พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จากการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ถูกต้องหลังย้ายทะเบียนบ้าน
บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ผู้ร้องย้ายตนเองจากจังหวัดร้อยเอ็ดไปอยู่จังหวัดยโสธรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแล้ว การที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดร้อยเอ็ดจึงเป็นการมิชอบ เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธรประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องสามารถแจ้งเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่จังหวัดยโสธรได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มาตรา 22 แต่ผู้ร้องหาได้ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากใช้สิทธิเลือกตั้งซ้ำซ้อนและไม่แจ้งเหตุไม่ใช้สิทธิ
ผู้ร้องแจ้งย้ายตนเองเข้าไปมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดยโสธรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดยโสธร มิใช่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดอีกต่อไป การที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยอ้างว่ามีรายชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด จึงเป็นการมิชอบ นอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธรประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องสามารถแจ้งเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้แต่ผู้ร้องหาได้ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ ผู้ร้องจึงตกเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8290/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์สินเป็นสาระสำคัญของความผิดฐานยักยอก การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองฝาสูบตัวอย่างของโจทก์เพื่อโต้แย้งสิทธิกันในทางแพ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาเบียดบังฝาสูบตัวอย่างเป็นของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟังว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการเบียดบังฝาสูบตัวอย่างของโจทก์ไปโดยสุจริตนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 22 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี - วันที่อนุมัติผลการศึกษา vs วันที่อนุมัติปริญญา
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 29 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ซึ่งตามมาตรา 107 (3) กำหนดไว้ว่า ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า แสดงว่ามุ่งประสงค์ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นสำคัญ ตามหลักฐานแสดงผลการศึกษาที่ผู้ร้องอ้างส่งประกอบการสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องสอบได้ครบถ้วนทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีแล้ว ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏว่าด้วยการออกหลักฐานแสดงผลการศึกษา พ.ศ. 2538 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในข้อ 8 ว่า "วันที่สำเร็จการศึกษาในหลักฐานแสดงผลการศึกษา ให้ถือเอาวันที่คณะกรรมการอนุมัติผลการศึกษา" ส่วนการออกปริญญาบัตรซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไปได้กำหนดไว้ในข้อ 9 เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกจากกัน และตามหนังสือตอบข้อหารือของอธิการบดีสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการวิชาการซึ่งสภาประจำสถาบันมอบหมายได้ประชุมอนุมัติผลการศึกษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 สถาบันราชภัฏถือว่าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 คือวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้ง เป็นวันสำเร็จการศึกษา และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 เป็นวันอนุมัติปริญญา อันเป็นไปตามลำดับขั้นตอนในระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏดังกล่าว กรณีจึงต้องถือว่า ผู้ร้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าแล้วในวันสมัคร มีคุณสมบัติในเรื่องความรู้ครบถ้วนตามที่กฎหมายต้องการแล้ว การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยถือว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 107 (3) เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เอกสารไม่ครบถ้วนและพ้นกำหนด
หลักเกณฑ์ในการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 32 และ 34 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ประการแรก ต้องเป็นผู้สมัครที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับใบสมัครและลงบันทึกการรับสมัครพร้อมกับได้ออกใบรับให้แก่ผู้สมัครนั้นแล้ว ประการที่สอง ผ่านการตรวจสอบและสอบสวนของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแล้ว ประการที่สาม ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ที่ผู้ร้องได้ยื่นใบสมัครครั้งแรก แต่ผู้คัดค้านเห็นว่าเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน จึงให้ผู้ร้องไปนำเอกสารมาให้ครบ เมื่อผู้ร้องกลับมาอีกครั้งเมื่อเวลา 17 นาฬิกา ปรากฏว่าพ้นกำหนดระยะเวลายื่นใบสมัคร ผู้คัดค้านจึงไม่รับใบสมัคร ไม่ลงบันทึกการรับสมัครไว้เป็นหลักฐาน และไม่มีการออกใบรับให้แก่ผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องยังไม่ผ่านขั้นตอนการรับสมัครตามมาตรา 32 อย่างครบถ้วน จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำสั่งตามมาตรา 34 ได้
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินก่อนมีผลบังคับกฎหมายยาเสพติดไม่ต้องถูกยึด การเบิกถอนจึงไม่เป็นความผิด
พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท ม. ว่าสมุดคู่ฝากเงินธนาคารสูญหาย และจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอออกสมุดคู่ฝากเงินเล่มใหม่จากธนาคารและเบิกถอนเงินออกไปเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มีผลใช้บังคับ จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะถูกยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว การเบิกถอนเงินของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งทรัพย์สินที่จำเลยรู้ว่าจะถูกยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 42 คงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติด ไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด
เงินฝากที่จำเลยเบิกถอนไปจากบัญชีเงินฝากเป็นทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ถูกตรวจสอบได้มาก่อนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับ มิใช่ทรัพย์ที่จะถูกยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว การเบิกถอนเงินของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินก่อนพ.ร.บ.ยาเสพติด: ไม่ถูกยึด-อายัด
เงินฝากที่จำเลยเบิกถอนไปจากบัญชีเงินฝากเป็นทรัพย์สินที่จำเลยและผู้ถูกตรวจสอบได้มาก่อน พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ มิใช่ทรัพย์ที่จะถูกยึดหรืออายัดตามพ.ร.บ.ดังกล่าว การเบิกถอนเงินของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกราชการฐานทุจริต แม้ยังอยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจอันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกจากราชการเนื่องจากทุจริต - ผลของคำสั่งทางวินัยระหว่างอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ อันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้อง ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 109 (6)