พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ค้ำประกันเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นหลังสัญญาค้ำประกัน
การซื้อขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ตามใบแจ้งหนี้สำเร็จบริบูรณ์ก่อนเวลาที่จำเลยที่ 2 เข้ามาค้ำประกันแล้ว ดังนี้ แม้วันที่ครบกำหนดชำระราคาค่าสินค้าจะเป็นเวลาภายหลังวันที่ทำสัญญาค้ำประกันก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงต้องรับผิดเฉพาะหนี้ค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิสัญญาเช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับช่วงสิทธิ
การที่ผู้ร้องได้ซื้อสินทรัพย์ประเภทสัญญาเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน พ. ซึ่งถูกปิดกิจการตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ถือว่าเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 การใช้สิทธิของผู้ร้องในการขอคืนของกลางคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิแทนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พ. ซึ่งผู้ร้องย่อมรับมาทั้งสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ทั้งหมดที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ปรากฏว่าว. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องเบิกความว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ขายดาวน์รถยนต์ของกลางให้แก่ ศ. ไปแล้ว และเหตุที่ต้องยื่นคำขอคืนรถยนต์ก็เนื่องจากต้องคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องเพราะยังค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ หากสามารถชำระได้หมดก็จะไม่ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่ง อันเป็นคำเบิกความที่เป็นไปในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงและมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่จำเลยทั้งสามนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม2541 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 และมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542 โดยมิได้ดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งต่อ ว. เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ แต่กลับมอบอำนาจให้ ว. มาร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องร้องขอรถยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของ ว. ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุผลด้านการเงินและการเตรียมการไม่เพียงพอ
จำเลยอ้างว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลมีจำนวนสูงถึง 200,000 บาท และจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ได้ความว่า จำเลยรับทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งนี้เพราะจำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกา: จำเลยต้องเตรียมการด้านการเงินล่วงหน้า แม้ศาลไม่อนุญาต
จำเลยอ้างว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลมีจำนวนสูงถึง200,000 บาท และจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ได้ความว่า จำเลยรับทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งนี้เพราะจำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับฟังเหตุขยายเวลายื่นฎีกา แม้มีปัญหาทางการเงิน เพราะมีเวลาเตรียมการเพียงพอ
จำเลยทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2542 ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นเพราะความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินจำเลยที่ 1 ย่อมคาดหมายได้ว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งไม่อนุญาตก็ได้ จำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อายุความค่าทดแทนเวนคืน, การชำระหนี้โดยไม่มีมูล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2538ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคือวันที่ 14มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์เวนคืนที่ดินของจำเลยเป็นเนื้อที่แน่นอน 5 ตารางวา แต่ความจริงถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา อันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะนั้น การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเวนคืนเมื่อเนื้อที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ลาภมิควรได้ อายุความ 10 ปี
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นการตกลงซื้อขายกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นขั้นตอนของการดำเนินการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่จำเลยผู้ถูกเวนคืน เมื่อปรากฏจากการรังวัดว่าเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่ รับไว้โดยที่ดินมิได้ถูกเวนคืนแก่โจทก์ กรณีหาใช่เรื่องจำเลยได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์เพราะโจทก์กระทำการชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องร้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเนื่องจากการดำเนินตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: คำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
คดีนี้แม้เดิมจะเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่ในชั้นอุทธรณ์โจทก์เพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามตาราง 1 ข้อ (2)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียง 200 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นผลสำเร็จ แม้ยังมิได้จดทะเบียน หากผู้โอนสิทธิแต่ละทอดไม่สุจริต สิทธิผู้ครอบครองไม่ขาดตอน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จะยังมิได้จดทะเบียนการได้มา ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัท ฟ. ผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตได้
หลังจากซื้อที่ดินพิพาทมาแล้ว บริษัท ฟ. ได้โอนขายแก่บริษัท ร. ต่อมาบริษัท ร. โอนขายแก่จำเลย โดยจำเลยกับบริษัท ฟ. และบริษัท ร. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนล้วนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน การจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันเป็นทอด ๆ ตามลำดับดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับโอนทางทะเบียนแต่ละทอดรับโอนโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์จึงไม่ขาดตอนและสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยซึ่งมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตได้
หลังจากซื้อที่ดินพิพาทมาแล้ว บริษัท ฟ. ได้โอนขายแก่บริษัท ร. ต่อมาบริษัท ร. โอนขายแก่จำเลย โดยจำเลยกับบริษัท ฟ. และบริษัท ร. เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนล้วนเป็นบุคคลชุดเดียวกัน การจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันเป็นทอด ๆ ตามลำดับดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับโอนทางทะเบียนแต่ละทอดรับโอนโดยสุจริต สิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์จึงไม่ขาดตอนและสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยซึ่งมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9682/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลไม่รับวินิจฉัย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกกระท่อมอ้างว่าเป็นที่ดินของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนกระท่อมออกจากที่ดินพิพาทห้ามจำเลยและบริวารไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป จำเลยให้การ ในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1989 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การ ในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยเต็มทั้งแปลงด้วยความสุจริต โดยเจตนายึดถือเพื่อตนด้วยความสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงขัดแย้งคำให้การในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือ ไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง