คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นพวรรณ อินทรัมพรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20111-20112/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์เกิน 30 สมาชิก และความผิดร่วมของนายวงแชร์กับผู้ช่วยจัดการ
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้... (2) มีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่าสามสิบคน" จึงเห็นได้ว่าจำนวนสมาชิกที่เล่นแชร์นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นการเล่นแชร์วงเดียวกันเท่านั้น แต่อาจเป็นการเล่นแชร์คนละวงกันหรือหลายวงต่างกันได้ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าในการเป็นนายวงแชร์หรือเล่นแชร์นั้นมีสมาชิกวงแชร์ทุกวงจำนวนรวมกันมากกว่า 30 คน เมื่อตามฎีกาของจำเลยที่ 1 รับว่า แชร์วงใหญ่ประกอบด้วยวงแชร์ 2 วง จำนวนสมาชิกวงละ 29 คน จึงมีจำนวนรวมกัน 58 คน เป็นจำนวนมากกว่า 30 คน และแชร์วงเล็กมีจำนวนวงละ 27 คน จึงมีจำนวน 54 คน อันเป็นจำนวนมากกว่า 30 คนเช่นกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถใกล้คนร้ายหลังทำร้ายผู้เสียหาย ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วม
แม้ความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายกับความผิดฐานร่วมกันทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ จะต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนความผิดสองฐานนี้ โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์จากผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และศาลอุทธรณ์รับพิจารณาพิพากษาต่อมาอันเป็นการไม่ชอบก็ตาม แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว โดยเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้ายในคดีนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงความผิดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าตามมาตรา 1516(4/2) ต้องเป็นการแยกกันอยู่โดยมีเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
พฤติการณ์ที่จะเข้าเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) นั้น นอกจากสามีภริยาต้องสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน 3 ปี แล้ว ยังต้องเป็นการแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติด้วย
โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อความตกลงประนีประนอมยอมความกันว่า ไม่ประสงค์จะร่วมชีวิตฉันสามีภริยากันอีกต่อไปจนถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกิน 3 ปี แล้ว แต่เหตุที่โจทก์จำเลยไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกตินั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่นำสืบถึงเหตุทะเลาะ แต่โจทก์กลับรับว่า จำเลยไม่เคยประพฤติเสียหายหรือประพฤติชั่วอันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ทางนำสืบของจำเลยซึ่งอ้างว่าโจทก์ติดพันหญิงอื่นมีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ จึงรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินกับจำเลยและไปจากภูมิลำเนาเสียเอง ทั้งที่จำเลยยังเต็มใจที่จะเป็นคู่สมรสของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ชอบด้วยเหตุใด ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แม้ข้อความในบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความว่า โจทก์จำเลยไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากันอีกต่อไป แต่ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นเพียงว่า โจทก์เท่านั้นที่สมัครใจแยกไปฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่โจทก์และจำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข จึงไม่เข้าเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4/2) ไม่ว่ามีการแยกกันอยู่นานเท่าใดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18079/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญาและการเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากรับของโจรเป็นยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์มรดก ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอก แต่ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานรับของโจร เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และแม้ว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่ามีความผิดฐานรับของโจร แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 วางแผนโอนหุ้นของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ความผิดเกิดขึ้นเมื่อมีการโอนหุ้น การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร แต่เป็นความผิดฐานร่วมยักยอกตามฟ้อง ฉะนั้น คดีส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงขาดอายุความแล้วเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16251/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วม vs ผู้สนับสนุน: เจตนาในการร่วมกระทำความผิดค้ายาเสพติด
การที่จำเลยติดต่อกับสายลับเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมาตั้งแต่ต้นโดยเป็นผู้พา ร. กับ ล. ไปเจรจาซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับเจ้าพนักงานตำรวจที่สถานีบริการน้ำมันและอยู่ด้วยโดยตลอด เมื่อตกลงซื้อขายกันแล้วจำเลยยังนั่งรถจักรยานยนต์ออกไปกับ ร. ตลอดจนยังชี้จุดส่งมอบยาเสพติดให้ผู้ล่อซื้อทราบ แสดงว่า จำเลยมีเจตนาร่วมกับ ร. กับ ล. มาตั้งแต่ต้น โดยมีลักษณะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้การกระทำความผิดทั้งหมดสำเร็จลุล่วงไป แม้จำเลยไม่ได้ร่วมต่อรองราคาด้วยหรือเป็นผู้นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งมอบแก่เจ้าพนักงานผู้ล่อซื้อโดยตรง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15033/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินคุ้มครองการครอบครองที่ดิน แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดที่พิพาท โจทก์จดทะเบียนให้ ส. และ บ. เป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินใน ที่ดินพิพาทตลอดชีวิต ส. และ บ. ย่อมมีสิทธิครอบครอง ใช้และถือเอาประโยชน์แห่งที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1417 วรรคหนึ่ง ในระหว่างที่สิทธิเก็บกินยังไม่สิ้นไป เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงหามีสิทธิเช่นว่านั้นด้วยไม่ การบอกเลิกสัญญาเช่าหรือการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทจึงเป็นอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน แม้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14297/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นเจตนาจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เข้าใจผิด
การที่จำเลยซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายเดิม ซึ่งต่อมาเมื่อมีการแก้ไขโดย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 อันเป็นเวลาที่จำเลยได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ได้เทียบตำแหน่งกรรมการบริหารเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยปิดประกาศโฆษณาว่าเคยดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอันเป็นความเชื่อของจำเลยโดยสุจริตว่าตำแหน่งเทียบเท่ากันได้ และจำเลยมีสิทธิจะใช้ชื่อตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ และการที่จำเลยได้รับการเลือกตั้งโดยมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 1 น่าจะเกิดจากผลงาน ชื่อเสียงในการทำงานทางการเมืองในครั้งก่อน ๆ เชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำการอันเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในเรื่องประสบการณ์การทำงานของจำเลยแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากินร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่เป็นสินสมรส
เงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก่อนที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและบ้าน ที่ดินและบ้านที่ซื้อจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลย การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11700/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากไม่มีเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคหนึ่ง คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เมื่อโจทก์ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10733/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การหักชำระหนี้, จำนวนหนี้เกินฟ้อง, ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีนี้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยอื่นบางรายซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์จำนองได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยตามพ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะกู้ยืมเงิน ที่ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุในสัญญากู้เงินทั้งสามฉบับที่จำเลยที่ 1 กู้ยืม การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ในส่วนนี้ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงฝ่าฝืนข้อห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) และตกเป็นโมฆะ
อนึ่ง โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้เงินฉบับแรกลงวันที่ 16 สิงหาคม 2533 จำนวน 9,346,800.15 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินตามสัญญาฉบับนี้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท จึงเกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 โดยเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 29