พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. พ.ร.บ.จัดหางาน แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฉ้อโกง แต่คดี พ.ร.บ.จัดหางานยังดำเนินต่อไปได้
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งศาลได้ลงโทษในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่อง: พนักงานสอบสวนท้องที่พบกระทำผิดก่อนมีอำนาจ แม้จับกุมในท้องที่อื่น
ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการจัดหางานผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโท บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อต่อมาจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่มเมื่อร้อยตำรวจโท บ. ได้รับคำร้องทุกข์แล้ว จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบกระทำผิดก่อน ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคสาม (ข)และร้อยตำรวจโท บ. ได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับตัวจำเลยไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย หาจำต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: พนักงานสอบสวนท้องที่พบการกระทำผิดก่อน มีอำนาจสอบสวน แม้จับกุมในท้องที่อื่น
ว. ได้รับมอบอำนาจจากกรมการจัดหางานผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจโท บ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะถูกจับกุมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม แต่การที่ร้อยตำรวจโท บ. ได้รับคำร้องทุกข์ไว้ก่อนแล้ว จึงถือว่าเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอันเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนและมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ข.) และร้อยตำรวจโท บ. ยังได้ทำการสอบสวนตลอดมาในขณะที่ยังจับตัวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 หาจำต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนท้องที่ที่จับได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จ่ายบำเหน็จตกทอดของส่วนราชการเมื่อมีผู้ทวงถาม และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัด
บำเหน็จตกทอดของ ป. ผู้ตายมิใช่มรดก และกฎหมายมิได้บังคับให้กรมบัญชีกลางจำเลยต้องจ่ายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทันทีที่ ป. ตาย แต่จะต้องจ่ายเมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียทวงถาม โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป.โดยโจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้ไปจดทะเบียนหย่า เช่นนี้ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก ส่วนราชการผู้จ่ายมีหน้าที่วินิจฉัยสิทธิ และถือเป็นผู้ผิดนัดเมื่อปฏิเสธการจ่าย
บำเหน็จตกทอดมิใช่ทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาเพื่อจัดสรรขายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อการใช้ประโยชน์จากที่นานั้นเองตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำไปขายซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37(2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องเป็นการใช้ที่ดินเอง ไม่ใช่ขาย หากขายถือว่าไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำนาไปขาย ซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37 (2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย พยายามจำหน่าย และความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มี เมทแอมเฟตามีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์150 กรัมเศษไว้ในครอบครอง ต้องถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง และเป็นการกระทำความผิดสำเร็จ
ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยที่ 2 กำลังนับเงินอยู่โดยนับไปได้เพียง 30,000 บาท จากจำนวนเงิน 174,000 บาทและ เมทแอมเฟตามีน ที่จะซื้อขายก็ยังวางกองรอการส่งมอบอยู่การจำหน่ายยาเสพติดของจำเลยที่ 1 จึงยังไม่บรรลุผล จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1เมื่อจำเลยที่ 1 มี เมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย4,029 เม็ด แต่จำเลยที่ 1 พยายามจำหน่ายบางส่วนจำนวน 4,000เม็ด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างวาระกัน
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุด้วยกัน การที่จำเลยที่ 1 ให้นั่งนับเงินจำนวนมากเป็นแสนบาทต่อหน้าคนแปลกหน้าและในบริเวณนั้นมี เมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ดบรรจุถุงพลาสติกจำนวนถึง 20 ถุงวางให้เห็นอยู่เช่นนี้ จำเลยที่ 2น่าจะเข้าใจได้ว่าเป็นการนับเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้จากการจำหน่ายยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2ได้ในขณะที่กำลังนับเงินของกลางโดยจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าช่วยนับเงินที่ผู้ซื้อ เมทแอมเฟตามีน ส่งมอบให้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการพยายามกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด
ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยที่ 2 กำลังนับเงินอยู่โดยนับไปได้เพียง 30,000 บาท จากจำนวนเงิน 174,000 บาทและ เมทแอมเฟตามีน ที่จะซื้อขายก็ยังวางกองรอการส่งมอบอยู่การจำหน่ายยาเสพติดของจำเลยที่ 1 จึงยังไม่บรรลุผล จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1เมื่อจำเลยที่ 1 มี เมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย4,029 เม็ด แต่จำเลยที่ 1 พยายามจำหน่ายบางส่วนจำนวน 4,000เม็ด การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างวาระกัน
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุด้วยกัน การที่จำเลยที่ 1 ให้นั่งนับเงินจำนวนมากเป็นแสนบาทต่อหน้าคนแปลกหน้าและในบริเวณนั้นมี เมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ดบรรจุถุงพลาสติกจำนวนถึง 20 ถุงวางให้เห็นอยู่เช่นนี้ จำเลยที่ 2น่าจะเข้าใจได้ว่าเป็นการนับเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้จากการจำหน่ายยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2ได้ในขณะที่กำลังนับเงินของกลางโดยจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าช่วยนับเงินที่ผู้ซื้อ เมทแอมเฟตามีน ส่งมอบให้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการพยายามกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา - ผู้สมัครไม่มีสิทธิยื่นคำร้องหากไม่ใช่กรณีที่กฎหมายกำหนด
++ เรื่อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คำสั่ง ++
++ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2543 กำหนดการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาไว้ 2 กรณี คือ มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัคร และมาตรา 34/1บัญญัติให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครได้ หากเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเวลา 1 ปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาพิจารณาขั้นตอนการพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
++ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง.
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คำสั่ง ++
++ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2543 กำหนดการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาไว้ 2 กรณี คือ มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัคร และมาตรา 34/1บัญญัติให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครได้ หากเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเวลา 1 ปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาพิจารณาขั้นตอนการพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
++ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8786/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง: การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวตลอดระยะเวลาสมัคร
การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดเพียงพรรคการเมืองเดียวตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อ ช. ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองในขณะที่มีรายชื่อปรากฏเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้วช. จึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามกฎหมาย
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)