พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับแต่วันพ้น 60 วันจากรับคำอุทธรณ์ หรือแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วย แต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่า คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกประเด็นข้อต่อสู้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ส่วนในกรณีที่สอง เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีอย่างกรณีแรก กรณีที่สองนี้หากเริ่มนับกำหนดเวลาฟ้องคดีนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีแล้ววันเริ่มต้นนับกำหนดเวลาฟ้องคดีก็จะเหลือเพียงกรณีเดียว และจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรก รัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ส่วนในกรณีที่สอง เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับคำอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีอย่างกรณีแรก กรณีที่สองนี้หากเริ่มนับกำหนดเวลาฟ้องคดีนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีแล้ววันเริ่มต้นนับกำหนดเวลาฟ้องคดีก็จะเหลือเพียงกรณีเดียว และจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับจากวันพ้นกำหนด 60 วันของอุทธรณ์ หรือวันรับแจ้งคำวินิจฉัย
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วยแต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกข้อต่อสู้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8086/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล: กำหนดเวลาและความสำคัญของการทราบคำสั่ง
จำเลยทราบคำสั่งที่ศาลไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์วันที่ 9 เมษายน 2542 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกับที่สั่งยกคำร้อง จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ 9 เมษายน 2542 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ทราบคำสั่ง ซึ่งครบกำหนดวันที่ 24 เมษายน 2542 อันเป็นวันเสาร์ จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งได้ในวันที่ 26 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดทำงานใหม่ แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ซึ่งพ้นกำหนด 15 วันนับแต่ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8015/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขอห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย
คำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลยนั้น เป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการหรือไม่กระทำการ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย จึงขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินต้องกระทำการโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย เป็นการฟ้องที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยไม่ชอบขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย เป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการหรือไม่กระทำการ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย จึงขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8007/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องขอห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายที่ไม่ชอบ หากมิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย ย่อมไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายโดยไม่ชอบขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้กระทำการหรือไม่กระทำการ เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลย จึงขอให้บังคับ เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สัญญากู้เป็นหลักฐาน แม้ยังมิได้ปิดอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญา แต่ภายหลังได้ปิดและขีดฆ่าถูกต้องแล้ว ศาลรับฟังได้
ป. รัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดหรือขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ แม้ในขณะที่โจทก์อ้างส่งสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 1 ต่อศาลจะยังมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์ได้ขออนุญาตศาลปิดอากรแสตมป์ในตราสารนั้นเองเป็นเงิน 285 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 5 ท้าย ป. รัษฎากร พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ครบถ้วนตามกฎหมาย ศาลย่อมรับฟังหนังสือสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 1 เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ไม่จำต้องเสียเงินเพิ่มก่อนดังจำเลยอ้าง เพราะตามมาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114" ฉะนั้น การที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรโดยชำระเป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 116 จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อาวุธปืนป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยยิง ด. ด้วยอาวุธปืนลูกซองสั้นของกลาง โดยอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้นขนาด 12 ซึ่งเป็นขนาดที่มีลำกล้องใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบันแต่เป็นอาวุธปืนที่ประกอบขึ้นเอง ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความแม่นยำ กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นกระสุนลูกปรายยิงนัดเดียวถูกหลายคนหลายที่ และเม็ดลูกปรายมีขนาดใหญ่สามารถทำให้กระดูกของผู้เสียหายคนหนึ่งที่ถูกยิงถึงกับแตกและหักได้ ผู้เสียหายทั้งสามอยู่ห่างจำเลยออกไปไกลพอสมควร ในระยะที่เม็ดกระสุนลูกปรายกระจายตัวขยายวิถีกระสุนบานออกไปแล้ว ระยะยิงน่าจะห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตรขึ้นไป หากจำเลยเพียงแต่ใช้อาวุธปืนขู่และห้าม ด.ไม่ให้เข้ามาหรือยิงขู่น่าจะเพียงพอที่จะยับยั้ง ด.ให้เกรงกลัวและหลบหนีไป แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นขนาดใหญ่ที่มีอานุภาพประหัตประหารแต่ควบคุมวิถีกระสุนไม่ได้ยิงสาดใส่เข้าไปในทิศทางที่มิได้มีแต่ ด. ที่จะเข้ามาทำร้ายจำเลยคนเดียว จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การที่จำเลยยิงเข้าใส่กลุ่มคนต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น เพราะย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำอยู่แล้วว่า อาจทำให้ทุกคนที่ถูกกระสุนลูกปรายดังกล่าวถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสามไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งเท็จเพื่อรับเงินประกันภัย: ความผิดอาญาฐานฉ้อโกง
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173, 267, 268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: เจตนาเบิกเงินประกันภัย การแจ้งความเท็จและการใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียว คือ มุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173, 267, 268 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด