คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7142/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนเมื่อ พ.ร.ฎ.เวนคืนสิ้นผลบังคับ และสิทธิการได้รับดอกเบี้ย
ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่? พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ได้สิ้นผลบังคับไปแล้ว ซึ่งเท่ากับว่ามีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวโดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 จึงเข้ากรณีตามมาตรา 23 ที่ว่าในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม คือต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคากับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 กันยายน 2535 แจ้งให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายใน 7 วัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2535 และได้รับเงินไปในวันเดียวกันนั้นเอง จึงถือได้ว่าวันที่ 28 กันยายน 2535 เป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคท้าย เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามที่ศาลวินิจฉัยจึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่จะได้รับเพิ่มด้วย ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2535 เป็นต้นไป ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกเรือยนต์ของกลาง ผู้ร้องมีสิทธิขอคืนได้หากไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด
ตามสำเนาทะเบียนบ้านปรากฏชื่อนาย ด. เป็นหัวหน้าครอบครัว นาง จ. เป็นภรรยา ส่วนผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด. กับนาง จ. สำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าข้อความตามที่ได้ระบุไว้นั้นไม่ถูกต้อง จึงรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนาย ด.
เมื่อนาย ด. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของนาย ด. อันมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม จึงเป็นทายาทผู้หนึ่งที่มีสิทธิได้รับมรดกเรือยนต์ของกลาง แม้จะปรากฏว่านาย ด. มีบุตรอื่นอีกหลายคน ก็ต้องถือว่าผู้ร้องมีสิทธิรับมรดกร่วมเป็นเจ้าของเรือยนต์ของกลางด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้น ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนเรือยนต์ของกลางได้
เมื่อจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดโดยนำเรือประมงเข้าไปจับปลาในเขตหวงห้าม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือประมงที่ใช้ในการกระทำความผิดมิได้เป็นของจำเลยทั้งสองแต่เป็นของผู้ร้องและผู้ร้องก็มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้คืนเรือของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนเวนคืน: การแยกสิทธิระหว่างผู้เช่า, เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าช่วง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนของเจ้าของที่ดิน ผู้เช่า และผู้ได้รับความเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนสังหาริมทรัพย์ฯได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18(1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่เวนคืนฯมีผลใช้บังคับโจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 18(2)
แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 18(1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดินตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืนเงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันให้ไว้ตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้นที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาหลังการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการรอการลงโทษเนื่องจากความผิดและพยายามชดใช้หนี้
การที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นแต่เพียงทำให้จำเลยหมดโอกาสที่จะผ่อนชำระหนี้เพื่อบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดของจำเลยอีกต่อไปเท่านั้นการพิจารณาความผิดทางอาญาของจำเลยยังดำเนินต่อไปได้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เหมือนอย่างในคดีแพ่ง ดังนั้นกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่ศาลล่างทั้งสองกระทำต่อมาภายหลังจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุก: การเข้าไปในบ้านเพื่อพบภรรยาและบุตรหลังคลอด ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเข้าไปบ้านของผู้เสียหายที่ 1 เพราะต้องการจะไปหา ส. ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของจำเลยซึ่งเพิ่งคลอดจาก ส. แม้ ม. จะห้ามไม่ให้เข้าบ้านโดยอ้างว่าส. ไม่อยู่จำเลยก็ไม่ยอมฟังเพราะจำเลยไม่เชื่อว่า ส. จะไม่อยู่ในบ้านดังกล่าวการที่จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายที่ 1 จึงมีเหตุอันสมควรเพื่อต้องการไปหาภริยาและบุตรของจำเลย จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การตีความบทบัญญัติและหลักกฎหมายที่ใช้
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2จำนวน 40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม45.2 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา6 (7 ทวิ), 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ, 116 พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา10 ป.อ.มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตาม ป.อ.มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม 45.2 กรัมอันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6(7 ทวิ),13 ทวิวรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ,116 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการ/พนักงานท้องถิ่นกระทำผิดยาเสพติด: การเพิ่มโทษสามเท่าเป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่เพิ่มโทษ
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯมาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาและการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไป และศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้
of 28