พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะใช้ในการกระทำผิดยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องมีคำร้องเฉพาะตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้รถยนต์ขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ อันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดและมีคำขอให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33ซึ่งคำขอในลักษณะเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สิน ต่างจากพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สินฉะนั้น เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาล และศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ: ศาลต้องออกคำบังคับเพื่อให้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เงินและ/หรือทรัพย์สินอื่นจำนวน 12,000,000 บาทของผู้คัดค้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ผู้คัดค้านจึงหมดสิทธิที่จะยึดถือครอบครองเงินและ/หรือทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นของตนอีกต่อไป ต้องส่งมอบให้แก่แผ่นดิน เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ส่งมอบให้แก่แผ่นดินก็จำเป็นต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไรจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดเล่นแชร์เกิน 3 วง และความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายที่ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลย เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ ก็จะตกได้แก่ผู้นั้น กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมต่อไปอีกและหากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็ต้องรับผิดแทน ซึ่งเป็นความผิดในทางแพ่งจำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้นมิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีจำเลยเป็นนายวงแชร์ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่าสามวงจึงเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ. 2534 มาตรา 4,6,17 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้เฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์
ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้นมิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีจำเลยเป็นนายวงแชร์ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่าสามวงจึงเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ. 2534 มาตรา 4,6,17 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้เฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดแชร์เกิน 3 วง และสิทธิการฟ้องคดีอาญาในความผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์
จำเลยเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์รวม 7 วง จำเลยรวบรวมเงินจากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไปแล้วหลายงวด จำเลยจัดให้มีการประมูลแชร์ไปแล้วหลายงวด โดยสถานที่จัดประมูลแชร์คือที่ร้านของจำเลย การประมูลแชร์ตามวาระมีไปแล้วหลายครั้ง ผู้ที่ประมูลแชร์ได้ต่างก็ได้รับเงินไปแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์ ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมยังไม่เคยประมูลแชร์ได้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินกองกลางที่จำเลยรวบรวมไป เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยไปแล้ว เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ก็ย่อมจะตกได้แก่ผู้นั้นไป กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมต่อไปอีก และหากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิกไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็จะต้องรับผิดแทน ความรับผิดในกรณีเช่นนี้เป็นความผิดในทางแพ่ง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม
แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง 3 วง ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 234 มาตรา 6 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิดเมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มีการเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่า 3 วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 6, 17 และ ป.อ. มาตรา 352, 91 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง 3 วง ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 234 มาตรา 6 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิดเมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มีการเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่า 3 วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 6, 17 และ ป.อ. มาตรา 352, 91 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงและการไม่ชอบด้วยกฎหมายของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 91 ซึ่งแต่ละกระทงความผิดกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ปากต่าง ๆ ต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบถอนเงิน จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญา: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมใบถอนเงิน เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วพิพากษาลงโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า, พยายามฆ่า, การสนับสนุนความผิด, การกระทำโดยรู้เห็นเป็นใจ
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 1 มาก่อนในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยที่ 2 ขับแล่นผ่านบริเวณที่ผู้เสียหายกับพวกนั่งดื่มสุราอยู่ ต่อมาจำเลยที่ 1 ก็นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 2 มาจอดติดเครื่องรออยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1 ถึง 2 เมตร จำเลยที่ 1 ลงจากรถแล้วเข้าไปใช้ไม้ท่อนกลม ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาว 1 ช่วงแขน ตีศีรษะผู้เสียหาย 2 ถึง 3 ครั้ง จนผู้เสียหายหมดสติ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ท่อนขนาดใหญ่ตีผู้เสียหายที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ 2 ถึง 3 ครั้ง จนเป็นเหตุให้กะโหลกศีรษะแตก หากรักษาไม่ทันอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต และจำเลยที่ 1 กับผู้เสียหายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน แสดงว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะมีบาดแผลเพียงแห่งเดียวก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยที่ 2 จอดรถจักรยานยนต์ติดเครื่องรอจำเลยที่ 1 อยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ 1 ถึง 2 เมตร และสามารถเห็นการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตลอด จำเลยที่ 2 ไม่รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ก่อนจะมากระทำความผิดแต่ทราบได้ในขณะที่เห็นจำเลยที่ 1 ลงมือกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ก็ยังคงจอดรถรออยู่พร้อมที่จะรับจำเลยที่ 1 พาหลบหนีไปเพื่อให้พ้นการจับกุมได้ทุกเมื่อและก็รับจำเลยที่ 1 หลบหนีไปด้วย อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในขณะกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ มาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยที่ 2 จอดรถจักรยานยนต์ติดเครื่องรอจำเลยที่ 1 อยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ 1 ถึง 2 เมตร และสามารถเห็นการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตลอด จำเลยที่ 2 ไม่รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ก่อนจะมากระทำความผิดแต่ทราบได้ในขณะที่เห็นจำเลยที่ 1 ลงมือกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ก็ยังคงจอดรถรออยู่พร้อมที่จะรับจำเลยที่ 1 พาหลบหนีไปเพื่อให้พ้นการจับกุมได้ทุกเมื่อและก็รับจำเลยที่ 1 หลบหนีไปด้วย อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในขณะกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ มาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์เครื่องมือเกษตร: แม้ชำรุดก็เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์หนักกว่า
เครื่องสูบน้ำที่ถูกจำเลยลักไปเป็นเครื่องมือเครื่องกลอันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมของผู้มีอาชีพกสิกรรม เมื่อยังมีสภาพและรูปร่างเป็นเครื่องสูบน้ำอยู่ก็ต้องถือว่าเข้าหลักเกณฑ์แล้ว จะเสียหรือใช้การได้ไม่เป็นปัญหา เพราะถ้าเสียก็ยังสามารถซ่อมแซมให้ดีได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) ไม่ได้กำหนดว่าการลักเครื่องมือเครื่องกลดังกล่าวจะต้องเป็นทรัพย์ที่ยังใช้การได้เท่านั้นจำเลยจึงจะรับโทษหนักขึ้นตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์จากการขายสินค้าฝากขาย พนักงานมีหน้าที่ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น
โจทก์ร่วมส่งสินค้ามาฝากขายที่ห้างสรรพสินค้าแล้วจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมประจำห้างสรรพสินค้านั้นเบียดบังยักยอกเอาเงินค่าสินค้าไปเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
จำเลยครอบครองสินค้าของโจทก์ร่วม ได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยไม่ผ่านพนักงานเก็บเงินของห้างสรรพสินค้าและไม่ออกใบเสร็จรับเงิน แล้วนำเงินค่าซื้อสินค้าจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ส่งให้โจทก์ร่วม เป็นการเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตจึงมีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคหนึ่ง
จำเลยครอบครองสินค้าของโจทก์ร่วม ได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยไม่ผ่านพนักงานเก็บเงินของห้างสรรพสินค้าและไม่ออกใบเสร็จรับเงิน แล้วนำเงินค่าซื้อสินค้าจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ส่งให้โจทก์ร่วม เป็นการเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตจึงมีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์จากพนักงานขายฝากขาย: โจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ได้
โจทก์ร่วมนำสินค้าไปฝากขายที่ห้างสรรพสินค้า เมื่อสินค้าไปถึงห้างสรรพสินค้าพนักงานขายของโจทก์ร่วมที่ประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า และพนักงานของห้างสรรพสินค้าจะตรวจสอบว่าสินค้าส่งมาตรงตามใบสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ เสร็จแล้วจึงนำไปเก็บที่คลังเก็บสินค้ากลางของห้างสรรพสินค้า พนักงานขายของโจทก์ร่วมจะเบิกสินค้าซึ่งโจทก์ร่วมยังคงเป็นเจ้าของอยู่จากคลังสินค้ามาขายแก่ลูกค้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและพนักงานของโจทก์ร่วมเบียดบังเอาเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7)