พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่ต้องชำระในคดีแพ่ง
ราคาที่ดินพิพาทคำนวณตามราคาประเมินเป็นเงิน 13,833.75บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมาในทุนทรัพย์ 60,000 บาท จึงเสียเกินมา1,155 บาท ส่วนในชั้นฎีกาโจทก์ฎีกาว่า ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกิน 50,000 บาทขอให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ และย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาในทุนทรัพย์ตามคำฟ้องและฟ้องแย้งรวม1,845 บาท จึงเสียค่าขึ้นศาลเกินมา 1,645 บาท ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น 1,155 บาท ในชั้นฎีกา 1,645 บาท แก่โจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การระบุประเภทและปริมาณยาเสพติด และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 จำนวน 2 เม็ดน้ำหนักเมทแอมเฟตามีน 0.17 กรัม ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่าย และจำเลยจำหน่ายขายเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ขอให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อหาจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นการบรรยายฟ้องถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วส่วนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เป็นประกาศชื่อและประเภทของยาเสพติดให้โทษซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษว่ายาเสพติดให้โทษชื่อใด อยู่ในประเภทใดของยาเสพติดที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทมีความร้ายแรงและมีบทกำหนดโทษที่แตกต่างกันและไม่เท่ากันดังนี้ ชื่อและประเภทของยาเสพติดจึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว กับกล่าวในฟ้องข้อ ข. ว่า จำเลยมีพืชกระท่อม อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง และส่งประกาศดังกล่าวในการสืบพยานของโจทก์ ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับนั้นไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ที่จำเลยอีกการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการพิจารณาว่าการกระทำเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะมิได้บรรยายถึงว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์มีน้ำหนักเท่าใด ก็หาทำให้กลายเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่จะ นำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับโดย จำหน่ายหมดในคราวเดียวกันไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ ที่จำเลยอีก เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 5 การระบุประเภทของยาเสพติดเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 จำนวน 2 เม็ด น้ำหนักเมทแอมเฟตามีน0.17 กรัม ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่าย และจำเลยจำหน่ายขายเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ขอให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อหาจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการบรรยายฟ้องถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ป.วิ.อ.ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วส่วนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็นประกาศชื่อและประเภทของยาเสพติดให้โทษซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษว่ายาเสพติดให้โทษชื่อใด อยู่ในประเภทใดของยาเสพติดที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทมีความร้ายแรงและมีบทกำหนดโทษที่แตกต่างกันและไม่เท่ากันดังนี้ ชื่อและประเภทของยาเสพติดจึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว กับกล่าวในฟ้องข้อ ข.ว่า จำเลยมีพืชกระท่อม อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง และส่งประกาศดังกล่าวในการสืบพยานของโจทก์ ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับนั้นไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ที่จำเลยอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็นประกาศชื่อและประเภทของยาเสพติดให้โทษซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษว่ายาเสพติดให้โทษชื่อใด อยู่ในประเภทใดของยาเสพติดที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทมีความร้ายแรงและมีบทกำหนดโทษที่แตกต่างกันและไม่เท่ากันดังนี้ ชื่อและประเภทของยาเสพติดจึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว กับกล่าวในฟ้องข้อ ข.ว่า จำเลยมีพืชกระท่อม อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง และส่งประกาศดังกล่าวในการสืบพยานของโจทก์ ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับนั้นไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ที่จำเลยอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นพบยาเสพติดหลังบ้าน: ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อหลักฐานไม่ชัดเจน
โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า ที่อ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยลักลอบจำหน่ายเฮโรอีนนั้นสืบทราบด้วยวิธีใดและจำเลยมีพฤติการณ์อย่างใด การไปจับกุมจำเลยมานี้ไม่ได้ใช้วิธีล่อซื้อแต่เป็นการนำหมายค้นไปค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของผิดกฎหมาย ซึ่งการที่ร้อยตำรวจโท ป.ยันยันว่า มีชายซึ่งไม่ได้สอบถามชื่อมา กระซิบ บอกว่ามี เฮโรอีนอยู่หลังบ้านจำเลยนั้นถือเป็นการเลื่อนลอยทั้งการค้นของเจ้าพนักงานก็มิได้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ว่า การค้นในที่รโหฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัว ฯลฯแต่ในขณะที่ไปตรวจค้นนั้นมีจำเลยอยู่ที่บ้านคนเดียวและไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างใด เมื่อค้นในบ้านไม่พบสิ่งผิดกฎหมายก็สมควรจะนำจำเลยไปหลังบ้านด้วยและค้นต่อหน้าจำเลยเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่ค้นพบเฮโรอีนของกลางลับหลัง อย่างนี้ทำให้ยังเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัย จำเลยประกอบอาชีพมีงานทำเป็นกิจจะลักษณะโดยเป็นเจ้าของร้านรับซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่ ณ บ้านที่เกิดเหตุนั้นเองมี ช. กำนันตำบลที่เกิดเหตุรับรองว่าจำเลยไม่เคยเสพหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และทางพิจารณาได้ความว่าบริเวณที่พบเฮโรอีนของกลางมิได้อยู่ในบ้าน แต่อยู่นอกบ้านออกไปในที่โล่ง ไม่มีหลังคาคลุม เพียงแต่มีรั้วลวดหนามกั้นอยู่โดยรอบ ซึ่งก็สามารถเดินผ่านข้ามได้แสดงว่ารั้วนี้กั้นคนไม่ได้ทั้งจุดที่ค้นพบถุงเฮโรอีนซึ่งอยู่ห่างรั้วประมาณ 1 ศอกนั้น ก็ง่ายต่อการที่ ผู้อื่นจะนำถุงเฮโรอีนของกลางไปวางซุก ไว้อย่างยิ่งโดยไม่ถึงกับต้องเข้าไปข้างในรั้วเพียงแต่เดินมาข้างรั้ว แล้วยื่นมือเข้าไปวางก็ทำได้ทุกเวลาอยู่แล้ว จะฟังว่า ค้นพบเฮโรอีนของกลางหลังบ้านจำเลยก็ต้องเป็นของจำเลย ยังฟังได้ไม่ถนัด กรณีมีเหตุสงสัยจึงเห็นสมควรยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ด้วยกลอุบายร้ายแรง ศาลลดโทษจำคุกจากเดิม
จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหาย และชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่อง ซึ่งมีราคา น้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ กลอุบาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันคบคิด แสวงหาวิธีการ หลอกลวงตบตาผู้เสียหายไว้ก่อน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งความผิด จึงถือได้ว่าร้ายแรง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ใหญ่ และจำเลยที่ 2 มีครอบครัวและบุตรแล้ว ถือได้ว่ามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พอสมควรกลับมากระทำผิดจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: ความผิดเฉพาะตัวของผู้กระทำ และอำนาจศาลตามบทบัญญัติกฎหมายอาวุธปืน
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตให้มีและ ใช้เป็นของผู้ร้องโดยถูกต้อง ความผิดของจำเลยอยู่ที่ การมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืน ดังกล่าวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดเฉพาะตัว อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้น และแม้จะถือว่าเป็นอาวุธ ซึ่งเมื่อจำเลยพาไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 แต่ในเมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 72 ทวิ อีกบทหนึ่ง และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดแล้วศาลก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ริบอาวุธปืน ของกลางได้ เพราะมาตรา 72 ทวิ มิได้บัญญัติให้อำนาจศาล สั่งริบอาวุธปืนที่พาไปโดยผิดกฎหมายได้เลย และจะสั่ง ให้ริบอาวุธปืนโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องซึ่งเป็นบทเบาก็ไม่ได้ด้วย เพราะศาล ไม่ได้ลงโทษจำเลยตามบทนี้ เมื่ออาวุธปืนของกลางริบไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำ ความผิดของจำเลยหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลพิพากษาให้ริบอาวุธปืน ของกลางไปแล้ว ต่อมาผู้ร้องมาร้องขอคืน ก็ต้องคืนอาวุธปืน ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: การฟ้องขอเพิกถอนโฉนดที่ดิน และการฟ้องจำเลยที่ไม่ดำเนินการเพิกถอน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2)การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & อำนาจฟ้องเพิกถอนโฉนด: คดีเดิมพิสูจน์สิทธิแล้ว, จำเลย 2 เพิกเฉยมีอำนาจฟ้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดิน พิพาทของโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษา ยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีก่อน และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนมีเหตุอย่างเดียวกัน คือโจทก์ขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ แม้คดีนี้โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไป ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นได้ วินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ย่อมเป็นการห้ามที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็น ฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน ที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในเขตจังหวัดตนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61(2) เมื่อการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน ที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและอำนาจเพิกถอนโฉนด: ศาลยกฟ้องคดีซ้ำ ส่วนจำเลยมีหน้าที่เพิกถอนโฉนดที่ดิน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีก่อน และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนมีเหตุอย่างเดียวกัน คือโจทก์ขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ แม้คดีนี้โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ย่อมเป็นการห้ามที่เกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (2) เมื่อการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (2) เมื่อการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2