คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นพวรรณ อินทรัมพรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. ใหม่ และกำหนดระยะเวลาชำระเงิน
หลังจาก พ.ร.ฎ. ปี 2537 สิ้นสุดลง รัฐได้ออก พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ในปี 2542 ซึ่งฝ่ายจำเลยดำเนินการเวนคืนที่ดินและกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอาศัย พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ การคำนวณดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากฟ้องเกินกว่าที่อุทธรณ์ไว้ไม่มีสิทธิ
บทบัญญัติมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นการกำหนดขั้นตอนในการตรวจสอบการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้ประชาชนที่ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเป็นธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันราคาลดลงและค่าเช่าอาคารที่ลดลง ซึ่งเกินไปจากวงเงินที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาก่อนแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมอาคารส่วนที่เหลืออันราคาลดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีชายคาล้ำที่ดิน vs. ฟ้องขับไล่ทั้งแปลง ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างบ้านโดยมีชายคาและเสาค้ำชายคาล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทนี้ จำเลยให้การตอนแรกมีใจความสรุปว่า ที่ดินของจำเลยทางด้านทิศตะวันตกไม่ได้ติดกับที่ดินของโจทก์แต่ติดถนนสาธารณะ และให้การต่อมาว่าโจทก์ได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่ชอบไม่ทราบว่าขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในที่ดินพิพาทได้อย่างไรเนื่องจากเป็นถนนสาธารณะ จำเลยสร้างบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่ามีชายคารุกล้ำมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน สิทธิของจำเลยดีกว่าโจทก์ ขอให้ยกฟ้องจึงเท่ากับเป็นการอ้างว่าที่ดินตามฟ้องเป็นถนนสาธารณะ และจำเลยมีสิทธิในที่ดินในส่วนที่รุกล้ำดีกว่าโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลมีคำวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าชายคาบ้านดังกล่าวอยู่ในที่ดินตามฟ้องแต่อยู่ในที่ดินของจำเลยเองและพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามจำเลยคัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งแปลง จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5226/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินกรณีสายส่งไฟฟ้า: การชดเชยค่าทดแทนและขอบเขตอำนาจตามกฎหมาย
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 28 ให้อำนาจจำเลยที่ 1 ที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใดๆ ซึ่งมิใช่เคหสถานเป็นการชั่วคราวเพื่อสร้างระบบไฟฟ้า และมาตรา 29 ให้อำนาจจำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้าใต้ เหนือ ตาม หรือข้ามพื้นดินของบุคคลใด ปักหรือตั้งเสาลงในหรือบนพื้นดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่เป็นที่ตั้งโรงเรือน ทั้งนี้ให้จำเลยที่ 1 แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องทราบ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 เดินสายส่งไฟฟ้าผ่านเหนือที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์และปักเสาไฟฟ้าลงในที่ดินดังกล่าวโดยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ครอบครองทราบแล้ว เป็นการกระทำภายใต้กรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ และถึงแม้ว่าโจทก์จะคัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน การรับสารภาพไม่ชอบ ศาลยกฟ้องได้ แม้จำเลยไม่ยกข้อต่อสู้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาและภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 คือวันที่ 6 ธันวาคม 2547 ถึงวันเวลาในฟ้องข้อ 2 คือวันที่ 6 ธันวาคม 2548 อันเป็นวันที่จำเลยถูกจับกุมได้พร้อมทรัพย์ของกลางที่ถูกคนร้ายลักไป จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 1 มิถุนายน 2548 จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยอาจกระทำความผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้อง เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ถูกต้อง การที่จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดฐานรับของโจร จึงเป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างแบบปรับราคาได้ และสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยค่างาน (ค่าเค) ที่เกิดจากการปรับราคา
โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้างตามสัญญารับจ้างก่อสร้างซึ่งเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยระบุว่ามีการโอนสิทธิการรับเงินตามจำนวนที่ผู้โอนสิทธิจะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 28,000,000 บาท ซึ่งเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ ซึ่งหมายความว่าสัญญาดังกล่าวอาจมีการพิจารณาเงินเพิ่มหรือลดราคาค่างานจากราคาที่ผู้รับจ้างทำสัญญาตกลงกับผู้ว่าจ้างได้ เงินที่ได้เพิ่มหรือลดลงจากราคาค่างานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของสัญญาจ้างที่กำหนดให้ถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ แม้โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จะไม่ได้กำหนดสิทธิเรียกร้องในเงินส่วนนี้ไว้อย่างชัดเจนในบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิฯ ก็ต้องถือว่าสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) ดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งถือเป็นเงินเพิ่มที่โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ประสงค์จะโอนให้แก่กันด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอายัดเงินซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการใช้สิทธิก่อสร้างสะพานลอยสร้างความเสียหายต่อเจ้าของทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม ร่วมกันกำหนดจุดก่อสร้างสะพานลอยพิพาท เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วม อันเป็นการใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติหรือเหตุอันควร อันเป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4857/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการก่อสร้างสะพานลอยปิดบังอาคารพาณิชย์ สร้างเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าสาธารณะ
การก่อสร้างสะพานลอยพิพาทริเริ่มขึ้นเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมโดยตรงเพราะในขณะนั้นมิได้เป็นจุดที่มีประชาชนเดินข้ามถนนเป็นจำนวนมากแต่อย่างใด ลำพังการคาดการณ์ว่าเมื่อสร้างสะพานลอยพิพาทแล้วย่อมต้องมีประชาชนใช้ประโยชน์เป็นจำนวนยังไม่พอฟังว่าการสร้างสะพานลอยพิพาทเป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์โดยแท้จริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วมร่วมกันกำหนดจุดก่อสร้างสะพานลอยพิพาทเพื่อประโยชนในทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมอันเป็นการใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติหรือเหตุอันควร อันเป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิที่ดิน: ผู้ซื้อต้องฟ้องภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายที่ดินเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากนั้นจึงปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน จึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม มาตรา 481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องคดีรอนสิทธิที่ดิน: ฟ้องเกิน 3 เดือนนับจากวันที่ยอมคืนที่ดินให้บุคคลภายนอก คดีขาดอายุความ
การซื้อขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญาแล้ว หลังจากนั้นปรากฏว่าที่ดินที่ซื้อขายและส่งมอบกันแล้วเป็นของบุคคลภายนอกบางส่วน กรณีจึงเป็นเรื่องการรอนสิทธิที่ผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อโจทก์ยอมคืนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกจึงต้องฟ้องคดีภายในสามเดือนนับแต่วันที่ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 481 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า วันที่โจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องคือกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2545 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 12 กรกฎาคม 2545 จึงเกินสามเดือน ถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ
of 29