พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11711-11712/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าสินไหมทดแทนจากประกันชีวิตที่ได้จากเงินผิดกฎหมาย เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ต้องตกเป็นของแผ่นดิน
เงินเบี้ยประกันชีวิตที่ ม. ผู้เอาประกันภัยส่งแก่ผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 รับไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 4 โดยชอบแล้ว ผู้คัดค้านที่ 4 จึงไม่อาจยกเอาความสำคัญผิดแหล่งที่มาเกี่ยวกับเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับชำระจาก ม. มาเป็นข้ออ้างอันจะเป็นเหตุให้สัญญาประกันชีวิตระหว่างผู้คัดค้านที่ 4 กับ ม. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156
เงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงินที่ ม. ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความหมายใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (เดิม) การนำเอาเงินไปชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นค่าเบี้ยประกันภัย แล้วได้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาทมา เงินดังกล่าวย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด โอนไปเป็นของบุคคลใด หรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาท จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตกเป็นของแผ่นดิน
แม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลเห็นสมควรมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
เงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงินที่ ม. ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความหมายใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (เดิม) การนำเอาเงินไปชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นค่าเบี้ยประกันภัย แล้วได้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาทมา เงินดังกล่าวย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด โอนไปเป็นของบุคคลใด หรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาท จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตกเป็นของแผ่นดิน
แม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลเห็นสมควรมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11107-11108/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์และเป็นซ่องโจร: ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 กับพวกร่วมกันวางแผนไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงมีความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 6 ไปชิงทรัพย์ของผู้เสียหายตามแผนที่ร่วมกันวางไว้ ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ แต่ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานชิงทรัพย์เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือ พวกจำเลยที่ 1 และที่ 6 กระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรเพื่อจะไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหาย จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะ อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 6 ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรด้วย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11069/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องผ่อนชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 โจทก์จะขอบังคับคดีได้หลังวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 ไปแล้ว กำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ย่อมเริ่มนับแต่วันที่โจทก์อาจขอดำเนินการบังคับคดีได้ คือวันที่ 1 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 แม้ปรากฏว่า จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เป็นผลให้แตกต่างไปจากคำพิพากษาตามยอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงนอกศาลของคู่ความในชั้นบังคับคดีไม่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาและกำหนดเวลาของการบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้งกำหนดเวลาของการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ไม่ใช่อายุความ ดังนี้การที่โจทก์ไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 จึงไม่ทำให้กำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดลงหรือขยายออกไปได้อีก โจทก์มีสิทธิบังคับคดีสำหรับหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังค้างของ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายในกำหนด 10 ปี คือภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ จ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยทั้งสองและ ส. ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10109/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลชั้นต้นในการกำหนดเงินรางวัลทนายความตามกฎหมายและระเบียบ โดยศาลชั้นอื่นไม่มีอำนาจก้าวล่วง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลจ่ายเงินรางวัลแก่ทนายความที่ศาลตั้ง ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดและระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 และข้อ 6 ซึ่งเป็นระเบียบที่ใช้แก่คดีนี้ กำหนดให้ศาลชั้นต้นเป็นผู้กำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ โดยพิจารณาตามความยากง่ายของลักษณะคดี กับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้นๆ แล้วกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรว่าจะให้อัตราขั้นต่ำหรือขั้นสูง หรือระหว่างขั้นต่ำขั้นสูง ตามตารางและอัตราขึ้นต่ำขั้นสูงท้ายระเบียบโดยให้สั่งจ่ายเงินรางวัลเมื่อทนายความได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นแล้วหรือเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ในกรณีที่มีการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ให้ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินรางวัลเพิ่มเติมให้ทนายความได้ตามที่เห็นสมควร ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าระเบียบดังกล่าวกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นที่จะกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ในศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา