คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดกันของคำพิพากษาและการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้มีผลก้าวล่วงคดีที่บังคับคดีแล้วได้
คำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว คดีแรกเป็นคดีที่มี ข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยกับบุคคลภายนอก คดีที่สอง พิพาทระหว่างบุคคลภายนอกกับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องเพิกถอน นิติกรรมและเรื่องขับไล่ตามลำดับ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกา คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์มีข้อพิพาทกับจำเลยในเรื่องขอหย่า และแบ่งทรัพย์สิน มูลคดีของคำพิพากษาจึงแตกต่างกันและ ต่างคู่ความกัน ทั้งคำพิพากษาคดีแรกได้มีการบังคับคดีไปแล้วการที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อให้มีผลก้าวล่วงไปถึง คดีที่ได้มีการบังคับคดีไปแล้วนั้น ศาลฎีกาย่อมไม่อาจ วินิจฉัยให้ได้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งโดยถือเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ซึ่งเป็น ศาลสูงกว่า และสั่งว่าบ้านพร้อมที่ดินพิพาทในคดีนี้ เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่มีสิทธิ จะแบ่งทรัพย์สินเหล่านี้จากจำเลยตามคำพิพากษาในคดีซึ่งถึงที่สุด ในคดีแรกและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ ต่อไปนั้น เมื่อคดีนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ กรณีไม่ต้องมีการบังคับคดี ฎีกาของจำเลยมีผลเท่ากับ ขอให้ศาลฎีกาออกคำบังคับให้หรือให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แก่จำเลย จึงไม่อาจดำเนินการให้ ในคดีนี้ได้ ทั้งไม่ใช่กรณีคำพิพากษาขัดกันอันต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 ที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งตามคำขอของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปดำเนินคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาและการบังคับคดี: ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยคดีที่กระทบสิทธิในคดีที่บังคับคดีไปแล้ว
คำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว คดีแรกเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยกับบุคคลภายนอก คดีที่สองพิพาทระหว่างบุคคลภายนอกกับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องเพิกถอนนิติกรรมและเรื่องขับไล่ตามลำดับ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์มีข้อพิพาทกับจำเลยในเรื่องขอหย่าและแบ่งทรัพย์สิน มูลคดีของคำพิพากษาทั้งสองคดีแตกต่างกันและต่างคู่ความกัน ทั้งคำพิพากษาคดีแรกได้มีการบังคับคดีไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องในคดีนี้เพื่อให้มีผลก้าวล่วงไปถึงคดีที่ได้มีการบังคับคดีไปแล้วนั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ที่จำเลยฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งโดยให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ซึ่งเป็นศาลสูงกว่า และสั่งว่าบ้านพร้อมที่ดินพิพาทในคดีนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยโจทก์ไม่มีสิทธิจะแบ่งทรัพย์สินเหล่านี้จากจำเลยตามคำพิพากษาในคดีซึ่งถึงที่สุดในคดีแรกและบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีนี้ต่อไปนั้น เมื่อคดีนี้ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์กรณีไม่ต้องมีการบังคับคดี ฎีกาของจำเลยมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีกาออกคำบังคับให้หรือให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แก่จำเลย จึงไม่อาจดำเนินการให้ในคดีนี้ได้ ทั้งไม่ใช่กรณีคำพิพากษาขัดกันอันต้องตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาตรา 146ที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งตามคำขอของจำเลย ชอบที่จำเลยจะไปดำเนินคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา: การยื่นซองใหม่ทำให้ราคายื่นเดิมสิ้นผล ระยะเวลาผูกพันเริ่มนับจากวันยื่นซองใหม่ ผู้เสนอราคาต้องทำสัญญาตามกำหนด
โจทก์เข้ายื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารตามข้อเสนอและเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดดังกล่าวตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มีข้อตกลงให้มีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากมีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ราคาที่ผู้ยื่นซองประกวดราคายื่นเสนอไว้เดิมเป็นอันยกเลิกกันไปและต้องถือราคาตามที่ได้มีการเสนอราคาใหม่นั้น ส่วนระยะเวลาการยืนราคาที่เสนอใหม่ยังคงเป็นไปตามข้อตกลงเดิมคือต้องยืนราคาไว้ 90 วัน นับแต่วันที่ได้มีการยื่นซองประกวดราคาใหม่โจทก์ยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ วันที่ 7 ธันวาคม2536 ระยะเวลา 90 วัน จึงต้องนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปเมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำสัญญาจ้างและโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องผูกพันตามราคาที่ยืนไว้ตามข้อตกลง เมื่อโจทก์ไม่ไปทำสัญญาจ้างตามกำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในการยื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามสัญญาประกวดราคา: ผลของการยื่นซองประกวดราคาใหม่และการกำหนดระยะเวลาผูกพัน
