พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากคำบอกเล่าชู้: การกระทำความผิดอาญาจากการข่มเหงจิตใจ
เหตุบันดาลโทสะอาจเกิดเพราะคำบอกเล่าได้ ไม่จำเป็นต้องประสบเหตุการณ์ด้วยตนเอง วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 บอกจำเลยที่ 1 ว่าผู้ตายซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 มีชู้โดยจำเลยที่ 2 เห็นผู้ตายกับชายชู้เข้าห้องและปิดประตูอยู่ด้วยกัน มีลักษณะว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจิตใจจำเลยที่ 1 อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายทันทีที่ได้รับคำบอกเล่าจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเดียวกันในการทำร้าย – การฆ่าและพยายามฆ่าถือเป็นกรรมเดียว
จำเลยกับพวกไล่ตีและใช้มีดแทงผู้ตายก่อนที่จะมาตีและใช้มีดแทงทำร้ายผู้เสียหาย เป็นการทำร้ายใครก่อนหลังตามธรรมดา โดยจำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเพิ่มขึ้นจากเจตนาทำร้ายผู้ตายอีกคนหนึ่งในภายหลัง การกระทำของจำเลยกับพวกจึงมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียวกันเพียงแต่มีการกระทำหลายหนต่อบุคคลหลายคน การฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6292/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนและอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว ศาลแบ่งทรัพย์สินเป็นสามส่วน
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ในเวลาห่างกันเพียง 20 วัน และอยู่กินฉันสามีภริยาทั้งกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ในลักษณะเป็นครอบครัวเดียวกันมานานถึงประมาณ 20 ปี โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ ทรัพย์สินตามคำฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นสินสมรสนั้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาดังกล่าวโดยไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของคนละเท่าใด กรณีต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 จึงต้องแบ่งทรัพย์เป็นสามส่วนเท่าๆ กัน และมีสิทธิคนละหนึ่งส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5262/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องโต้แย้งเหตุผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากคัดลอกอุทธรณ์มาทั้งหมดถือว่าไม่รับฎีกา
ฎีกาของจำเลยคัดลอกอุทธรณ์แบบคำต่อคำ เว้นแต่การแก้ไขชื่อของศาลเพื่อให้ตรงตามความจริง จึงมิใช่เป็นฎีกาที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่มีเหตุแห่งคำวินิจฉัยแตกต่างจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ควรวินิจฉัยอย่างไรจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับขั้นตอนพิจารณาคดีอาญา: ศาลต้องพิจารณาแก้ฟ้องก่อนตัดสินว่าฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องโดยอาศัย ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคแรก ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ก่อนว่ามีเหตุอันควรอนุญาตหรือไม่ แล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่ศาลชั้นต้นกลับวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิด จำเลยไม่อาจต่อสู้คดีได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์เสียก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในคดีนี้ได้โดยไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาครั้งที่ 2/2554)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาครั้งที่ 2/2554)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฟ้องเท็จ: กรณีตัวการร่วมและอำนาจของกรรมการในการดำเนินคดีแทนสมาคม
