คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประเสริฐ วิริยสิทธาวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงนามไม่ถูกต้อง ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 30,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 7 เดือน แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้นซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ. จัดจั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกทำลาย การฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
คดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าบ้านเป็นของโจทก์ แต่ศาลจังหวัดสมุทรสาครฟังข้อเท็จจริงว่าไม่ใช่ของโจทก์ คดีถึงที่สุด โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนจำต้องผูกพันในคำพิพากษาของศาลจังหวัดสมุทรสาครตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งห้า จำเลยร่วมกับพวกร่วมกันรื้อบ้านตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้านดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางจำเป็นต้องไม่มีทางออกอื่น สิทธิสิ้นสุดเมื่อมีทางออกอื่น แม้เหตุเปลี่ยนภายหลังก็ไม่อาจอาศัยคำฟ้องเดิม
การอ้างสิทธิที่จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง บุคคลนั้นจะต้องไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อปรากฏว่าระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมายได้อีก อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 ย่อมหมดสิ้นไป เพราะไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ต่อไป
แม้ต่อมาโจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไป จนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่อันเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสามเปิดทางจำเป็นเนื่องจากการแบ่งขายที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นสิ้นสุดเมื่อมีทางภาระจำยอมอื่น แม้มีการแบ่งขายที่ดินภายหลังก็ไม่อาจฟ้องเรียกทางจำเป็นเดิมได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ใช้ออกสู่ทางสาธารณะ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งที่ดินของโจทก์จะต้องไม่มีทางออกถึงสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมาย อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ตามมาตรา 1349 ย่อมหมดสิ้นไป ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าขณะฟ้องโจทก์ไม่มีทางอื่นนอกจากทางพิพาทสู่ทางสาธารณะหรือไม่
โจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไปในเวลาต่อมา แม้จะเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างจากเหตุที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องอันเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิตามกฎหมายในกรณีดังกล่าวอย่างไรต้องว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ขอให้ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ประสงค์ให้เปิดทางพิพาทในฐานะเป็นทางจำเป็นแต่ประการเดียว มิได้อ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมด้วย การที่โจทก์ฎีกาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: เจตนาเป็นเจ้าของและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หลัง 10 ปี
ผู้ครอบครองที่ดินมีลักษณะเป็นการครอบครองเพื่อตนอย่างเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ความเป็นจริงเป็นที่ดินมีโฉนด ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อครอบครองเกินกว่า 10 ปี ที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จำเลยไม่ใช่คู่ความเดิม การตกลงโอนที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาท
เดิมโจทก์ฟ้อง บ. เรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะเหตุเนรคุณ ระหว่างพิจารณาในคดีดังกล่าว จำเลยซึ่งซื้อที่ดินมาจาก บ. (ก่อนที่ บ. จะถูกฟ้อง) ได้มาเจรจาและตกลงกับโจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า จำเลยยินยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ และโจทก์สัญญาว่าจะไม่ทำนิติกรรมก่อให้เกิดภาระผูกพันตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ดังนี้ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 850 ประกอบข้อตกลงดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า จำเลยได้เข้าผูกพันตนโดยสมัครใจตกลงที่จะโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาที่มุ่งจะก่อนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โดยโจทก์จะต้องไม่ทำนิติกรรมก่อให้เกิดภาระผูกพันในที่ดินพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์ ซึ่งเป็นการกำหนดภาระหน้าที่ของคู่สัญญาต่อกันแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่จำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อในฐานะคู่สัญญาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแล้ว ทั้งจำเลยเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก บ. ด้วย โจทก์จึงอาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนหรือเพิกถอนที่ดินพิพาทจากจำเลยต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นในภายภาคหน้า อันเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ส่วนที่ศาลกำชับให้โจทก์เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบหากตกลงกันไม่ได้นั้นก็เป็นขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเท่านั้นเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้า ข้อความดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยแต่อย่างใด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์-หลักฐานกู้เงิน: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โดยไม่ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินไว้ เช็คพิพาททั้งสองฉบับดังกล่าวจึงมีรายการขาดตกบกพร่องในขณะออกเช็ค โดยไม่มีคำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 988 (2) จึงไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 987 และมาตรา 910 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับก็มิใช่หลักฐานการกู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์-ขาดเจตนา: เช็คที่ลงลายมือชื่อไว้ก่อนกรอกรายละเอียด ไม่เป็นหลักฐานการกู้เงิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกู้ยืมเงิน ม. แล้วมอบเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้ไว้เป็นประกันเงินกู้โดยลงแต่เพียงลายมือชื่อสั่งจ่าย ไม่ได้กรอกข้อความและจำนวนเงินไว้ ม. กรอกข้อความและจำนวนเงินในภายหลัง แล้วโจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงมีรายการขาดตกบกพร่องในขณะออกเช็ค โดยไม่มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 988 (2) ไม่สมบูรณ์เป็นเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 987 และมาตรา 910 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับก็มิใช่หลักฐานการกู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้
of 8