คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของผู้อื่น
จำเลยได้ร่วมกับ พ. ลักเหรียญกษาปณ์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะโดย พ.ให้จำเลยเข้าไปในตู้โทรศัพท์สาธารณะทำทีเป็นโทรศัพท์และ พ.เข้ามาในตู้โทรศัพท์ด้วย พ.ให้จำเลยช่วยเปิดง้างแผ่นเหล็กของช่องคืนเหรียญของตู้โทรศัพท์สาธารณะเพื่อให้ พ.ใช้ลวดที่ดัดแปลงมาเขี่ยให้เหรียญกษาปณ์ในตู้โทรศัพท์สาธารณะไหลลงมา การที่จำเลยร่วมมือกับ พ.เข้าไปนำเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้างอยู่ โดยจำเลยทำทีเป็นผู้ใช้โทรศัพท์พูดจาเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้ผู้อื่นสงสัย ระหว่างนั้นให้ พ.เขี่ยกระดาษที่อุดไว้จนเหรียญกษาปณ์ตกลงไปสู่มือของจำเลยและ พ.ที่รอรับอยู่ เป็นการร่วมมือกันเอาทรัพย์ไปจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ที่ยังมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นอยู่ จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้อื่น โดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 335(7) ประกอบด้วยมาตรา 83 โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยร่วมเอากระดาษไปอุดช่องคืนเหรียญโทรศัพท์กับ พ.และมิได้นำตัวพลเมืองดีผู้แจ้งเหตุ รวมทั้งผู้เสียหายและเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมคนอื่น ๆ มาเบิกความนั้น เห็นว่า
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 335(7) ประกอบด้วย มาตรา 83 ได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องนำสืบไปจนถึงกับว่า มีการร่วมมือกันมาตั้งแต่แรกหรือนำสืบพยานบุคคลอื่น ๆ ให้ฟุ่มเฟือยเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น
เหรียญกษาปณ์ที่ตกลงไปในช่องคืนเหรียญเนื่องจากไม่สามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังสายปลายทางได้นั้นยังเป็นของผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะอยู่ โดยปกติแล้วจะต้องตกลงไปถึงช่องคืนเหรียญที่อยู่ต่ำลงไปข้างล่างให้ผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะแง้มเหล็กฝาปิดช่องดังกล่าวล้วงเอาเหรียญกษาปณ์กลับคืนไป การที่ พ.นำก้อนกระดาษไปอุดไว้ในช่องคืนเหรียญในตำแหน่งที่อยู่เหนือฝาปิดขึ้นไป เป็นเพียงการขัดขวางไม่ให้เหรียญกษาปณ์ตกกลับลงไปถึงมือผู้ใช้โทรศัพท์สาธารณะที่รออยู่ โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวยังคงติดค้างอยู่ในเครื่องโทรศัพท์สาธารณะในลักษณะที่ง่ายแก่การมาล้วงเอาไปในภายหลัง ความครอบครองยังอยู่กับเจ้าของเหรียญกษาปณ์ที่รอรับเหรียญกษาปณ์นั้นอยู่และการที่เจ้าของเหรียญกษาปณ์ออกจากตู้โทรศัพท์สาธารณะไปไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาสละทิ้งเหรียญกษาปณ์ที่ติดค้าง เพราะการสละกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำด้วยความสมัครใจมิใช่อยู่ในลักษณะที่ถูกขัดขวางการได้ทรัพย์กลับคืน ฉะนั้น ขณะที่เหรียญกษาปณ์ตกลงไปค้างอยู่บนก้อนกระดาษในช่องคืนเหรียญ ความผิดฐานลักทรัพย์ยังไม่สำเร็จเพราะ พ.ยังไม่ได้เอาเหรียญกษาปณ์นั้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นเพื่อป้องกันตัว ไม่ถือว่ามีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
จำเลยใช้อาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้เพื่อครอบครองทั้งในขณะเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของก็อยู่ในบ้านที่เกิดเหตุด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามฟ้องศาลย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นเพื่อใช้ป้องกันตัว ไม่ถือเป็นการครอบครองโดยมิชอบ
ผู้เสียหายใช้ไม้เป็นอาวุธเข้าไปในบ้านที่จำเลยพักอาศัย เมื่ออยู่ห่างจำเลย 2 เมตร ได้เงื้อไม้จะตีจำเลย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่หัวไหล่ 1 นัด แม้อาวุธปืนดังกล่าวจะมิใช่ของจำเลย แต่การที่จำเลย ใช้อาวุธปืนในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในช่วงระยะเวลาอันสั้นโดย ไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนรายนี้ไว้เพื่อ ความครอบครองของตน ทั้งในขณะเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของปืนก็อยู่ใน บ้านที่เกิดเหตุด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและ เครื่องกระสุนปืนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและ เครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต และ ความผิดข้อหานี้แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนตามฟ้อง ศาล ย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นเพื่อป้องกันตัว ไม่ถือว่ามีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาต
จำเลยใช้อาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในชั่วระยะเวลาอันสั้นโดยไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้เพื่อครอบครองทั้งในขณะเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของก็อยู่ในบ้านที่เกิดเหตุด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต แม้จำเลยให้การรับสารภาพแต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาหลอกลวงเอาทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลย มิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4,30 และมาตรา 82 แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาและจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง,30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340, 340 ตรี, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295, 83 จำคุก 1 ปี ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 จำคุก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาปล้นทรัพย์ ต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ถือเป็นการยอมความ ไม่ระงับสิทธินำคดีอาญา
