คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นพวรรณ อินทรัมพรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำเลยอายุไม่เกิน 18 ปีในคดีพยายามฆ่า: การปรับโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และ 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ประกอบ ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม แล้ว คงจำคุก 25 ปี อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกและอบรม ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีผู้ซึ่งกระทำผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้กระทำผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุก 50 ปี ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวางโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งโดยประกอบ ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม คงจำคุก 25 ปี นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ จะทำให้จำเลยซึ่งมีอายุเกินสิบแปดปีไม่ได้รับประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 18 วรรคสาม และจะทำให้เด็กได้รับโทษเท่ากับผู้ใหญ่ จึงให้เปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นห้าสิบปีเสียก่อน แล้วจึงนำ ป.อ. มาตรา 80 ซึ่งให้ระวางโทษสองในสามของโทษห้าสิบปีมาปรับ หลังจากนั้นจึงลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ประกอบมาตรา 18 วรรคสาม ดังนั้น จึงคงจำคุกเพียง 16 ปี 8 เดือน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมฉ้อฉล สัญญาเช่ายังมีผลผูกพัน แม้มีการร้องทุกข์อาญา
ขณะทำสัญญาซื้อขายสินค้าและสัญญาเช่า โจทก์ไม่ทราบว่าสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เหตุแห่งการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดของโจทก์จึงเกิดจากการฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 และที่ 3 อันเป็นผลทำให้นิติกรรมการซื้อขายและการทำสัญญาเช่าตกเป็นโมฆียะ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นคู่กรณีที่เป็นฝ่ายฉ้อฉลโจทก์ย่อมมีความผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจนกว่าจะมีการบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น และการบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นนิติกรรมระงับสิทธิจึงต้องมีการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง การที่โจทก์ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ถือเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม เพราะการร้องทุกข์ไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าสินค้าตามสัญญาเช่าดังกล่าว จึงถือว่าเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ซึ่งบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีสัญญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว ห้ามศาลชั้นต้นวินิจฉัยซ้ำ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในประเด็นอำนาจฟ้องจึงถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยซ้ำอีกไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์มิได้ถูกโต้แย้งสิทธิตามสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาเช่นเดียวกับที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั่นเองจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายล้วน หากมีข้อเท็จจริงปะปน ศาลฎีกาไม่รับ
อุทธรณ์ที่มีทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริง มิใช่อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่อาจขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์การเวนคืนตามกฎหมายอื่นควบคู่กัน เพื่อให้เป็นธรรม
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ที่มุ่งประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์หรือผู้ทรงสิทธิอื่น แต่มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้ดังเช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 อย่างเป็นธรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณที่กฎหมายสันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย แม้ไม่พบเงินจากการขาย
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวน 20 เม็ด รวมน้ำหนัก 1.720 กรัม เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กเกิดนอกสมรส ต้องมีหลักฐานการสมรส, จดทะเบียน หรือคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติไว้ว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร การที่จำเลยให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรเกิดจากบิดามารดาไม่ได้สมรสกัน ต้องมีการสมรส จดทะเบียน หรือคำพิพากษา
ป.พ.พ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนี้ พฤติการณ์รับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร เช่น การให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรจึงไม่ใช่เหตุที่กฎหมายรับรองทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วม (ผู้เสียหาย) ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสาม โดยโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่คัดค้าน แสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องเนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมเช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้พิทักษ์มีอำนาจกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องมีเหตุการณ์เฉพาะเกิดขึ้นแล้วจึงจะพิจารณาได้
คำร้องขอที่ให้ศาลมีคำสั่งว่า จ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องจะมีคำขอมาด้วยกันเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ได้ด้วยตนเองไม่ได้ เนื่องจากคำร้องขอของผู้ร้องเป็นแต่เพียงการขอล่วงหน้าโดยยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ตามที่ขอเกิดขึ้นจริง จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะให้ศาลนำมาพิจารณาวินิจฉัยเพื่อใช้ดุลพินิจได้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำขอส่วนนี้ของผู้ร้อง
of 29