คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อภิชาต สุขัคคานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเพิ่มเติมหลังการรังวัดและข้อผิดพลาดเนื้อที่
การดำเนินการของฝ่ายจำเลย (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ให้ได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางพิเศษ สายรามอินทรา-อาจณรงค์ อาศัย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 เพียงฉบับเดียว แนวเขตที่ดิน ที่จะสร้างทางพิเศษสายนี้ในบริเวณที่ดินของโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือขยายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเป็นที่ดินอยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและถูกดำเนินการเพื่อเวนคืนเพียงครั้งเดียว โดยฝ่ายจำเลยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนตามสัญญาซื้อขายอสังหา ริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสาย รามอินทรา-อาจณรงค์ กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. แต่เป็นขั้นตอนหนึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษฯ ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นที่ดินในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ส่วนเนื้อที่ดิน ที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายฯเป็นการประมาณการของฝ่ายจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้ว ปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยประมาณการไว้ เนื้อที่ดินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มีที่มาจากที่ดิน ผืนเดียวกันกับที่ระบุเนื้อที่ไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินทดแทนแทน ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมด รวมทั้งเนื้อที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซื้อขายด้วย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์ได้อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้รวมอยู่ด้วยแล้ว เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์ย่อม มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย นับแต่วันที่ครบ 120 วันจากวันทำสัญญาซื้อขาย อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่าย ตามมาตรา 26 วรรคสาม
ศาลล่างทั้งสองกำหนดวันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยนั้นผิดพลาดไป 1 วัน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนเมื่อเนื้อที่ดินจริงเพิ่มจากที่ประมาณการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ที่ดินของโจทก์มาเพื่อสร้างทางพิเศษ อาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพียงฉบับเดียว โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 ตกลงซื้อขายที่ดินส่วนที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ซึ่งไม่ใช่การตกลงซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดินที่จะต้องให้ได้มาเพื่อสร้างทางพิเศษตามสัญญาซื้อขายจึงเป็นที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่จะต้องเวนคืนทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาส่วนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นการประมาณการของจำเลย แต่เมื่อมีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่แน่นอนรวมกันแล้วเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นอีก 198 ตารางวา ให้แก่โจทก์ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 198 ตารางวา นี้รวมอยู่แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ครบ 120 วัน จากวันที่ทำสัญญาซื้อขายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงชำระหนี้บางส่วน ฟ้องร้องบังคับคดีได้ และสิทธิการนำสืบพยานบุคคล
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่า 500 บาท ที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 500 บาท แม้ไม่มีเอกสารก็ฟ้องได้ หากมีข้อพิพาทเรื่องการชำระหนี้
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่า 500 บาท ที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว เข้ากรณีตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยชำระเงินตาม สัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกระบวนพิจารณา แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดเวลาให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลมิใช่เป็นการขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23อันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและจะต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้นศาลมีอำนาจโดยทั่วไปที่จะกำหนดระยะเวลาได้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้มีผลทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นหรือสิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมต้องสะดุดหยุดอยู่จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่นย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อนมิฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล การที่จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อนจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตามกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นฎีกาและมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงิน ค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในกำหนด 20 วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง เป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาล ที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร และการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยได้ แม้ว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา แต่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว มิได้ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นต้องสะดุดหยุดอยู่หรือทำให้สิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาต้องสะดุดหยุดอยู่ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลชั้นต้นกับจำเลย หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลฎีกาย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อน มิฉะนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อน จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาจะซื้อจะขาย และการพิพากษาข้ามขั้นตอน
โจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายการที่จำเลยขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ ย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยถูกต้อง จึงไม่เป็นเรื่องลาภมิควรได้และโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมและวรรคท้ายบัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้น หากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกร้องค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยขุดดินไปขายเป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้กลับสู่สภาพเดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้กลับมีสภาพเดิมก่อน แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลพิพากษาไปตามคำขอของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6152/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, ค่าเสียหาย, และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญา โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงจะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ วางเงินมัดจำไว้แล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ จำเลยไม่ไปรับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลือ ฟ้องโจทก์ชัดเจนอยู่แล้ว และที่โจทก์บรรยายว่า โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา หลังจากนั้นจำเลยขุดดินไปขายได้กำไรมากกว่าเงินมัดจำที่วางไว้เป็นสิบเท่านั้นเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่าเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะเหตุที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเกิดมีความเสียหายอย่างไรบ้าง ที่จำเลยจะต้องรับผิดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ระบุว่าจำเลยขุดดินไปตั้งแต่วันเดือนปีใด แต่ในคำฟ้องก็พอจะทราบได้ว่า การขุดดินไปขายจะต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวมีวันที่เดือนปีปรากฎชัดเจนอยู่ในคำฟ้องแล้วจำเลยย่อมสามารถเข้าใจได้ดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยทำให้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นหลุมขนาดใหญ่เพื่อโจทก์จะได้นำไปซื้อที่ดินมาถมให้คงสภาพเดิมอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายในการถมดินนั่นเอง
โจกท์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาและที่บรรยายฟ้องเรื่องจำเลยขุดดินไปขาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอะไรในการผิดสัญญา ไม่เป็นการบรรยายฟ้องขัดแย้งกัน ฟ้องโจทก์แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
กรณีตามฟ้องที่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำประโยชน์นับแต่วันทำสัญญา การขุดดินในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยย่อมมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เพราะเป็นการตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกันโดยถูกต้องมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะต้องอ้างกฎหมายได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะจึงตกอยู่ในบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2541 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีก ฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิม และการใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ โดยไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรก่อนจึงจะเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการถมดินให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพดังที่เป็นอยู่เดิม แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับให้จำเลยถมดินให้ที่ดินของโจทก์กลับมีสภาพเดิมก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เลือกที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายส่วนนี้เลยก็ย่อมทำได้เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการพิพากษาข้ามขั้นตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลสมควร การอ้างเหตุเดิมซ้ำๆ โดยไม่ปรับปรุงแก้ไข และไม่ให้ความสำคัญกับคำสั่งศาลถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลย
ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษา ศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษา เมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยในครั้งที่สองรวมแล้วเป็นเวลาถึง 86 วัน และ เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่สาม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเตือนทนายจำเลยในคำร้อง ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สามของทนายจำเลยแล้วว่าการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยอ้าง เหตุเดิมเป็นความเฉื่อยชาของจำเลย ไม่ยุติธรรมแก่ฝ่ายโจทก์ แต่ก็ยังให้โอกาสจำเลยอีกครั้ง ทนายจำเลยกลับมายื่น คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีกเป็นครั้งที่สี่อ้างเหตุเดิมอย่างลอย ๆ ทั้งฎีกาของจำเลยก็ยอมรับว่า การอ้างเหตุเดิม เพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากเป็นแบบพิมพ์ของพนักงานอัยการที่ใช้ร่างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ซึ่งในบางครั้งอาจมีข้อความที่คลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงไปเพราะความพลั้งเผลอในการตรวจสอบข้อความโดยไม่ได้อ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษอย่างไร เห็นได้ว่าฝ่ายจำเลยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ การที่จำเลยไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ เป็นเพราะความบกพร่องของฝ่ายจำเลย จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้หวงห้ามและมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การพิจารณาองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 วรรคสอง และมาตรา 73 วรรคสอง หมายความว่า ผู้กระทำความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยมิชอบและความผิดฐานมีไว้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตนั้นหากเป็นไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ไม่ว่าจำนวนมากน้อยเพียงใดก็มีความผิด หากเป็นไม้ประเภทอื่นจะมีความผิดต่อเมื่อทำไม้หรือมีไม้เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร
จำเลยมีไม้แดง ไม้รัง และไม้ประดู่ รวมไม้ทั้งหมด 284 ท่อน ซึ่งเกิน 20 ท่อน และรวมปริมาตรไม้ทั้งสิ้น 6.47 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกิน 4 ลูกบาศก์เมตร เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) และมาตรา 73 วรรคสอง (2) แล้ว
of 28