พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6317/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง, การเพิ่มโทษ, และการลงโทษกรรมต่างกันในคดีชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
อาวุธปืนพกของกลางและกระสุนปืนของกลางเป็นของผู้ตาย ส่วนเสื้อยืดของกลางเป็นของจำเลยที่ 2 แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้ริบและมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 จึงไม่อาจริบได้
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำความผิด ต้องตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี แต่มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 339 วรรคท้าย กรณีไม่มีทางที่จะวางโทษกึ่งหนึ่งตามที่มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ จึงนำมาตรา 340 ตรี มาบัญญัติด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 339 วรรคท้ายเท่านั้น
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ป.อ. มาตรา 91 ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ต้องเพิ่มโทษทุกกระทงของความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212, 225
จำเลยทั้งสองร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยจำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนเพื่อกระทำความผิด ต้องตาม ป.อ.มาตรา 340 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี แต่มาตรา 340 ตรี เป็นเพียงบทกำหนดโทษไม่ใช่บทเพิ่มโทษ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 339 วรรคท้าย กรณีไม่มีทางที่จะวางโทษกึ่งหนึ่งตามที่มาตรา 340 ตรี บัญญัติไว้ จึงนำมาตรา 340 ตรี มาบัญญัติด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 339 วรรคท้ายเท่านั้น
ในการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ป.อ. มาตรา 91 ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน การเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ต้องเพิ่มโทษทุกกระทงของความผิด เว้นแต่ในความผิดฐานใดที่ศาลลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกเกินห้าสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 51 ที่ศาลชั้นต้นยกคำขอเพิ่มโทษ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยและแก้ไขในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดิน ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
แม้คำขอโจทก์ท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยพร้อมทั้งบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทจำเลยเป็นผู้ครอบครองตลอดมาเท่ากับจำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ ซึ่งนัยความหมายของประเด็นดังกล่าวคือโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยพร้อมบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างได้หรือไม่ ดังนั้น ราคาของที่พิพาทในคดีนี้จึงอาจคำนวณราคาเป็นราคาเงินได้ คดีโจทก์เดิมที่บังคับขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์นั้นจึงกลายเป็นคดีที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาของที่พิพาทซึ่งเท่ากับ 25,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5918/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (ไม่มีลายมือชื่อโจทก์) ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบแล้ว
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏแต่เพียงลายมือชื่อผู้พิมพ์และผู้เรียงเท่านั้น ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ จึงถือเป็นฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 สั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งกรณีดังกล่าวไม่เข้าเหตุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงทางศาสนา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามครบองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหานี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5362/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การปลูกกัญชาและครอบครองกัญชาจำนวนมาก
ขณะที่จำเลยปลูกกัญชาจำเลยย่อมจะต้องมีกัญชาไว้ในครอบครอง เพราะถ้าไม่มีกัญชาก็จะปลูกกัญชาไม่ได้ จำเลยจึงมีเจตนามีกัญชาไว้ในครอบครองตั้งแต่ขณะปลูก และเมื่อปลูกแล้วกัญชาย่อมเจริญเติบโต เมื่อปรากฏว่ากัญชาจำนวน 128 ตัน น้ำหนัก 435.55 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นผลที่เกิดจากการผลิตกัญชาโดยการปลูกของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดของศาลทหารใช้เป็นเหตุเพิ่มโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดได้
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 ไม่ได้กำหนดว่าการต้องคำพิพากษาถึงที่สุดที่จะถือเป็นเหตุเพิ่มโทษจะต้องเป็นคำพิพากษาของศาลใด คำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวจึงย่อมหมายความถึงคำวินิจฉัยชี้ขาดศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นใดที่ใช้อำนาจตุลาการ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 281 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ศาลทหารจึงเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการด้วย ดังนั้น การต้องคำพิพากษาถึงที่สุดที่จะถือเป็นเหตุเพื่มโทษตามมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ นั้น ย่อมหมายความรวมถึงการต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีของศาลทหารด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนเด็กและอำนาจฟ้อง: การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 133 ทวิ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่ทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
บทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้การสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดให้พนักงานสอบสวนต้องจัดทำ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคห้า คดีนี้ปรากฏว่าในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำ ว. ซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษ ในฐานะพยาน โดยไม่จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำแต่อย่างใด ทั้งไม่เข้าเหตุกรณีจำเป็นเร่งด่วน ดังนี้ คำให้การของ ว. ในชั้นสอบสวนซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว คงมีผลเพียงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ และถือได้ว่าได้มีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้การสอบสวน ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยานและ ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้
แม้การสอบสวน ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยานและ ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนพยานเด็กเยาว์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ทำให้การฟ้องของโจทก์เป็นโมฆะ หากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษ ในฐานะพยาน โดยไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ คำให้การของเด็กหญิง ว. จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ผลของการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรานี้ คงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กหญิง ว. ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสอง เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
แม้การสอบสวนเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้างเด็กหญิง ว. เป็นพยาน และเด็กหญิง ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของเด็กหญิง ว. เป็นพยานได้
แม้การสอบสวนเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้างเด็กหญิง ว. เป็นพยาน และเด็กหญิง ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของเด็กหญิง ว. เป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขโทษของศาลอุทธรณ์: แม้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะประเด็นรอการลงโทษ ศาลก็แก้ไขโทษได้หากเห็นว่าหนักเกินไป
การที่โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวในปัญหาว่าสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ และศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าวก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดมานั้นยังหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่และบดบังทัศนียภาพ ทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 60,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา ส่วนจำเลยฎีกาโต้แย้งว่าค่าเสียหายควรต่ำกว่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่อาจให้เช่าได้ขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์ตอนท้ายได้บรรยายแล้วว่า โจทก์ประสงค์จะนำที่ดินไปทำประโยชน์โดยทำเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า จึงให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งบังหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งหมดออกไป และบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนแม้จะปลูกนอกเขตที่ดินโจทก์ แต่บังหน้าที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำประโยชน์ได้ ขอให้รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนออกไปจากหน้าที่ดินพิพาทด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า การที่จำเลยใช้สิทธิปลูกบ้านในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือควรคาดหมายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกบังหน้าที่ดินโจทก์ทั้งยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้อีก จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำฟ้องโจทก์ตอนท้ายได้บรรยายแล้วว่า โจทก์ประสงค์จะนำที่ดินไปทำประโยชน์โดยทำเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า จึงให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งบังหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งหมดออกไป และบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนแม้จะปลูกนอกเขตที่ดินโจทก์ แต่บังหน้าที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำประโยชน์ได้ ขอให้รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนออกไปจากหน้าที่ดินพิพาทด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า การที่จำเลยใช้สิทธิปลูกบ้านในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือควรคาดหมายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกบังหน้าที่ดินโจทก์ทั้งยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้อีก จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142