พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงหางานต่างประเทศและได้ทรัพย์สิน ถือเป็นความผิดแม้ไม่มีการส่งคนไปทำงานจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี เมื่อผู้กระทำมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดแล้วไม่จำต้องมีการส่งคนหางานไปทำงานยังต่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกเจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีช่วยเหลือคนต่างด้าวและรับเข้าทำงาน
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยได้ให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวโดยให้เข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. อันเป็นการช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม และบรรยายฟ้องข้อ ข. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน โดยรับเข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย โดยโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการรับคนต่างด้าวนั้นให้เข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยเพียงประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่ตามฟ้องข้อ ก. กลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ช่วยคนต่างด้าวด้วยประการอื่น ๆ อีก นอกจากการรับเข้าทำงานโดยให้คนต่างด้าวนั้นเข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8348/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีเยาวชน ลดโทษ/เปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ยืน จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 กึ่งหนึ่ง จำคุก 8 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดสงขลา มีกำหนดจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ จึงเป็นกรณีศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 และมาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้ร่วมไล่แทงผู้ตายก็ดี คำเบิกความของพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือก็ดี กรณีมีเหตุลงโทษสถานเบา ลดโทษ รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ดี เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการลงโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนการให้โดยเสน่หาจากกรณีการประพฤติเนรคุณจากการใช้ถ้อยคำด่าทอ แม้ไม่สุภาพ แต่ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติห่าง ๆ ของโจทก์ทั้งห้า ได้รับการยกให้ที่ดินตามฟ้องจากโจทก์ทั้งห้าโดยเสน่หา ต่อมาโจทก์ทั้งห้าได้ไปต่อว่าจำเลยในเรื่องที่โจทก์ที่ 2 ถูกจำเลยกล่าวหาว่าย้ายหลักหมุดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย ทำให้จำเลยมีโทสะ ด่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า "อีพวกดอกทอง ไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู มึงออกไป ออกไปจากบ้านกู" นั้น เป็นถ้อยคำซึ่งโดยวิสัยชาวบ้านที่ใช้ด่ากัน ดังนี้ แม้ถ้อยคำเช่นนั้นจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้าอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้ที่ดิน: เหตุประพฤติเนรคุณจากการด่าทอ จำเลยไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทร้ายแรง
เหตุเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างกันทำให้จำเลยมีโทสะด่าว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ กับจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคายว่า "อีพวกดอกทองไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู พวกมึงก็ดอกทองเหมือนกัน" ซึ่งโดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้านเช่นนี้ใช่ด่าว่ากัน แม้ถ้อยคำจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้าอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้าเสียทีเดียว โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนแก้ชื่อกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินตามคำร้องขอ เป็นเพียงการวินิจฉัยรองรับสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมาเป็นชื่อของผู้ร้องตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิของผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธโดยอ้างเหตุผู้ร้องไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามมาตรา 103 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องโดยตรง ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องต้องนำคดีมาสู่ศาลเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานที่ดินมีเหตุตามกฎหมายในการไม่ยอมจดทะเบียนหรือไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาล ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรองรับให้กระทำได้จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องการจดทะเบียนที่ดินต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
แม้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำร้อง ก็เป็นเพียงการรับรองสิทธิในที่ดินแก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดมาเป็นชื่อผู้ร้อง ตามที่ ป. ที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธการใช้สิทธิของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าผู้ร้องไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน มาตรา 103 เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องพึงต้องนำคดีมาสู่ศาลในลักษณะของคดีมีข้อพิพาท การที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือเป็นการใช้สิทธิทางศาล ไม่มีกฎหมายรองรับให้กระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิม ช. ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 อันเป็นที่พิพาทคดีนี้ โดยโจทก์ให้การและนำสืบต่อสู้คดีว่า โจทก์และ พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้อง ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าที่ดิน 1 ไร่เศษ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทและเป็นของ ช. ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำพิพากษาคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และโจทก์คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า เจ้าหน้าที่ได้ออก น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ซึ่งมีชื่อจำเลยทั้งสองในทะเบียนที่ดินทับที่ดินของโจทก์และ พ. โดยจำเลยทั้งสองดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจาก ช. ทำให้โจทก์และกองมรดกของ พ. ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และมรดกของ พ. กับขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 จาก ช. และ ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ในคดีเดิม ดังนี้ เมื่อคดีมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาคดีเดิมผูกพันคู่ความในคดีใหม่ หากมีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของพันตรี พ. ผู้วายชนม์ ให้การกับนำสืบต่อสู้ในคดีเดิมที่ถูก ช. ฟ้องขับไล่ว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) และพันตรี พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้องในคดีนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช. ตามที่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้ คำพิพากษาในคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และจำเลย (โจทก์คดีนี้) ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของพันตรี พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของจำเลยในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้จาก ช. และพันตำรวจตรี ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ ฉะนั้น เมื่อคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่าที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับดคีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148