ข้อตกลงที่โจทก์ร่วมยอมลดหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับให้แก่จำเลย และยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จในกำหนดเวลา 12 เดือน พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อผ่อนชำระเสร็จสิ้นแล้วโจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์คดีนี้ให้จำเลยกับพวก ข้อตกลงนี้โจทก์ร่วมไม่ได้ยินยอมถอนคำร้องทุกข์ให้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไข เป็นการให้โอกาสแก่จำเลยผ่อนชำระหนี้โดยยอมให้เลื่อนการพิจารณาคดีไป ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการยอมความ จึงไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางวาจา: ข้อความเกี่ยวกับพฤติกรรมเจ้าชู้ไม่ถึงขั้นทำให้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1 ได้ลาออกจากห้าง ฯ ไป ต่อมาในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้มาที่ห้าง จำเลยที่ 1 ได้พูดกับพนักงานของห้างถึงสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ลาออกว่า "โจทก์จะซื้อแหวนให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะผ่อนคืนราคาแหวนหรือไม่ก็ได้ โจทก์เคยให้กระเป๋าสตางค์ซึ่งมีเงินจำนวนหนึ่งอยู่ในกระเป๋า โจทก์ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วให้เงิน 6,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โจทก์เคยจับมือจำเลยที่ 1 โจทก์เคยขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปส่งที่บ้านของจำเลยที่ 1 หลายครั้ง การกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานของห้าง เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม และเพื่อมิให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่จำเลยที่ 1 " และจำเลยที่ 2 ได้พูดว่า "โจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ปฏิบัติตนต่อจำเลยที่ 1ในลักษณะหมาหยอกไก่ ถ้าจำเลยที่ 1 เล่นด้วย เรื่องก็เงียบไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอม จำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 จึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ออกจากงาน และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ทำงานล่วงเวลาเพราะไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าใจว่าเรื่องได้เลยเถิดไปไกลแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังบริสุทธิ์อยู่ จะท้าพิสูจน์ที่ไหนอย่างไรก็ได้ และความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คงไม่เลยเถิดไปถึงขั้นสามีภริยา และโจทก์เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม ถ้าเรื่องทราบถึงคนอื่นจะทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น น่าจะมาเจรจากันเพื่อไม่ให้เรื่องยืดเยื้อ " ข้อความที่จำเลยที่ 1 พูดนั้น เป็นการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้ จำเลยที่ 1 จึงลาออกจากงานเพราะกลัวตนเองจะเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อความใดที่กล่าวหาว่า โจทก์ได้กระทำการอันเป็นการลวนลามจำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ข้อความที่แปลความหมายได้เพียงว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า "เจ้าชู้" หมายความถึงผู้ใฝ่ในการชู้สาว เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ชาย ตามความรู้สึกของสังคมหรือคนทั่วไปที่ได้ยินข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด ก็ไม่อาจมีความรู้สึกได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง แต่เป็นเรื่องของผู้ชายซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะใฝ่ในทางชู้สาวได้ คำพูดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหาย แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่น จะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่า โจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดเรื่องความเจ้าชู้ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท เพราะเป็นเรื่องปกติทางสังคมและไม่มีความเสียหาย
ข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด เป็นการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งแปลความหมายได้ว่าโจทก์เป็นคนเจ้าชู้ จำเลยที่ 1 จึงลาออกจากงานเพราะกลัวตนเองจะเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อความใดที่กล่าวหาว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นการลวนลามจำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ข้อความที่แปลความหมายได้เพียงว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า "เจ้าชู้" หมายความถึง ผู้ใฝ่ในการชู้สาว เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ชาย ตามความรู้สึกของสังคมหรือคนทั่วไปที่ได้ยินข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด ก็ไม่อาจมีความรู้สึกได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของผู้ชายซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะใฝ่ในทางชู้สาวได้ คำพูดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่นจะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่าโจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
of 28