คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีทำลายทรัพยากรธรรมชาติ: ข้อจำกัดการเพิ่มโทษจากข้อผิดพลาดของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้ยาง โดยใช้เลื่อยโซ่รถยนต์ภายในบริเวณป่าทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ร่วมกันแปรรูปไม้ยางและร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 6, 7, 11, 48, 69, 73, 74, 74 ทวิ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42, 54, 63 ป.อ. มาตรา 32, 33, 83, 91 ริบของกลาง จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง, 73 วรรคสอง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42 วรรคสอง, 54 วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูป โดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุกคนละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 8 ปี
จากคำพิพากษาศาลชั้นต้นปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้ระบุความผิดฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและกำหนดโทษไว้ในคำพิพากษา คงระบุไว้เพียง 3 ฐานความผิด แต่รวมโทษจำคุกเป็นคนละ 8 ปี ซึ่งน่าจะเป็นความผิดหลงหรือความพลั้งเผลอของศาลชั้นต้นที่มิได้ระบุความผิดฐานดังกล่าวเอาไว้ในคำพิพากษา ทั้งโจทก์และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ จำเลยทั้งสามคงอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษเท่านั้น และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ เพียงแต่เติมข้อความไว้ในวงเล็บต่อท้ายความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางจำคุกคนละ 2 ปี ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ที่ถูกฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูป จำคุกคนละ 2 ปี ด้วย" ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทฐานความผิดให้ตรงตามคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามตามฟ้องและถูกต้องตรงตามโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนที่จะลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้แก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสามลดลงจากโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วง 90 วันแรกของ พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญาและไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายศุลกากร
พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์" ส่วนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น เว้นแต่จะขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. นี้" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติตามวรรคหนึ่งไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า" โดย พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2545 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย นำมาขอรับใบอนุญาต เพื่อควบคุมการมีไว้ในครอบครองและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และในขณะเดียวกันไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพที่ต้องใช้เลื่อยโซ่ยนต์โดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 จำเลยที่ 1 มีเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ยังอยู่ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง และไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 14 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีป่าสงวน: การสอบสวนโดยคณะกรรมการและโทษจำคุกสำหรับความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 10 ให้มีคณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนป่าไม้ ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทนกรมที่ดินและกรรมการอื่นอีก 2 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ควบคุมให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีหลักเขตและป้ายหรือเครื่องหมายอื่นแสดงแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในทางการบริหาร มิใช่การสอบสวนคดีอาญา ทั้งตามมาตรา 26 บัญญัติว่าการจับกุม การปราบปรามผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ. เมื่อ ส. เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้ควบคุมตัวจำเลยและส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ โดยกระทำความผิดจำนวน 3 คดี รวมทั้งคดีนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษทุกคดี เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีและความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ที่ปรากฏตามภาพถ่ายในสำนวนถือได้ว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่จำเลยอ้างในฎีกาว่าจำเลยอายุมาก โดยมีอายุ 66 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวซึ่งมีบุตร 5 คน อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน 2 คน ถ้าจำเลยต้องโทษจำคุก ย่อมทำให้ครอบครัวได้รับความลำบากยังไม่เพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7134/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุวันเวลาทำผิด แม้มีเอกสารอ้างอิงในชั้นพิจารณา
การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้ตะเคียนหินที่แปรรูปแล้ว จำนวน 20 แผ่น รวมปริมาตร 0.36 ลูกบาศก์เมตร อันเป็นไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองของจำเลยทั้งสอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายโดยมิได้ระบุวันที่หรือเวลาที่กระทำความผิด เป็นการบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดเมื่อวันที่ เดือน ปีใด จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7134/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ระบุวันเวลาทำผิด แม้มีเอกสารอ้างอิงในชั้นพิจารณา
การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้ตะเคียนหินที่แปรรูปแล้ว จำนวน 20 แผ่น รวมปริมาตร 0.36 ลูกบาศก์เมตร อันเป็นไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองของจำเลยทั้งสอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายโดยมิได้ระบุวันที่หรือเวลาที่กระทำความผิด เป็นการบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดเมื่อวันที่ เดือน ปีใด จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของสารเคมีในผลิตภัณฑ์และการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในคดีวัตถุอันตราย
ฎีกาของจำเลยที่ว่าของกลางที่โจทก์นำไปตรวจพิสูจน์แล้วนำมาฟ้องจำเลยเป็นของกลางที่โจทก์นำมาจากโรงงานของจำเลยโดยเป็นของกลางที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและส่งขายในท้องตลาด ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาโดยความยินยอม ไม่เข้าข่ายความผิด
ผู้เยาว์กับจำเลยสมัครใจรักใคร่กันโดยที่จำเลยยังไม่เคยมีภริยามาก่อน การที่จำเลยได้พาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยและได้เสียกันก็เพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มีเหตุขัดข้องเกิดจากมารดาจำเลยไม่ยอมรับผู้เยาว์เป็นสะใภ้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ฯ พิจารณาจากเจตนาและการกระทำที่มุ่งประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้เยาว์กับจำเลยรักใคร่กันโดยที่จำเลยยังไม่มีภริยามาก่อน จำเลยพาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยได้เสียกันเพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มารดาจำเลยไม่ยอมรับผู้เยาว์เป็นสะใภ้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินที่งอกริมตลิ่ง ผู้รับโอนที่ดินเดิมย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่งอกไปด้วย
คำฟ้องของโจทก์มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ทนายโจทก์จะไม่ระบุเลขที่ใบอนุญาตว่าความไว้ในคำฟ้องเนื่องจากความหลงลืม แต่ทนายโจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายความซึ่งระบุเลขใบอนุญาตว่าความของตนไว้ต่อศาลขณะยื่นคำฟ้องซึ่งจำเลยสามารถที่จะตรวจสอบความสามารถและอำนาจในการดำเนินคดีของทนายได้อยู่แล้ว และการที่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในสำเนาคำฟ้องในช่องผู้เขียนหรือพิมพ์ แตกต่างจากในคำฟ้องที่ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงและพิมพ์ หาทำให้คำฟ้องของโจทก์กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่ โจทก์เป็นผู้มีชื่อในทะเบียนจึงได้รับประโยชน์ตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยและเนื่องจากประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญกว่าทุกประเด็น จึงให้จำเลยนำสืบก่อนทุกประเด็นแล้วให้โจทก์สืบแก้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยจะมาเถียงในชั้นฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบไม่ได้
การที่จำเลยซื้อที่ดินซึ่งเกิดที่งอกริมตลิ่ง จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ส่วนที่เกิดที่งอกด้วยโดยผลของกฎหมาย ส่วนเจ้าของที่ดินเดิมพ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมจะได้ขอออกโฉนดในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกไว้และต่อมาได้รับโฉนดในภายหลังแล้วโอนขายให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่งอกริมตลิ่ง การโอนสิทธิและผลกระทบต่อผู้รับโอน
คำฟ้องของโจทก์มีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้วย่อมเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่สำเนาคำฟ้องของโจทก์ที่ส่งให้จำเลย ทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในช่องผู้เขียนหรือพิมพ์แทนที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงและพิมพ์ หาใช่เป็นข้อสาระสำคัญไม่ ส่วนที่ทนายโจทก์ไม่ได้ระบุเลขที่ใบอนุญาตว่าความไว้ในคำฟ้องและสำเนาคำฟ้องที่ส่งให้จำเลยก็อาจจะเนื่องจากความหลงลืม แต่อย่างไรก็ตามทนายโจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายความซึ่งระบุเลขใบอนุญาตของตนไว้ต่อศาลขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งจำเลยสามารถที่จะตรวจสอบความสามารถและอำนาจในการดำเนินคดีของทนายโจทก์ได้อยู่แล้ว หาทำให้คำฟ้องของโจทก์กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายไม่
ส. โอนขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นที่ดินแปลงเดิมให้บริษัท บ. เมื่อปี 2519 ขณะที่โอนที่ดินแปลงเดิมไปมีที่งอกริมตลิ่งเกิดขึ้นแล้ว เพราะ ส. ขอออกโฉนดที่งอกตั้งแต่ปี 2516 แต่ยังไม่เป็นที่ยุติว่ามีส่วนที่เป็นที่งอกมากน้อยเพียงใด เพราะการออกโฉนดยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ และไม่เคยมีการบันทึกในโฉนดเดิมไว้ให้ปรากฏการเกิดมีที่งอกขึ้นมาในที่ดินย่อมจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 เมื่อที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกได้โอนให้บริษัท บ. ไปแล้ว ที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกย่อมตกติดไปเป็นของผู้ซื้อโดยผลของบทกฎหมายดังกล่าว ส. พ้นจากการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมดที่เคยมีอยู่ แม้ว่า ส. จะได้ขอออกโฉนดที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกค้างไว้ แล้วต่อมาในปี2522 ได้มีการออกโฉนดสำเร็จบริบูรณ์เป็นชื่อของ ส. ก็ไม่ทำให้ ส. ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกนั้นไป และไม่มีอำนาจที่จะขายที่ดินส่วนที่เป็นที่งอกให้โจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส. และเมื่อจำเลยรับโอนที่ดินจาก ส. อันเป็นที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกริมตลิ่งจากเจ้าของเดิมมาโดยถูกต้อง ย่อมทำให้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกนั้นด้วยโดยผลของกฎหมาย
of 28