แม้จำเลยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบสองร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลว่า เอาความอันเป็นเท็จฟ้องจำเลยต่อศาล แต่ความจริงเป็นกรณีที่สมาคม ย. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทั้งสิบสองกระทำการในฐานะกรรมการอำนวยการซึ่งเป็นผู้แทนของสมาคมที่เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของสมาคม ย. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 และ 86 ประกอบกับธรรมนูญและข้อบังคับของสมาคมกำหนดให้คณะกรรมการอำนวยการของสมาคม ทำหน้าที่บริหารงานของสมาคม ทั้งในขณะที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทำหนังสือมอบให้โจทก์ที่ 12 ฟ้องจำเลยดังกล่าว โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งนายกสมาคม ย. โดยคณะกรรมการอำนวยการมีมติให้โจทก์ที่ 1 มีอำนาจในการสั่งการและลงนามในเอกสารใดๆ เสมือนเป็นนายกสมาคมทุกประการ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองเป็นตัวการร่วมกับสมาคม ย. ฟ้องจำเลยด้วย จำเลยจึงมีอำนาจฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองเป็นคดีอาญาดังกล่าวได้ ที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองเป็นคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบโรงงานและปิดโรงงาน รวมถึงค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไข หรือปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ในการนี้หากเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรพนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้ผู้นั้นส่งออกไปซึ่งวัตถุอันตรายนั้น เพื่อคืนให้แก่ผู้ผลิตหรือผู้จัดส่งวัตถุอันตรายนั้นมาให้ หรือเพื่อการอื่นตามความเหมาะสมก็ได้ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด..." เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไข หรือปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างอื่นตามความเหมาะสมได้ แต่ก็ต้องเป็นการกระทำเพียงเพื่อประโยชน์ในการเข้าตรวจสอบสถานที่ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย การตรวจ ค้น กัก ยึดหรือตรวจสอบวัตถุอันตรายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 มาตรา 54 (1) (2) (3) มิได้ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองใส่กุญแจปิดโรงงานของโจทก์ได้ แม้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองจะได้กระทำการดังกล่าวโดยมีเจตนาเพื่อปกป้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณะแต่บทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเจ้าของทรัพย์สิน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด กรณีจึงไม่อาจนำคำว่า "ระงับ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ซึ่งมีความหมายว่า "ยับยั้งไว้, ทำให้สงบ" มาขยายความให้หมายความรวมถึงการใส่กุญแจปิดโรงงานดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองใส่กุญแจปิดโรงงานของโจทก์จึงเป็นการกระทำเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ vs. เช็คค้ำประกัน: การพิสูจน์เจตนาออกเช็คและการรับผิดทางอาญา
ข้อความด้านหลังเช็คที่ระบุว่า "เช็คฉบับนี้ให้ไว้เพื่อประกันหนี้" ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเขียนข้อความขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วย ทั้งเป็นข้อความที่ไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงินบัญญัติให้เขียนลงได้ในตั๋วเงิน การเขียนข้อความเช่นนี้ย่อมไม่มีผลใดๆ แก่ตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 899 การที่พนักงานของโจทก์ไม่นำมาเป็นเหตุโต้แย้งย่อมไม่เป็นพิรุธ เพราะข้อความดังกล่าวไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของเช็คพิพาทแต่ประการใด โจทก์ไม่จำต้องทำตามข้อห้ามที่ด้านหลังเช็คพิพาท ประกอบกับไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองจะใช้หนี้โจทก์ด้วยวิธีใดอีก และจะใช้หนี้ให้เสร็จเมื่อใด ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยวัตถุประสงค์เพื่อประกันหนี้ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมโนสาเร่: คดีผิดสัญญาหมั้นทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท
ป.วิ.พ. มาตรา 189 บัญญัติว่า คดีมโนสาเร่ คือ (ง) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท และมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติว่า ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเท่ากับจำนวนค่าขึ้นศาลที่เรียกเก็บในคดีที่มาคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 1 (2) (ก) ต่อท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) กำหนดว่า "คดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาทให้เรียกเรื่องละสองร้อยบาท" ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้น ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันคืนสินสอดและชดใช้ค่าเสียหาย รวมเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท ดังนี้ เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท ย่อมเป็นคดีมโนสาเร่และเสียค่าขึ้นศาลเพียงสองร้อยบาท ตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์ชำระค่าขึ้นศาล 200 บาท จึงถูกต้องตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้ก็ต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด และสิทธิของคู่สัญญาในการซื้อขายเมื่อสินค้าส่งมอบล่าช้า
