พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในคดีฉ้อโกงและการบังคับคดี
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมได้เงิน 700,000 บาทไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวนนี้คืนให้แก่โจทก์ร่วมเพราะเมื่อร่วมกันกระทำความผิดก็ต้องร่วมกันชดใช้ การสั่งเช่นนี้เป็นการสั่งโดยคำนึงถึงความผิดทางอาญาของจำเลยทั้งสองเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้โดยคำนึงถึงคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 ระหว่างดำเนินคดีนี้ และเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้มีการยอมความกันแล้ว หากจำเลยที่ 2ไม่ปฏิบัติ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้บังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวได้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 คนเดียว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการใช้เงินคืน ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไป และข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งดังกล่าวและมีทรัพย์สินไม่เพียงพอแก่การบังคับคดีด้วย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อโจทก์ร่วม ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ร่วมตามที่ทางพิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการฉ้อโกง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมได้เงิน 700,000 บาท ไป ศาลก็ชอบที่จะสั่งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวนนี้คืนให้แก่โจทก์ร่วมเพราะเมื่อร่วมกันกระทำความผิดก็ต้องร่วมกันชดใช้ การสั่งเช่นนี้เป็นการสั่งโดยคำนึงถึงความผิดทางอาญาของจำเลยทั้งสองเป็นสำคัญ ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้โดยคำนึงถึงคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2ระหว่างดำเนินคดีนี้ และเห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้มีการยอมความกันแล้ว หากจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอให้บังคับในคดีแพ่งดังกล่าวได้ จึงไม่ถูกต้อง เพราะคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 2 คนเดียว มิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำขอของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการใช้เงินคืน ย่อมทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดไป และข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง ดังกล่าวและมีทรัพย์สินไม่เพียงพอแก่การบังคับคดีด้วย ย่อมไม่เป็นการยุติธรรมต่อโจทก์ร่วม ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ร่วมตามที่ทางพิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อคดีอาญาเช็ค: หนี้ระงับ สิทธิฟ้องอาญาเลิก
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์ (โจทก์ร่วมคดีนี้) จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อคดีอาญาเช็ค - หนี้ระงับเมื่อยอมความ
โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาทในคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเรียกให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์ร่วมและจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุไว้ชัดว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์(โจทก์ร่วมคดีนี้)จนเสร็จสิ้นก็ตาม แต่ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น จึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยได้ใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่ตกลงกันในคดีแพ่งแก่โจทก์(โจทก์ร่วมคดีนี้)จนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิแม้จะครอบครองภายหลัง
ก่อนยื่นคำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกย. ภริยาจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 และมีภูมิลำเนาแห่งเดียวกันกับจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะทนายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทนายของย.แถลงรับว่าย.เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 จริง และขอยื่นคำแก้ฎีกาต่อไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1ผู้มรณะ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้วคดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ย.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบแต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบทนายจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทนายของย.แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าย. เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วทั้งโจทก์ก็เป็นฝ่ายที่ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียก ย.ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะเองโดยไม่คัดค้านการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้งย. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ค. ที่ดินดังกล่าวยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมายแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.)ให้แก่กัน ข้อความที่ระบุดังกล่าวระบุไว้เพื่อ หลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่างค.กับจำเลยที่ 1จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ค. จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากค. และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค. ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นโจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่า สิทธิที่ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าว แทนจำเลยที่ 1 โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าว ไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึง ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินช่วงห้ามโอน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิครอบครอง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือ ไม่อนุญาตให้ ย. เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า ย. เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1ถึงแก่ความตายแล้วจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค. ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่าจำเลยที่ 1 พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อ เรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค. กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครอง ในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดิน นั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค. กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ย่อมไม่มี ผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค. จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาท จาก ค. และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ค. ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค. ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าว เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยัง จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มี ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อกฎหมายห้ามโอน และผลกระทบต่อสิทธิครอบครองของผู้รับโอน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ย.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า ย.เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค.ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตามแต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค.จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจาก ค.และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค.ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค.ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตามแต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค.จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจาก ค.และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค.ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีใหม่เพื่อโต้แย้งการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิมเป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า คดีก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษา ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 โฉนดทั้งที่ศาลมิได้พิพากษาให้แบ่งแยกตามรูปแผนที่ท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคหนึ่ง มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น โดยประมาทเลินเล่อและทุจริต เจ้าของที่ดินมีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนได้
ที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1 อยู่ติดกันเป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่มีรั้วหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตไว้การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของ จำเลยที่ 1 โดยเพิกเฉยไม่ตรวจสอบแนวเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ให้แน่นอนเสียก่อน จึงเป็นการ กระทำที่ส่อแสดงถึงความไม่รอบคอบและประมาทเลินเล่อ นอกจากนี้ในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทต่อเทศบาล ก็ไม่ปรากฏหลักฐานสำเนาโฉนดที่ดินและบัตรประจำตัวประชาชน คงมีแต่หนังสือให้ความยินยอมให้ก่อสร้างของโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินข้างเคียงเท่านั้น ซึ่งปรากฏว่าลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นลายมือชื่อปลอมพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยทั้งสองรู้หรือควรจะรู้แต่ต้นแล้วว่าอาคารพิพาท รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสอง ก่อสร้างอาคารพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยและรับผิดร่วมกันในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ศาลชั้นต้นระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และมิได้ระบุว่าได้มีการ ชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบไว้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การของ จำเลยที่ 5 ไว้ และได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้เถียงกันทุกประเด็น ข้อผิดหลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นระบุรายการแห่งคดีไม่ถูกต้องครบถ้วนเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้เหตุผลในประเด็น แห่งคดีให้ครบถ้วนตามประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้แย้งกันไม่ จึงไม่เป็นข้อสาระสำคัญแห่งคดีที่จะทำให้ผลแห่ง คำพิพากษาเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น เมื่อความข้อนี้ปรากฏในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขใหม่ให้ถูกต้องได้เพราะมิใช่การแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย และเมื่อศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขข้อผิดหลงดังกล่าวให้ถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่อีก
เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แม้ทั้งสองฝ่ายจะมิได้มีเจตนาหรือจงใจร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อได้ก่อความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวด้วยกันทั้งหมด และเป็นความเสียหายเดียวกัน ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบ มาตรา 291 จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยคนอื่น ๆ อย่างลูกหนี้ร่วม
เหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แม้ทั้งสองฝ่ายจะมิได้มีเจตนาหรือจงใจร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อได้ก่อความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวด้วยกันทั้งหมด และเป็นความเสียหายเดียวกัน ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบ มาตรา 291 จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยคนอื่น ๆ อย่างลูกหนี้ร่วม