คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เจตนาเดียวเพื่อเบิกเงินประกันภัย แม้แจ้งความเท็จและใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173,267,268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามฆ่าและครอบครองอาวุธปืนเถื่อน ศาลฎีกาแก้ไขบทปรับโทษให้ถูกต้อง
จำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปรับบทลงโทษไว้ สมควรระบุให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ จำนวน 1 กระบอก กับมีกระสุนปืนขนาดเดียวกันจำนวน 5 นัด ซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวสามารถใช้ยิงได้ไว้ในครอบครอง โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ และจำเลยพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งมิใช่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ,72, 72 ทวิ ป.อ.มาตรา 33, 80, 91, 288, 371 ริบของกลาง การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดจำเลยฐานพาอาวุธปืนไปในงานรื่นเริงตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสองมาด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ปรับบทความผิดตามมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าและมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องตามคำฟ้อง
จำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาฆ่าแต่กระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปรับบทลงโทษไว้ สมควรระบุให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ จำนวน 1 กระบอกกับมีกระสุนปืนขนาดเดียวกันจำนวน 5 นัด ซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวสามารถใช้ยิงได้ไว้ในครอบครอง โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ และจำเลยพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวทั้งมิใช่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 4,7,8 ทวิ,72,72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33,80,91,288,371 ริบของกลาง การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดจำเลยฐานพาอาวุธปืนไปในงานรื่นเริงตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสองมาด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ปรับบทความผิดตามมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลา: ศาลไม่อนุญาตหากทราบข้อเท็จจริงก่อนฟ้อง แม้อ้างเพิ่งทราบผลอุทธรณ์
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) (ชั้นขอแก้ไขคำฟ้อง) ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ที่ดิน กรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้า
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินแปลงใด ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ในขณะดำเนินการสำรวจเพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงหรือผู้ที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังดำเนินการสำรวจแล้วก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม และโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะเข้าไปใช้ที่ดินพิพาท โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 30 (1) และมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เหมือนกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ซึ่งต่างมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่น เพียงแต่พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนี้ การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ที่ดินหลังเวนคืน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาปัจจัยตลาด
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินแปลงใด ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆ ที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่าน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ในขณะดำเนินการสำรวจเพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงหรือผู้ที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังดำเนินการสำรวจแล้ว ก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม และโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะเข้าไปใช้ที่ดินพิพาท โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30(1) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3
พระราชบัญญัติบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 30 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2535 มีเจตนารมณ์เหมือนกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคหนึ่ง ซึ่งต่างมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่น แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 30 ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย การที่คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนฯ กำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทโดยใช้ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของสำนักงานที่ดินเป็นฐานในการคำนวณเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทเพียงประการเดียวยังไม่เพียงพอให้ฟังได้ว่าเป็นราคาที่แท้จริงของที่ดินพิพาท จึงยังฟังไม่ได้ว่าเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทที่คณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนฯ กำหนดนั้นเป็นธรรมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินค่าทดแทนจาก กฟผ. หลังโอนสิทธิในที่ดินที่ถูกเวนคืน การกำหนดราคาค่าทดแทนต้องเป็นธรรม
การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 3 กำหนดเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินแปลงใด ย่อมทำให้สิทธิต่าง ๆที่เกิดจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวถูกจำกัดตัดรอน ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อยู่ในขณะดำเนินการสำรวจเพื่อดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงหรือผู้ที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายหลังดำเนินการสำรวจแล้วก็ถูกจำกัดตัดรอนสิทธิเหมือนกัน เมื่อจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทน การใช้ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของเดิม และโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนที่จำเลยที่ 3 จะเข้าไปใช้ที่ดินพิพาท โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30(1) และมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3
พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เหมือนกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ซึ่งต่างมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นเพียงแต่พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 30 ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนี้ การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 30 จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ การครอบครองซื้อสืบต่อไม่ได้ สิทธิครอบครองต้องมีก่อนประกาศหวงห้าม
ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตที่ราชพัสดุซึ่งมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงออกไว้ตั้งแต่ปี 2480 จ. ผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแจ้งต่อนายอำเภอว่าได้ที่ดินนี้มาโดยปกครองตั้งแต่ปี 2482 ซึ่งแม้ฟังเป็นจริงก็เป็นเวลาภายหลังจากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จ. จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อต่อจากส. ผู้ซื้อที่ดินจาก จ. แม้จะครอบครองนานเพียงใดก็หาทำให้เกิดสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงให้เชื่อได้ว่ามีการครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนจะมีประกาศหวงห้ามที่ดิน จึงต้องฟังว่าจำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การกระทำที่เข้าข่ายการพรากผู้เยาว์ออกจากความปกครองของบิดามารดา
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดมาพรากไปเสียจากความปกครอง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอาศัยอยู่กับนาย บ. และนาง ก. ผู้เป็นบิดามารดาและอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่นาง ก. อนุญาตให้ผู้เสียหายไปเที่ยวกับเพื่อนนั้นเป็นการอนุญาตให้ออกไปเที่ยวเป็นชั่วคราว มิได้อนุญาตให้แยกออกไปอยู่โดยลำพังเป็นการถาวร จึงยังไม่พ้นจากความปกครองดูแลของบิดามารดาการที่ผู้เสียหายออกจากบ้านพักไปหาจำเลยที่หอพัก หลังจากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายไปเดินเที่ยวห้างสรรพสินค้าแล้วชวนผู้เสียหายไปที่ห้องพักของจำเลยและอยู่กับจำเลยเรื่อยมา แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยบิดามารดาของผู้เสียหายมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปอยู่กับจำเลย ถือเป็นการพรากผู้เสียหายออกมาจากบิดามารดาอันเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์สำเร็จเมื่อเอาทรัพย์จากความครอบครองเดิม แม้มีการขัดขวางการได้ทรัพย์คืน
เหรียญกษาปณ์ที่ตกลงไปในช่องคืนเหรียญเนื่องจากไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังสายปลายทางได้นั้น ยังเป็นของผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะอยู่การที่นาย พ. นำก้อนกระดาษไปอุดไว้ในช่องคืนเหรียญในตำแหน่งที่อยู่เหนือฝาปิดขึ้นไปเป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เหรียญกษาปณ์ตกกลับลงไปถึงมือผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะที่รออยู่ โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวยังคงติดค้างอยู่ในเครื่องโทรศัพท์สาธารณะในลักษณะที่ง่ายแก่การมาล้วงเอาไปในภายหลัง ฉะนั้น ขณะที่เหรียญกษาปณ์ตกลงไปค้างอยู่บนก้อนกระดาษในช่องคืนเหรียญ ความผิดฐานลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จเพราะนาย พ. ยังไม่ได้เอาเหรียญกษาปณ์นั้นไป ความครอบครองยังคงอยู่กับเจ้าของเหรียญกษาปณ์ที่รอรับเหรียญกษาปณ์นั้นอยู่ และการที่เจ้าของเหรียญกษาปณ์ออกจากตู้โทรศัพท์สาธารณะไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาสละทิ้งเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างเพราะการสละกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำด้วยความสมัครใจมิใช่อยู่ในลักษณะที่ถูกขัดขวางการได้ทรัพย์คืน
จำเลยร่วมมือกับนาย พ. เข้าไปนำเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างอยู่ โดยจำเลยทำทีเป็นผู้ใช้โทรศัพท์พูดจาเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้ผู้อื่นสงสัย ระหว่างนั้นให้นาย พ. เขี่ยกระดาษที่อุดไว้จนเหรียญกษาปณ์ตกลงไปสู่มือของจำเลยและนาย พ. ที่รอรับอยู่เป็นการร่วมมือกันเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ที่ยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นอยู่ จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
of 28