ไม่ได้กำหนดให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีหน้าที่กำหนดเงินรางวัลทนายความแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจกำหนดเงินรางวัลทนายความของศาลชั้นต้นแก่ผู้ร้องต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงตามที่กฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวกำหนด อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายหรือระเบียบแล้ว ศาลชั้นอุทธรณ์ย่อมไม่อาจก้าวล่วงไปกำหนดเงินรางวัลทนายความให้แก่ผู้ร้องเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9782/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายยางแผ่นดิบ รมควัน และการชำระหนี้ดอกเบี้ย ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความขัดแย้งของคำให้การ และการคิดดอกเบี้ย
คำให้การของจำเลยทั้งสอง ข้อ 1.1 จำเลยที่ 1 ให้การว่า ได้รมควันแผ่นยางดิบที่ได้รับจากโจทก์ และส่งมอบแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างรมควันยางแผ่นดิบให้แก่โจทก์และส่งมอบแผ่นยางดิบรมควันคืนแก่โจทก์ตามสัญญาครบถ้วนแล้วส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสอง ข้อ 1.2 จำเลยที่ 1 ปฏิเสธว่า ไม่เคยได้รับมอบยางแผ่นดิบจากโจทก์ เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยได้รับมอบยางแผ่นดินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนยางแผ่นดิบจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวมิได้กล่าวถึงยางจำนวนเดียวกัน จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น โดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หาขัดแย้งกันไม่
โจทก์ซื้อยางแผ่นดิบตามฟ้องจากพ่อค้าหรือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเงินไปซื้อยางแผ่นดิบในราคาสูงเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรแล้วนำไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 รมควันแล้วนำไปขาย โจทก์จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการขายยางแผ่นดิบรมควันก็ขึ้นอยู่กับราคายางพารารมควันในท้องตลาดในขณะที่โจทก์นำไปขาย ดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระแก่ธนาคารเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปจากการดำเนินการเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรเท่านั้น หาได้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามที่โจทก์ฎีกา ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายสืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบยางแผ่นรมควันแก่โจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำยางแผ่นรมควันไปขายจนได้กำไรตามจำนวนที่ขอ หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนแผ่นยางดิบแก่โจทก์ได้ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากราคายางแผ่นดิบที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนแก่โจทก์ได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 7 เท่านั้น
โจทก์ซื้อยางแผ่นดิบตามฟ้องจากพ่อค้าหรือเกษตรกรตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้โจทก์กู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเงินไปซื้อยางแผ่นดิบในราคาสูงเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรแล้วนำไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 รมควันแล้วนำไปขาย โจทก์จะได้กำไรหรือขาดทุนจากการขายยางแผ่นดิบรมควันก็ขึ้นอยู่กับราคายางพารารมควันในท้องตลาดในขณะที่โจทก์นำไปขาย ดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องชำระแก่ธนาคารเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปจากการดำเนินการเพื่อพยุงราคายางพาราแก่เกษตรกรเท่านั้น หาได้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามที่โจทก์ฎีกา ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายสืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบยางแผ่นรมควันแก่โจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำยางแผ่นรมควันไปขายจนได้กำไรตามจำนวนที่ขอ หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนแผ่นยางดิบแก่โจทก์ได้ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากราคายางแผ่นดิบที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนแก่โจทก์ได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 7 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9555/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีการกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: เฉพาะรัฐเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดี
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา โดยได้บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ รวมถึงการปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าว ดังนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมทั้งแปดไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9502/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนนำเข้ายาเสพติด ศาลลดโทษและเปลี่ยนโทษเป็นฝึกอบรมเยาวชน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 137 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิมได้เฉพาะกรณีที่คำพิพากษาคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว และระหว่างการฝึกอบรมตามคำพิพากษานั้นจำเลยมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป แต่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา แม้จำเลยจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไประหว่างการฝึกอบรม ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาโดยให้ปล่อยตัวจำเลยไป จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8764/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีชิงทรัพย์: พยานหลักฐานแน่นหนา, ความผิดซึ่งหน้า, การจับกุมโดยไม่หมายค้นชอบด้วยกฎหมาย
