พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่ได้ลงมือเอง พฤติการณ์พร้อมร่วมกระทำความผิดถือเป็นตัวการ
ระหว่างที่คนร้ายหลายคนร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะที่เป็นการโทรมหญิง แม้จะไม่ได้ความว่าจำเลยได้ร่วมลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่การที่จำเลยเปลือยกายคุกเข่าข้างตัวผู้เสียหายในลักษณะพร้อมที่จะร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยนั้น ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงหนี้ไม่ใช่ประนีประนอมยอมความ สัญญาจำนองยังผูกพันทายาท
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับโจทก์ตามสัญญากู้และตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้เท่านั้น ไม่มีการตกลงเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ต้องการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กันและกำหนดหนี้ขึ้นใหม่ ตามความหมายของคำว่าประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จึงไม่ทำให้หนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจำนองที่ ว. ทำไว้กับโจทก์เป็นประกันการชำระเงินตามสัญญากู้เงินของจำเลยที่ 1 จึงมีผลผูกพันอยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงคนหางานไปทำงานต่างประเทศเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม ขึ้นอยู่กับเจตนาและลักษณะการกระทำ
การกระทำความผิดฐานหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งมิได้พิจารณาจากการที่จำเลยกับพวกจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตต่อเนื่องกันหรือไม่ซึ่งเป็นความผิดอีกส่วนหนึ่ง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2546 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางและสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ ม. ได้ จนผู้เสียหายทั้งสามหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากผู้เสียหายทั้งสาม เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ส่วนคดีก่อนโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนเมษายน 2545 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบแปดว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบแปดไปทำงานที่ประเทศ ม. ได้ จนผู้เสียหายทั้งสิบแปดหลงเชื่อ ยอมให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบแปด เหตุเกิดที่ตำบลจรัส ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีก่อนจึงมีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2545 และเดือนมกราคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกัน มีการดำเนินการและจ่ายเงินให้แก่จำเลยกับพวกเหมือนกัน แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีที่รอการลงโทษ: จำเลยปฏิเสธคำขอ ศาลต้องตรวจสอบอัตลักษณ์จำเลยก่อน
ศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้ตามฟ้องโจทก์จริง ต่อมาภายหลังจากจำเลยมีทนายความแล้ว จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งรวมถึงปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบและความไม่ปรากฏต่อศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ การที่ศาลชั้นต้นบวกโทษจำคุก 6 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย พิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยมิใช่คนร้าย ศาลอุทธรณ์ฟังตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเช่นกัน แต่จำเลยฎีกากลับอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่า จำเลยได้ฆ่าผู้ตายจริงเพราะจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินเกิน 10 แปลง ก่อให้เกิดภาระจำยอมตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แม้เจ้าของเดิมไม่ได้ขออนุญาต
ปัญหาว่าทางพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งสองไม่ได้บรรยายฟ้องมา โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1 บัญญัติว่า การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์... การที่ ด. จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3227 ออกเป็น 8 แปลง โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 23161, 23167 ขายให้ ม. มารดาจำเลย ที่ดินโฉนดเลขที่ 23162 ขายให้โจทก์ทั้งสอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 23163 ขายให้ ส. ที่ดินโฉนดเลขที่ 23165, 23166 ขายให้ พ. สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ด. เจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตน 26 ส่วน ใน 69 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 234,000 บาท ต่อมายินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของ ด. 13 ส่วน ใน 43 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 117,000 บาท หลังจากนั้น ด. และ ม. มารดาจำเลยได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ออกเป็น 3 แปลง ระบุชื่อ ม. มารดาจำเลยเป็นเจ้าของส่วนที่ดินคงเหลือของโฉนดเลขที่ 23168 ด. ได้ขายให้ ม. มารดาจำเลยอีกการที่ ด. ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและต่อมาได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นโฉนดที่ดิน 3 แปลง ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่า ด. จำหน่ายที่ดินทั้ง 3 แปลง ให้ ม. มารดาจำเลยทางอ้อมโดยมีค่าตอบแทนรวมเป็นที่ดินที่ ด. ได้แบ่งแยกและขายแก่บุคคลภายนอก 10 แปลง จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 เมื่อฟังได้ว่า ด. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง และได้มีการให้คำมั่นว่าจะจัดให้ทางพิพาทเป็นทั้งทางเดินและทางรถยนต์สำหรับเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย ตรงตามความหมายของการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินตามข้อ 30 วรรคหนึ่ง ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 จำเลยในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จะกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ การที่จำเลยยินยอมให้ผู้อื่นสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยต้องรื้อรั้วและทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในสภาพเดิม
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1 บัญญัติว่า การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์... การที่ ด. จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3227 ออกเป็น 8 แปลง โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 23161, 23167 ขายให้ ม. มารดาจำเลย ที่ดินโฉนดเลขที่ 23162 ขายให้โจทก์ทั้งสอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 23163 ขายให้ ส. ที่ดินโฉนดเลขที่ 23165, 23166 ขายให้ พ. สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ด. เจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตน 26 ส่วน ใน 69 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 234,000 บาท ต่อมายินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของ ด. 13 ส่วน ใน 43 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 117,000 บาท หลังจากนั้น ด. และ ม. มารดาจำเลยได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ออกเป็น 3 แปลง ระบุชื่อ ม. มารดาจำเลยเป็นเจ้าของส่วนที่ดินคงเหลือของโฉนดเลขที่ 23168 ด. ได้ขายให้ ม. มารดาจำเลยอีกการที่ ด. ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและต่อมาได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นโฉนดที่ดิน 3 แปลง ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่า ด. จำหน่ายที่ดินทั้ง 3 แปลง ให้ ม. มารดาจำเลยทางอ้อมโดยมีค่าตอบแทนรวมเป็นที่ดินที่ ด. ได้แบ่งแยกและขายแก่บุคคลภายนอก 10 แปลง จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 เมื่อฟังได้ว่า ด. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง และได้มีการให้คำมั่นว่าจะจัดให้ทางพิพาทเป็นทั้งทางเดินและทางรถยนต์สำหรับเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย ตรงตามความหมายของการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินตามข้อ 30 วรรคหนึ่ง ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 จำเลยในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จะกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ การที่จำเลยยินยอมให้ผู้อื่นสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยต้องรื้อรั้วและทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในสภาพเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำฟ้องในเนื้อที่ดินพิพาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เกินคำฟ้องเนื่องจากเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองในเนื้อที่ดินที่ฟ้องหรือไม่ แม้เป็นประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยและจำเลยร่วมจึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์โดยรับในอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทฟังเป็นยุติว่ามีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ จำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ จำเลยและจำเลยร่วมอุทธรณ์โดยรับในอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทฟังเป็นยุติว่ามีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ จำเลยร่วมให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังล้มละลาย: การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาหมดอายุ
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคสาม การที่ผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 กำหนดไว้ ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องไม่เกินในจำนวนเงินดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และหมดอายุการบังคับคดีตามคำพิพากษา ยังมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง
เมื่อผู้ร้องฟ้องต่อศาลแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมและบังคับจำนองจนศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ส่วนที่ว่าในขณะที่ผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดี ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 นั้น แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 110 วรรคสาม เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ สิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นหนี้ประธานนั้นเป็นอันสิ้นไป แต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี เช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องในจำนวนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังล้มละลาย: หมดอายุบังคับคดี แต่ยังมีสิทธิจำนอง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคสาม การที่ผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 กำหนดไว้ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้