พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญา: สิทธิการเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตป่าตามฟ้องมาด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการขอให้ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดอันถือได้ว่าเป็นคำขออุปกรณ์ คดีนี้จึงเป็นคดีความอาญา ซึ่งวิธีพิจารณาคดีจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งหากมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีอาญานั้นมีได้เฉพาะดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และมาตรา 31 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและกรณีพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว การขอเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่อาจจะมีได้ ทั้งการอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ตามที่ผู้ร้องฎีกาก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติกรณีเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แล้ว ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) มีเพียงสองฝ่าย คือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ดังนั้น แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีและมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย ผู้ร้องก็ไม่อาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7632/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับป่าไม้: สิทธิการเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญาถูกจำกัดเฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตป่าตามฟ้องมาด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นการขอให้ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดอันถือได้ว่าเป็นคำขออุปกรณ์ คดีนี้จึงเป็นคดีความอาญา ซึ่งวิธีพิจารณาคดีจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งหากมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดวิธีพิจารณาคดีไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับเรื่องการขอเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีอาญานั้น มีได้เฉพาะดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และมาตรา 31 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและกรณีพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีดังกล่าวแล้ว การขอเข้าเป็นคู่ความในคดีไม่อาจจะมีได้ ทั้งการอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติกรณีเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 30 และมาตรา 31 แล้ว ประกอบกับการเป็นคู่ความในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (15) มีเพียงสองฝ่าย คือโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีคู่ความฝ่ายที่สาม ดังนั้น แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีและมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลย ผู้ร้องก็ไม่อาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม, ความผิดหลายกระทง, เจตนาเฉพาะเจาะจง, การปรับบทอาญา
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตาย ย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.อ.มาตรา288, 80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่า ในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตาย กระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกัน และกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน
เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้อง แต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา
จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่า ในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตาย กระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกัน และกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน
เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่าผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้อง แต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกระทงจากเหตุการณ์เดียวกัน: การพิจารณาโทษจำเลยในคดีฆ่าและพยายามฆ่า
โจทก์ร่วมมิได้เป็นผู้เสียหายในส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายย่อมหมายความว่าให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานฆ่าผู้ตายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย พนักงานอัยการโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายรวม 4 นัดก่อน แล้วจึงยิงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจำนวน 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหาย แสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการยิงของจำเลยแยกออกจากกันได้ว่า กระสุนนัดใดจำเลยจะยิงผู้ตายกระสุนนัดใดจะยิงผู้เสียหาย เมื่อจำเลยมีเจตนาเฉพาะเจาะจงลงมือกระทำผิดต่อผู้ตายกับผู้เสียหายโดยแยกออกจากกันและกระสุนปืนที่จำเลยยิงนั้นถูกผู้ตายจนถึงแก่ความตายและถูกผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำผิดหลายกระทงต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อจำเลยต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนากับพยายามฆ่า ผู้เสียหาย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลย มีความผิดเพียงกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทให้ถูกต้องแต่ศาลฎีกาไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องโจทก์ร่วมในคดีอาญา: จำกัดเฉพาะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30, 31 เท่านั้น
การร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีได้เฉพาะในกรณีตามป.วิ.อ.มาตรา30,31เท่านั้นการที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมมิได้เพราะไม่ต้องด้วยมาตรา30,31ดังกล่าวทั้งจะอาศัยป.วิ.พ.มาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยมาบังคับใช้โดยอนุโลมตามป.วิ.อ.มาตรา15ก็ไม่ได้ ปัญหาใดควรจะนำเข้าสู่การวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือไม่ย่อมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยตรงคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้น มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31 เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้ว การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วม ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา 30 และ 31 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30และ31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นนอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้วผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา30และ31แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีสิทธิโดยกฎหมายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30,31ได้บัญญัติเกี่ยวกับ การร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการและกรณีที่พนักงานอัยการร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ผู้เสียหายสำหรับคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นส่วนกรณีที่ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายด้วยกันมิได้มีกฎหมายบัญญัติ ให้อำนาจไว้สิทธิการ ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญานอกจากสองกรณี ดังกล่าวนี้แล้วย่อมไม่อาจมีได้ดังนั้นในคดีอาญาที่ผู้เสียหายคนหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนแล้ว ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไม่อาจยื่นคำร้องขอ เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ที่ 2ที่3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และจำหน่ายคดี ต่อมาได้
ปัญหาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เป็นปัญหาที่เกี่ยว ด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบโจทก์ที่ 2ที่3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และจำหน่ายคดี ต่อมาได้
ปัญหาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เป็นปัญหาที่เกี่ยว ด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องมีสิทธิโดยกฎหมายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา30, 31 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และกรณีที่พนักงานอัยการร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ ผู้เสียหายสำหรับคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายด้วยกัน มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ สิทธิการขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา นอกจากสองกรณีดังกล่าวนี้แล้วย่อมไม่อาจมีได้ดังนั้น ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายคนหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนแล้ว ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งไม่อาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีต่อมาได้
ปัญหาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เข้าเป็นโจทก์ร่วมแล้ว แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับโจทก์ในคดีนี้คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีต่อมาได้
ปัญหาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646-1649/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ: คดีอาญาที่ผู้เสียหายฟ้องแล้ว พนักงานอัยการยังฟ้องซ้ำได้
แม้ผู้เสียหายจะได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาไว้สำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจของพนักงานอัยการมิให้ฟ้องจำเลยนั้นในเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่อีกสำนวนหนึ่ง