงน้ำแข็ง กับคดีภาษีธุรกิจเฉพาะจากอสังหาริมทรัพย์เดียวกัน ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่าง
จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนหรือไม่ เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้กล่าวแก้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็ง ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็งในส่วนที่เหลือ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงงานน้ำแข็งฉบับเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึงมาจากมูลฐานเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อภาษีธุรกิจเฉพาะที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดนี้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) และ 91/10 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ผู้มีรายรับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และโจทก์สามารถตรวจสอบหรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ได้ จึงถือว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้ว โจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองได้ในคดีดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็ง ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงน้ำแข็งในส่วนที่เหลือ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายและบันทึกข้อตกลงการซื้อขายโรงงานน้ำแข็งฉบับเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาจึงมาจากมูลฐานเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อภาษีธุรกิจเฉพาะที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดนี้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) และ 91/10 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ผู้มีรายรับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และโจทก์สามารถตรวจสอบหรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่ได้ จึงถือว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้ว โจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองได้ในคดีดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเช็ค: เริ่มนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่วันที่ออกเช็ค
คดีความผิดอันยอมความได้ โจทก์ร่วมต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 96 ซึ่งความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน มิใช่เกิดขึ้นในวันที่ลงในเช็คพิพาท ดังนี้ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 จึงถือว่าความผิดของจำเลยทั้งสองเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ฉะนั้น การเริ่มนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ 25 เมษายน 2538 อันเป็นวันที่ลงในเช็คพิพาท เมื่อโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในวันที่ 20 ตุลาคม 2538 ภายในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072-9074/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการหรือละเว้นกระทำการตามหน้าที่มิให้มีการยกเลิกการใช้ชื่อของโจทก์ในเอกสารของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีมูลให้พอฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 และ 269 จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ร่วมรู้เห็นกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และตามกฎหมายความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล การที่ศาลชั้นต้นประทับฟ้องจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าการกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เกิดจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยตรง อันเป็นการโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 และ 269 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ประกอบมาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8464/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท ที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้ 5,257.16 บาท แล้วทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยจึงต้องคำนวณหักจำนวนหนี้เงินกู้ซึ่งจำเลยไม่โต้แย้งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 35,257.16 บาท ออกจากจำนวนเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ถูกชำระบัญชี ไม่เป็นสัญญาซื้อขายความกัน
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นนิติกรรมนอกวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว และโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องทางภาระจำยอมโดยอายุความ: สิทธิสุจริตและประเด็นค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิม แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 10 แปลง และปลูกสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์เพื่อขายให้บุคคลทั่วไป โดยเว้นที่ดินแปลงพิพาทไว้ 1 แปลง สละให้เป็นถนนเชื่อมกับถนนของตลาดสด และศูนย์การค้า ออกสู่ถนน ผู้ซื้ออาคารพาณิชย์และบุคคลทั่วไปใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางสัญจรติดต่อกันมาประมาณ 22 ปี โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้ง โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ที่แบ่งแยกมาจากที่ดินเดิมเมื่อปี 2527 และใช้ที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโจทก์เป็นทางสัญจรตลอดมา โดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางสัญจร ติดต่อกันมาเป็นเวลา 12 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินแปลงของโจทก์โดยอายุความ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่า ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางสัญจรโดยการเดินเท้าหรือใช้รถยนต์ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่าแผงสินค้าที่ตั้งอยู่บนที่พิพาทก็เป็นเพราะแผงดังกล่าวตั้งอยู่หน้าที่ดินของโจทก์ และหากผู้เช่าแผงขายสินค้าใช้น้ำประปาและไฟฟ้าจากอาคารพาณิชย์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้เช่าแผงขายสินค้าได้ เพราะโจทก์ต้องนำไปชำระให้แก่การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคดังกล่าว สิทธิของโจทก์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ หรือเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
การที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่าแผงสินค้าที่ตั้งอยู่บนที่พิพาทก็เป็นเพราะแผงดังกล่าวตั้งอยู่หน้าที่ดินของโจทก์ และหากผู้เช่าแผงขายสินค้าใช้น้ำประปาและไฟฟ้าจากอาคารพาณิชย์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้เช่าแผงขายสินค้าได้ เพราะโจทก์ต้องนำไปชำระให้แก่การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคดังกล่าว สิทธิของโจทก์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ หรือเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความ, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และการดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาเพียงว่าทนายจำเลยแถลงโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 เท่านั้น ดังนั้น การที่ทนายจำเลยเพียงแต่จดแจ้งข้อโต้แย้งคัดค้านไว้ในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2542 ถือไม่ได้ว่าทนายจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 และมาตรา 226 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่