พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในคดีอาญา: การตั้งทนายความโดยศาลเมื่อจำเลยไม่มีทนาย และผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณา
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 3,800 เม็ด น้ำหนัก 382.810 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ ได้ 28.483 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย กรณีจึงต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ที่ศาลต้องสอบถามด้วยว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ แต่คดีนี้ปรากฎตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ท้ายคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าศาลชั้นต้นสอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว แต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ดังนี้ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ แม้ต่อมาจำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา แต่ก็เป็นการแต่งทนายความเข้ามาในภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้ว ดังนั้น ขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ จำเลยยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนินคดี อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897-2898/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์: ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งและรับตัวผู้กระทำผิด
การขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 1 มาส่งยังสถานที่ลักทรัพย์ แล้วนัดหมายกำหนดเวลากันว่าจะขับรถจักรยานยนต์มารับกลับเมื่อใดนั้น ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนและขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในความผิดดังกล่าว ตามที่ได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากขังจำเลยต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจ และอำนาจศาลในการเรียกตัวจำเลยจากนายประกัน
พนักงานสอบสวนฝากขังจำเลยต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ซึ่งเป็นศาลที่ไม่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แต่เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้อนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังจำเลยได้และอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยถูกขังโดยหมายของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 87 และอยู่ในอำนาจศาลที่จะเรียกตัวจำเลยจากนายประกันได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 141 วรรคสี่ ที่ให้พนักงานอัยการมีหน้าที่จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมา เพราะไม่ใช่กรณีที่จับตัวจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อรวม 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันแม้จำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ให้แก่ผู้มีชื่อไปก่อน และยังคงมีเมทแอมเฟตามีนอีก 2 เม็ด เหลืออยู่ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่จำเลยก็ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อไปแล้วทั้งหมดในการจำหน่ายครั้งที่สอง โดยไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ในครอบครองของจำเลยอีกต่อไป การกระทำของจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในแต่ละกรรม ซึ่งความผิดแต่ละฐานดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ซึ่งคงลงโทษจำเลยได้รวม 2 กรรม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเมื่อมีคำสั่งรับอุทธรณ์คดีล้มละลาย และการจำหน่ายคดีซ้ำซ้อน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาคดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะทำคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว คำสั่งของศาลล้มละลายกลางจึงไม่ชอบให้เพิกถอนคำสั่งของศาลล้มละลายกลางดังกล่าว
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 3940/2549 ซึ่งศาลล้มละลายกลางในคดีดังกล่าวมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีนี้ กรณีต้องจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 3940/2549 ซึ่งศาลล้มละลายกลางในคดีดังกล่าวมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีนี้ กรณีต้องจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วมกัน การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดีกับจำเลยที่ 4 มีผลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ได้ จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลกระทบจากคำสั่งของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองนำที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้จนครบ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองนำที่ดินของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้จนครบ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน ศาลมีอำนาจบังคับคดีจากทรัพย์สินของลูกหนี้ทุกรายได้
โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นว่าตามหมายบังคับคดีโจทก์ไม่สามารถยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 หลังการขายทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่ มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมมีผลให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ได้ จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลกระทบจากคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอว่า ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมสามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอว่า ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้บังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสี่มิใช่เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของกฎหมายควบคุมเทปวิดีโอ: การลงโทษเฉพาะผู้ประกอบการ ไม่รวมลูกจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 4, 6, 34 และตาม ป.อ. มาตรา 287 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงจากจำเลยได้ความว่า จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างรับจ้างจำหน่ายจึงไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 ที่ประสงค์จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน ดังนี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลชั้นต้นสอบโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดียาเสพติด: โทรศัพท์, รถจักรยานยนต์ และเงินสดที่ได้จากการจำหน่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อจำหน่าย และรถจักรยานยนต์ 1 คัน ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้และมีไว้เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการติดต่อซื้อขายและนำเมทแอมเฟตามีนออกไปเพื่อจำหน่าย เป็นของกลาง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้และยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เงินสด 1,000 บาท ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้มาจากการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยทั้งสองได้มาโดยการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในคดีนี้ซึ่งจะทำให้ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) กรณีจึงไม่อาจริบเงินสดดังกล่าวได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เงินสด 1,000 บาท ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้มาจากการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยทั้งสองได้มาโดยการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในคดีนี้ซึ่งจะทำให้ศาลมีอำนาจสั่งริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (2) กรณีจึงไม่อาจริบเงินสดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำรับสารภาพของจำเลย และการริบของกลางที่ไม่ใช่เครื่องมือในการกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้าง หรือร่วมกันรับของโจรและจำเลยพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นบันทึกคำให้การของจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง และบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาต่อท้ายคำให้การของจำเลยว่าอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของศาล ซึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องและมีถ้อยคำที่เขียนด้วยปากกาตกเติมต่อจากข้อความดังกล่าวว่าในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง เมื่อพิจารณาแล้วพอแปลความหมายคำรับสารภาพของจำเลยได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกลักทรัพย์นายจ้างหรือร่วมกันรับของโจร การที่ศาลชั้นต้นเขียนถ้อยคำเพิ่มเติมต่อท้ายว่า ในข้อหาลักทรัพย์นายจ้าง ก็เพื่อเป็นการระบุให้แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาใดระหว่างความผิดในสองข้อหาดังกล่าว กรณีจึงพอถือได้ว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพข้อหาร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง และพาอาวุธมีดไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งก็ตรงกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนด้วย ทั้งการแปลความหมายเช่นนี้ ย่อมเป็นการตีความตรงตามเจตนาที่แท้จริงของจำเลยและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระเป๋าของกลางในการปิดบังซุกซ่อนทรัพย์ที่คนร้ายลักมาเท่านั้น จำเลยมิได้ใช้กระเป๋าเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่ากระเป๋าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบมานั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระเป๋าของกลางในการปิดบังซุกซ่อนทรัพย์ที่คนร้ายลักมาเท่านั้น จำเลยมิได้ใช้กระเป๋าเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่ากระเป๋าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบมานั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225