หลังเกิดเหตุผู้เสียหายแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันทีแล้วเจ้าพนักงานตำรวจได้ออกสกัดจับคนร้ายในเส้นทางที่คาดว่าคนร้ายจะใช้หลบหนี ก่อนจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจรับทราบข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรถจักยานยนต์ของคนร้ายและของผู้เสียหายจากผู้เสียหาย และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งออกมาสกัดจับคนร้ายที่พบรถจักรยานยนต์ต้องสงสัยทั้งสองคันตามที่ได้รับแจ้งในเวลาต่อเนื่องกัน และยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้วขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ชิงมาได้หลบหนีฝ่าด่านสกัดของเจ้าพนักงานตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมยังติดตามต่อเนื่องจนกระทั่งพบเห็นจำเลยที่ 1 วิ่งหลบหนีเข้าไปในบ้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามพฤติการณ์แทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดมาแล้วสด ๆ อันถือได้ว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 (2) ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถกระทำการจับกุมจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 (1) และมาตรา 92 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8168/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม-การย้ายทาง-ขอบเขต-การพิพากษาเกินคำขอ-ศาลอุทธรณ์แก้ไขได้-ปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 บริเวณที่เป็นทางคอนกรีตเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี 2516 ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 มาโดยตลอดจำเลยทั้งสี่กับพวกมาซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 หลังจากโจทก์กับบริวารใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว นับแต่วันที่โจทก์ใช้ทางในที่ดินนี้จนกระทั่งจำเลยทั้งสี่รับโอนที่ดินโฉนดดังกล่าว ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์โดยอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสี่กับพวกทุบทำลายทางคอนกรีตที่โจทก์ใช้เป็นทางพัฒนาที่ดินและแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแล้ว ทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินกว้าง 8 เมตร อันเป็นทางพิพาท โจทก์กับบริวารจึงย้ายมาใช้ทางพิพาท การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทุบทำลายทางคอนกรีตอันเป็นทางภาระจำยอมเดิมของโจทก์แล้วไปทำถนนบริเวณกึ่งกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 จึงเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์ให้ย้ายภาระจำยอมไปยังส่วนอื่น เพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์นั้น จำเลยทั้งสี่ประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับภาระะจำยอมเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ที่โจทก์มาใช้ทางพิพาทจึงไม่จำต้องนับอายุความกันใหม่
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ในเรื่องทางรถยนต์ด้วยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายภาระจำยอมเดิมมาเป็นทางพิพาทที่มีสภาพเป็นถนน สำหรับรถยนต์แล่นเข้าออก และโจทก์ก็เบิกความยืนยันว่า เมื่อจำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำเลยเดิมมาเป็นทางใหม่ โจทก์และบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าออกทางพิพาท ฟังได้ว่า ทางดังกล่าวตกอยู่ภาระจำยอมทางรถยนต์ด้วย
โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสี่ย้ายทางภาระจำยอมไปยังทางที่พิพาท อันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่จำเลยทั้งสี่ จนทำให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ทั้งแปลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ทางภาระจำยอมแล้วพิพากษาให้โจทก์ได้ภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 7995 ซึ่งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1392 ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งทางที่พิพาทคงเป็นเพียงทางภาระจำยอม มีผู้ได้ภาระจำยอมในทางที่พิพาทเพียงไม่กี่รายเท่านั้น การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทอาจไม่ได้รับความสะดวกบ้างแต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความไม่สงบในสังคม ปัญหาดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาในปัญหาดังกล่าวมา จึงเป็นการพิพากษาในสิ่งใดๆ นอกเหนือจากคำฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7002/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเพื่อเอาผิดทายาททรัพย์มรดก ศาลฎีกายืนโทษฐานใช้เอกสารปลอม
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบต่อสู้ว่ามารดาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยและ ล. ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม จำเลยสำคัญผิดไปว่าเป็นเอกสารที่มีอยู่จริง ทำให้จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอมหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยกลับไม่อ้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นพยานเพื่อให้ศาลเชื่อว่ามีสภาพเก่าและได้มีการทำขึ้นมานานแล้ว จำเลยเพิ่งอ้างส่งมาพร้อมฎีกาหลังจากมีกรณีพิพาทถึง 3 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นการจงใจที่จะไม่อ้างต้นฉบับสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานมาแต่ต้นซึ่งทำให้โจทก์เสียโอกาสในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร จึงไม่อาจรับฟังต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานหลักฐานได้
1/1
ปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอมหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แต่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยกลับไม่อ้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นพยานเพื่อให้ศาลเชื่อว่ามีสภาพเก่าและได้มีการทำขึ้นมานานแล้ว จำเลยเพิ่งอ้างส่งมาพร้อมฎีกาหลังจากมีกรณีพิพาทถึง 3 ปีเศษ ถือได้ว่าเป็นการจงใจที่จะไม่อ้างต้นฉบับสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานมาแต่ต้นซึ่งทำให้โจทก์เสียโอกาสในการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร จึงไม่อาจรับฟังต้นฉบับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นพยานหลักฐานได้
1/1