พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมต่างกันในคดีอาญา: ลักทรัพย์และฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ของผู้ตายและร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนรวมมาในฟ้องข้อเดียวกัน เมื่อจำเลยลักโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ตายอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยกับพวกจึงร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนอันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ความผิดฐานลักทรัพย์และร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้ประหารชีวิตนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่งได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับโทษทางอาญาและการริบของกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธปืนจำคุก 6 เดือน ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวโดยการขู่เข็ญ จำคุก 15 วัน และริบอาวุธปืนของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับในความผิดแต่ละฐานกระทงละ 500 บาท โดยไม่ลงโทษจำคุกและไม่ริบอาวุธปืนของกลาง แม้กรณีเป็นการแก้ไขมาก โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7051/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนหลายประเภท: การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน
อาวุธปืนที่จำเลยทำกับอาวุธปืนและวัตถุต่างๆ ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีสภาพและลักษณะของการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ดังนี้ แม้จำเลยจะกระทำผิดทั้งสองฐานในเวลาเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน มิใช่กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องอาญา: เหตุอันควร, ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ, และการไม่หลงต่อสู้
คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนของคำขอท้ายฟ้อง โดยขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 34 (4), 157 โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาและคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามคำร้องแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กรณีจึงทำให้คดีเสร็จสำนวนไปจากศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 เช่นนี้ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดในคำฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมข้อความว่า ป.อ. มาตรา 300 ที่คำขอท้ายฟ้องนั้น จึงเป็นเพียงการเพิ่มเติมฐานความผิดเท่านั้นและจำเลยย่อมทราบข้อหาตามคำฟ้องดีอยู่แล้วจึงไม่ต้องมีการแจ้งข้อหาหรือสอบสวนเพิ่มเติมในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 อีก และไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันสมควรในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ทั้งได้ความด้วยว่าจำเลยให้การปฏิเสธลอยๆ โดยมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ต่อมาภายหลังจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติมฐานความผิดและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้นชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163, 164 แล้ว
โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดในคำฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมข้อความว่า ป.อ. มาตรา 300 ที่คำขอท้ายฟ้องนั้น จึงเป็นเพียงการเพิ่มเติมฐานความผิดเท่านั้นและจำเลยย่อมทราบข้อหาตามคำฟ้องดีอยู่แล้วจึงไม่ต้องมีการแจ้งข้อหาหรือสอบสวนเพิ่มเติมในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 อีก และไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย กรณีจึงมีเหตุอันสมควรในการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ทั้งได้ความด้วยว่าจำเลยให้การปฏิเสธลอยๆ โดยมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ ต่อมาภายหลังจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวเป็นเพียงการเพิ่มเติมฐานความผิดและจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 อนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้นชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163, 164 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อพบเห็นความผิดซึ่งหน้าจากการล่อซื้อ
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้ดำเนินการขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นก่อนเข้าตรวจค้นบ้านจำเลยก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนที่หน้าบ้านจำเลย และเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แอบซุ่มดูและเห็นเหตุการณ์การล่อซื้อดังกล่าว จึงเข้าตรวจค้นและจับกุมจำเลย เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดซึ่งหน้า และการตรวจค้นจับกุมได้กระทำต่อเนื่องกัน เจ้าพนักงานตำรวจจึงเข้าตรวจค้นบ้านจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนยื่นคำร้องต่อศาล
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนใดเห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ให้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคำคัดค้านแล้วให้สอบสวนและมีคำสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ให้ถอนการยึด ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้ทราบคำสั่งนั้น..." ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางโดยไม่ได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน การพิสูจน์ลายมือชื่อ และอายุความค้ำประกัน
หนี้เดิมระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นหนี้เงินกู้มีอายุความ 10 ปี ขณะที่ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันยินยอมรับสภาพหนี้นั้น ยังไม่หมดอายุความ ดังนั้น จะนำอายุความ 2 ปี เรื่องการรับสภาพความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดียาเสพติด: ข้อมูลผู้ร่วมกระทำผิดไม่ชัดเจน และผลกระทบพระราชบัญญัติล้างมลทิน
แม้จะได้ความตามสำเนาบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนแนบท้ายคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ว่า จำเลยได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนถึงพฤติการณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยก็ตาม ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นการให้ข้อมูลต่อพนักงานสอบสวนอันเป็นประโยชน์ต่อการจับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนมีการสอบสวนขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดอื่น โดยอาศัยข้อมูลของจำเลยแต่ประการใด ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้กระทำความผิดอื่นที่จำเลยกล่าวอ้างมีตัวตนจริงหรือไม่ กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย หากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพิกเฉยและดำเนินการบังคับคดีต่อ ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและอาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การยื่นคำแถลงขอให้งดการบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้กระทำ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งของดการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว แต่มีคำสั่งให้ยกคำแถลง แต่ไม่แจ้งเรื่องคำสั่งยกคำแถลงให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์ไม่ได้ไปดูแลการขายทอดตลาดตามกำหนดเดิม เจ้าพนักงานบังคับคดียังได้ขายทอดตลาดทรัพย์ให้ผู้ซื้อทรัพย์ไป เช่นนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ของดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (3) (เดิม) ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไปถือว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์เหตุแก้ข้อกฎหมายใหม่ การบังคับคดีล้มละลายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการบังคับคดี การรวบรวม หรือการจำหน่ายทรัพย์สินตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาดไว้ชั่งคราวจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติ มาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 63/2548 แล้วว่า บทบัญญัติมาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาโดยอ้างเหตุผลในข้อกฎหมายขึ้นมาใหม่ว่า ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยทั้งสิบกระทำความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ขอให้มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการบังคับคดี การรวบรวม หรือการจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบไว้จนกว่าคดีหลักจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28