สติกเกอร์พีวีซีใสกาวพิเศษที่ซื้อจากโจทก์เมื่อจำเลยนำไปผลิตชิ้นงานแล้วปรากฎว่าลอกแผ่นสติกเกอร์ไม่ออกเพราะเหตุกาวเหนียวเกินไป แม้โจทก์ใช้มือแกะสามารถลอกสติกเกอร์ออกได้ แต่ในการใช้งานของบริษัท ด. ต้องใช้เครื่องจักรเป็นตัวลอกสติกเกอร์ให้ติดกับกล่องนม เมื่อเครื่องจักรไม่สามารถลอกสติกเกอร์ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยผลิตสติกเกอร์ไม่ดีหรือบริษัท ด. ติดตั้งเครื่องจักรไม่ได้มาตรฐาน จึงฟังได้ว่า สินค้าสติกเกอร์พีวีซีใสกาวพิเศษของโจทก์ชำรุดบกพร่องในลักษณะกาวเหนียวเกินไป เป็นเหตุให้เมื่อจำเลยนำไปใช้แล้วไม่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งใช้เป็นปกติ โจทก์ในฐานะผู้ขายสินค้าต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 วรรคแรก
ใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อทางโทรสารไปยังโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อสติกเกอร์ 15 ม้วน โดยให้ส่งภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2544 และยังมีคำสั่งว่า "อีก 67 ม้วนใหญ่ให้ส่งเดือนมกราคม 2545 แต่ยังไม่ต้องผลิตจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง" เห็นได้ว่าจำเลยสั่งซื้อสติกเกอร์จากโจทก์ 82 ม้วน โดยให้ส่งก่อน 15 ม้วน ส่วนที่เหลืออีก 67 ม้วน ให้โจทก์จัดเตรียมเพื่อที่จะส่งมอบให้ตามที่แจ้งต่อไป จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทสติกเกอร์จากโจทก์มานานหลายปีโดยไม่มีปัญหา ดังนั้น ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายโดยสภาพหรือโดยเจตนาของคู่สัญญา ย่อมไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากใบสั่งซื้อและพฤติการณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดให้ชัดแจ้งและยืนยันให้เด็ดขาดว่า หากโจทก์ไม่ส่งสินค้าให้จำเลยภายในกำหนดให้ถือว่าใบสั่งซื้อดังกล่าวเป็นอันยกเลิกทันที ฉะนั้นการที่จำเลยจะใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยบอกปัดไม่ยอมรับสินค้าจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติเช่นนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญาโดยบอกปัดไม่ยอมรับสินค้าและชำระราคาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนเวลาบังคับไว้แต่อย่างใด
ใบสั่งซื้อสินค้าที่จำเลยเป็นผู้สั่งซื้อทางโทรสารไปยังโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อสติกเกอร์ 15 ม้วน โดยให้ส่งภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2544 และยังมีคำสั่งว่า "อีก 67 ม้วนใหญ่ให้ส่งเดือนมกราคม 2545 แต่ยังไม่ต้องผลิตจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง" เห็นได้ว่าจำเลยสั่งซื้อสติกเกอร์จากโจทก์ 82 ม้วน โดยให้ส่งก่อน 15 ม้วน ส่วนที่เหลืออีก 67 ม้วน ให้โจทก์จัดเตรียมเพื่อที่จะส่งมอบให้ตามที่แจ้งต่อไป จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทสติกเกอร์จากโจทก์มานานหลายปีโดยไม่มีปัญหา ดังนั้น ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายโดยสภาพหรือโดยเจตนาของคู่สัญญา ย่อมไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากใบสั่งซื้อและพฤติการณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดให้ชัดแจ้งและยืนยันให้เด็ดขาดว่า หากโจทก์ไม่ส่งสินค้าให้จำเลยภายในกำหนดให้ถือว่าใบสั่งซื้อดังกล่าวเป็นอันยกเลิกทันที ฉะนั้นการที่จำเลยจะใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยบอกปัดไม่ยอมรับสินค้าจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติเช่นนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญาโดยบอกปัดไม่ยอมรับสินค้าและชำระราคาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนเวลาบังคับไว้แต่อย่างใด