คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่า: เงินดาวน์ไม่ใช่เงินมัดจำ, เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดได้
แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบันทึกข้อความเอกสารที่พิพาทมีข้อความว่า วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เรื่อง ขอยืมเงิน และมีข้อความต่อไปว่า ข้าพเจ้านายสวาท ภิรมย์เอี่ยม (จำเลย) ขอยืมเงินป้าเกศินีฯ (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) และจำเลยได้ลงลายมือในบันทึกดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย เมื่อฟังประกอบข้อเท็จจริงที่เป็นยุติว่า โจทก์ได้ถอนเงินจากธนาคารและมอบเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยจึงมอบบันทึกข้อความดังกล่าวแก่โจทก์ที่ธนาคาร ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์จำนวน 20,000 บาท จำเลยผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อความดังกล่าวไว้เป็นสำคัญ บันทึกข้อความย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8869/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแบบมาร์จิ้น การหักกลบลบหนี้ และหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนและนายหน้าให้ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แทนจำเลยและให้โจทก์มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการซื้อขายหลักทรัพย์มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ในวันที่ทำสัญญาจำเลยได้เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แบบมาร์จิ้นซึ่งเป็นการซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินเชื่อ ต่อมาจำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์หุ้นบริษัท ร. โดยให้โจทก์เป็นตัวแทนการซื้อหุ้นแบบมาร์จิ้น จำเลยค้างชำระค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ การซื้อขายหุ้นที่จำเลยค้างชำระไม่ใช่การซื้อขายแบบเงินสด การที่โจทก์ดำเนินการขายหุ้นและนำเงินมาหักกลบลบหนี้ที่ค้างชำระจึงไม่ขัดต่อระเบียบตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้สมาชิกถือปฏิบัติในการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาและการระบุประเด็นข้อกฎหมายที่เกินกำหนดอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบจะอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจนพ้นกำหนด 1 เดือน ย่อมต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้นั้นเป็นอันยุติแล้ว โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อไปไม่ได้ ที่โจทก์ยื่นคำร้องครั้งหลังอ้างว่ามีเหตุสงสัยในคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดและคำสั่งชอบแล้ว ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งโจทก์ก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเห็นได้ว่าไม่ใช่เหตุตามกฎหมายแต่เป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องถอนฟ้องซึ่งยุติไปแล้ว เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาอันเป็นการไม่ถูกต้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8754/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นจำเลยร่วมในคดีบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนร่วมในหนี้สินโดยตรง
ตามคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องสอดไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับหนี้เงินกู้และการจำนองที่ดินประกันหนี้เงินกู้ตามที่โจทก์ฟ้องบังคับ คงอ้างแต่เพียงว่า ผู้ร้องสอดเป็นภริยาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยและอยู่ร่วมกับจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี อีกทั้งจำเลยเองก็ขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดย่อมไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยที่ขาดนัด การร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ย่อมหาประโยชน์มิได้ ที่ศาลล่างมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันเองไม่ก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ศาลไม่วินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยและบุตรจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและบุตร จำเลยและบุตรไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขัดกับคำให้การในตอนแรก จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันกรณีดัดแปลงอาคารและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกำหนดระยะเวลาการกระทำความผิดที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองและมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเองจำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 นอกจากนี้การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย ดังนั้น โทษที่จำเลยกระทำจึงมีระวางโทษปรับรายวันวันละไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และไม่เกิน 120,000 บาท สำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร
การลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัตให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อ พาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง จำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8156/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหลืออยู่หลังเวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนเป็นที่ดินผืนใหญ่กว่า 20 ไร่ และ 50 ไร่สามารถใช้ประโยชน์แยกเป็นเอกเทศต่างหากจากกันได้ แต่ละส่วนมีด้านหนึ่งกว้างประมาณ 160 เมตร อยู่ติดทางคู่ขนานของทางหลวงพิเศษซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดทางคู่ขนานและประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้ทางคู่ขนานนี้สัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนจะอยู่ใกล้กับทางต่างระดับ แต่ก็อยู่ติดทางคู่ขนานที่เกือบเป็นทางตรง จึงสามารถเข้าสู่และออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่เหลือจากการเวนคืนโดยใช้ทางคู่ขนานนี้ได้การคมนาคมเข้าสู่และออกจากที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนจะสะดวกกว่าเดิมมาก สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากเดิมมากเช่นนี้ย่อมทำให้ที่ดินดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมากเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากราคาประเมินฯ ที่ปรับสูงขึ้นจากเดิมมาก กล่าวคือ บางส่วนจากตารางวาละ 800 บาท เป็น 10,000 บาท บางส่วนจากตารางวาละ2,500 บาท เป็น 4,500 บาท บางส่วนจากตารางวาละ 800 บาทเป็น 1,500 บาท ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน73.2 ตารางวา ส่วนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 81 ไร่ 2 งาน94.8 ตารางวา เทียบอัตราส่วนกันแล้วประมาณ 1 ต่อ 4.5 ดังนั้นแม้หากที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อยเพียง 1 ใน 4.5 ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนก็จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเสียอีกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เป็นตารางวาละ 1,875 บาท โดยไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อยู่แล้ว หากเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์อีกก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม
โจทก์มิได้อุทธรณ์เรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินทำสวนส้มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งการอุทธรณ์เป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดจะต้องทำก่อนคดีมาสู่ศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์เพิ่งเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้มาพร้อมกับคำฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากการขาดประโยชน์ในการใช้ที่ดินทำสวนส้ม
of 28