โจทก์เข้ายื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารตามข้อเสนอและเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด โจทก์จึงต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดดังกล่าวตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ และตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้มีข้อตกลงให้มีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ได้ แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากมีการยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ราคาที่ผู้ยื่นซองประกวดราคายื่นเสนอไว้เดิมเป็นอันยกเลิกกันไปและต้องถือราคาตามที่ได้มีการเสนอราคาใหม่นั้น ส่วนระยะเวลาการยืนราคาที่เสนอใหม่ยังคงเป็นไปตามข้อตกลงเดิมคือต้องยืนราคาไว้ 90 วัน นับแต่วันที่ได้มีการยื่นซองประกวดราคาใหม่ โจทก์ยื่นซองประกวดเฉพาะราคาใหม่วันที่ 7 ธันวาคม 2536 ระยะเวลา 90 วัน จึงต้องนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำสัญญาจ้างและโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 จึงไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะต้องผูกพันตามราคาที่ยืนไว้ตามข้อตกลง เมื่อโจทก์ไม่ไปทำสัญญาจ้างตามกำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามข้อตกลงในการยื่นซองประกวดราคาจ้างก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาเวนคืนที่ดิน: พิจารณาจากราคาตลาดในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 (1) ที่ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานั้น มีความหมายว่า ให้นำเอาราคาซื้อขายของอสังหาริมทรัพย์ในประเภทและชนิดเดียวกันที่ประชาชนทั่วไปซื้อขายกันอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับมาเป็นเกณฑ์พิจารณา ถ้าหาราคาซื้อขายในวันดังกล่าวไม่ได้ ก็อาจหาราคาซื้อขายในวันอื่นที่ใกล้เคียงมาใช้พิจารณาแทน แม้จะเป็นราคาซื้อขายในภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาเริ่มมีผลใช้บังคับก็นำมาใช้เทียบเคียงได้ ผู้กำหนดราคาสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดราคาที่ควรจะเป็นโดยคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในทำเลนั้นประกอบไป และกำหนดราคาที่สมควรในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนซึ่งเป็นเจ้าของภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ คือต้องจ่ายในวันที่ 29 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากยาเสพติดเพื่อส่งมอบเข้าข่ายความผิดฐานขาย แม้ไม่มีเจตนาจำหน่ายโดยตรง ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
บันทึกการจับกุมผู้ต้องหาเป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีการจับกุมจำเลยแล้ว บันทึกการจับกุมจึงเป็นหลักฐานในการสอบสวนคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(11) ซึ่งไม่ได้มีบทบังคับว่าต้องทำอย่างไร เมื่อบันทึกการจับกุมมีร่องรอยการแก้ไขตกเติม ก็ไม่ทำให้บันทึกการจับกุมนั้นเป็นอันเสียไปหรือใช้ไม่ได้ การที่จำเลยลงนามในบันทึกดังกล่าวโดยมิได้โต้แย้งและมิได้ซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับบันทึกการจับกุมให้เห็นเป็นอย่างอื่น ทำให้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ปรากฏในบันทึกการจับกุมนั้นรับฟังเป็นพยานได้ส่วนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การดังกล่าวแต่อย่างใดเมื่อจำเลยลงนามในคำให้การชั้นสอบสวนโดยมิได้ถูกขู่เข็ญบังคับหรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น ศาลย่อมรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานได้ การที่จำเลยรับฝากเมทแอมเฟตามีนจาก ด. เพื่อนำไปให้ว.นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยรับมาเพื่อส่งมอบให้แก่ว.การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขาย ตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518ซึ่งบัญญัติว่า "ขาย" หมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ผังเมืองรวม: กฎกระทรวงมีผลแม้หมดอายุ หากมีกฎกระทรวงใหม่ใช้บังคับต่อเนื่อง
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง การใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวง และตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามไว้ว่าในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนด ของผังเมืองรวมนั้น โดยบัญญัติบทลงโทษทางอาญาและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 83 ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีการออกพระราชบัญญัติให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะในท้องที่เดียวกันก่อนจึงจะทำให้กฎกระทรวงข้างต้นมีผลใช้บังคับได้ เพราะการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเป็นกรณีที่บัญญัติแยกไว้ต่างหากทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 27ซึ่งกำหนดโทษและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา 83 นั้น ได้บัญญัติห้ามเฉพาะกรณีใช้ประโยชน์ที่ดิน ผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมเท่านั้น มิได้ระบุถึง ผังเมืองเฉพาะด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วมีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารผิดไปจาก ที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าว ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคาร ตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้น ที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้ ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529)ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมือง รวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานีจังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคม และขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการ คมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17(พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้ผังเมืองรวม: การก่อสร้างที่ผิดผังหลังกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ และการปรับใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่
ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 26 วรรคหนึ่งการใช้บังคับผังเมืองรวมให้กระทำโดยกฎกระทรวง และตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งบัญญัติห้ามไว้ว่า ในเขตที่ได้มีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมแล้ว ห้ามบุคคลใดใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวมหรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมนั้น โดยบัญญัติบทลงโทษทางอาญาและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ในมาตรา 83 ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีการออก พ.ร.บ.ให้ใช้บังคับผังเมืองเฉพาะในท้องที่เดียวกันก่อนจึงจะทำให้กฎกระทรวงข้างต้นมีผลใช้บังคับได้ เพราะการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเป็นกรณีที่บัญญัติแยกไว้ต่างหากทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 27 ซึ่งกำหนดโทษและวิธีการแก้ไขสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้ตามมาตรา 83 นั้น ได้บัญญัติห้ามเฉพาะกรณีใช้ประโยชน์ที่ดินผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในผังเมืองรวม หรือปฏิบัติการใด ๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของผังเมืองรวมเท่านั้น มิได้ระบุถึงผังเมืองเฉพาะด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529)ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารผิดไปจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
จำเลยซื้อที่ดินโฉนดตามฟ้องเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 แต่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2529ถึงวันที่ 11 กันยายน 2534 จำเลยได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในที่ดินดังกล่าวระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2531 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2531 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่กฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) มีผลใช้บังคับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินภายหลังจากที่กฎกระทรวงฉบับข้างต้นมีผลใช้บังคับ และใช้ประโยชน์ที่ดินโดยสร้างอาคารตามฟ้องเมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินได้ใช้ประโยชน์ที่ดินมาก่อนที่จะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 มาตรา 27 วรรคสอง ส่วนอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่มั่นคงแข็งแรง ไม่กีดขวางการจราจร หากต้องถูกรื้อจำเลยจะได้รับความเสียหายมากนั้น เหตุดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ถือเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมไว้ จึงไม่อาจรับฟังตามที่จำเลยอ้างได้
ที่จำเลยฎีกาว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) ตามฟ้องสิ้นผลบังคับเพราะพ้นกำหนด 5 ปี โดยไม่มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่เดิมต่อไป จึงไม่อาจนำมาใช้กับกรณีของจำเลยได้นั้นแม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 182(พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2537 กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้ขยายถนนโภคานุสรณ์เป็นถนนแบบ ง. ขนาดเขตทาง 30 เมตร ตรงกับกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) และรายการประกอบแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2529) เป็นผลให้กรณีของจำเลยยังคงต้องห้ามและขัดต่อกฎกระทรวงฉบับนี้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะยกกฎกระทรวงฉบับนี้ขึ้นปรับใช้แก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวตนผู้ต้องหา, การแจ้งความเท็จ, และความผิดสำเร็จจากการแสดงหลักฐานเท็จต่อเจ้าหน้าที่
องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526คือ ผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 14 แล้ว จำเลยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่จัน ในครั้งแรกโดยแจ้งข้อความและแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จความผิดก็สำเร็จแล้วเมื่อจำเลยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ใหม่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอกระทุ่มแบน จึงเป็นความผิดกรรมใหม่กระทงใหม่ ต่างกรรมต่างวาระกัน ไม่ใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างโดยปริยาย: การก่อสร้างและการรับค่าจ้าง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงานมีปัญหาว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยหรือไม่ ไม่ว่าโจทก์จะอาสาขอทดลองทำถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เข้าก่อสร้างทำงานนี้ ก็ต้องถือว่าจำเลยตกลงว่าจ้างโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว
of 28