พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5805/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การพิพากษาโทษปรับรายวันและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
ตามที่ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 21 บัญญัติว่า ผู้ใดจะก่อสร้างอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ การที่จำเลยให้ นายช่างเทศบาลเขียนแบบแปลนให้ไม่ใช่การดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ จำเลยมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ย่อมต้องรู้ว่าการก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก่อน แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5805/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ศาลแก้ไขโทษปรับรายวันให้ตรงกับคำฟ้อง
การก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 39 ทวิก่อน แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นการก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำขออนุญาตก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539(รวมเวลา 129 วัน)จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นการที่ศาลลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น จึงไม่ชอบเพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่าในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตาม มาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอน จึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยยังคงก่อสร้างต่อไป จึงมีความผิดตามมาตรา 40(1)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539(รวมเวลา 129 วัน)จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นการที่ศาลลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องนั้น จึงไม่ชอบเพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่าในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตาม มาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอน จึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยยังคงก่อสร้างต่อไป จึงมีความผิดตามมาตรา 40(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนขายทอดตลาดกระทบสิทธิจำนอง: ผู้รับจำนองไม่อาจอ้างสุจริตหลังเพิกถอน
คำพิพากษาของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน น.ส.3 ก. ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ ว. ต้องถือเสมือนว่าไม่มีการขายทอดตลาด และไม่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนสิทธิครอบครองให้แก่ ว. ทั้ง ว. ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะมิใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวในระหว่างการพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด จึงไม่อาจอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองและจดทะเบียนโดยสุจริตและไม่อาจอ้างว่าคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ผูกพันผู้ร้องได้ เมื่อ ว. ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดิน จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินและไม่อาจนำมาจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705 ทั้งการจดทะเบียนจำนองเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 702 แต่การเพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตา 296 วรรคสอง (เดิม)เป็นคนละกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะปฏิเสธไม่ส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 ก ตามคำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในเอกสารสำคัญและการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดของผู้ที่มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมแม้จำเลยจะมิได้นำเอกสารปลอมไปแสดงด้วยตนเอง แต่จำเลยมอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทน โดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม การที่ ส. ไปดำเนินการยื่นเอกสารปลอมแทนจำเลย ก็มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิ-ใช้เอกสารปลอม-แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน-ฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือผู้ถูกกระทำและผู้เสียหายจากการถูกจำกัดสิทธิ
จำเลยจะมิได้นำเอกสารที่จำเลยปลอมขึ้นไปยื่นแสดงต่อผู้เสียหายที่ 4 ด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทนโดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง เมื่อผู้เสียหายที่ 4 ได้รับเอกสารและดำเนินการให้ตามเอกสารนั้น ผู้เสียหายที่ 4 ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าว
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมสัญญามาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวนั้นจึงมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ เพราะให้การปฏิเสธมาตลอด จึงไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการระงับสิทธิในห้างหุ้นส่วน ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3และโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นผู้เสียหายด้วย
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมสัญญามาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวนั้นจึงมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ เพราะให้การปฏิเสธมาตลอด จึงไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการระงับสิทธิในห้างหุ้นส่วน ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3และโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นผู้เสียหายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดี ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยประเด็นที่ไม่กระทบผลคดี แม้โจทก์อ้างเรื่องอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมดเพราะหากศาลเห็นว่าประเด็นใดแม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยได้ อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยทุกประเด็น หากไม่กระทบผลแห่งคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้อง เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา (1) ถึง (6) เป็นการกำหนดขอบเขตของการวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาล ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นปัญหาที่ศาลได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน แต่มิได้บังคับ เด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาดังกล่าวทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นปัญหาใดแม้วินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าว อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อีก การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 142 และ 131 (2)
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อีก การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 142 และ 131 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็คและการนับโทษต่อ ศาลอนุญาตตามคำร้องได้แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการขอให้นับโทษต่อจะต้องกล่าวมาในคำฟ้องโจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้ คดีทั้งสองเรื่องโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน แม้จำเลยจะเพียงแต่ไม่คัดค้านคำร้องไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดีสองเรื่องนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกันแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอในคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หากข้อเท็จจริงสนับสนุน
การขอให้นับโทษต่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องกล่าวมาในคำฟ้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยโดยมิได้มีคำขอท้ายคำฟ้องแต่ละสำนวนให้นับโทษต่อ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน ขอให้นับโทษในคดีทั้งสองสำนวนต่อกันไป แม้จำเลยไม่คัดค้านคำร้องและไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดี สองสำนวนนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาด้วยกัน ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่าที่โจทก์อ้างมาในคำร้องนั้นเป็นความจริง ไม่มีปัญหาว่าจำเลยแต่ละคนอาจจะมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันอันจะทำให้ไม่อาจนับโทษต่อได้ เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษ ต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้จำเลยจะมิได้แถลงรับก็เห็นประจักษ์อยู่แล้วย่อมไม่มีทาง ที่ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของโจทก์เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากสั่งอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยโดยมิได้มีคำขอท้ายคำฟ้องแต่ละสำนวนให้นับโทษต่อ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน ขอให้นับโทษในคดีทั้งสองสำนวนต่อกันไป แม้จำเลยไม่คัดค้านคำร้องและไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดี สองสำนวนนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาด้วยกัน ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่าที่โจทก์อ้างมาในคำร้องนั้นเป็นความจริง ไม่มีปัญหาว่าจำเลยแต่ละคนอาจจะมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันอันจะทำให้ไม่อาจนับโทษต่อได้ เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษ ต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้จำเลยจะมิได้แถลงรับก็เห็นประจักษ์อยู่แล้วย่อมไม่มีทาง ที่ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของโจทก์เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากสั่งอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบรถยนต์ของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยไม่ต้องมีคำร้องตาม พ.ร.บ. มาตรการฯ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถยนต์ของกลาง ซึ่งจำเลยกับพวกใช้เป็น ยานพาหนะขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษอันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมีคำขอท้ายคำฟ้องให้ริบของกลางตามมาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32, 33 คำขอให้ริบของกลางในลักษณะเช่นนี้ต่างจากคำขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นเพื่อขอให้สั่ง ริบทรัพย์สิน เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาลและศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง