คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นพวรรณ อินทรัมพรรย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11718/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินป่าสงวน การปฏิรูปที่ดิน และคุณสมบัติเกษตรกรผู้มีสิทธิ
ค. เริ่มครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2500 ภายหลังวันที่ ป. ที่ดิน ใช้บังคับ ค. และจำเลยจึงไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามมาตรา 4 แห่ง ป.ที่ดิน แม้ ค. จะได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนวันที่ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 621ฯ แต่สิทธิในที่ดินพิพาทที่ ค. มีอยู่นั้นมิใช่สิทธิตาม ป.ที่ดิน โดยที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินของรัฐอยู่ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ค. ก็มีแต่เพียงสิทธิในการยื่นคำร้องต่อนายอำเภอเมืองภูเก็ตเพื่อส่งต่อไปยังคณะกรรมการสำหรับป่าสงวนแห่งชาติพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้ตามความในมาตรา 12 และมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เท่านั้น และเมื่อ ค. โดยจำเลยผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายจึงมีผลให้ถือว่าจำเลยสละสิทธิหรือประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดตามกฎหมาย ดังนั้น ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิดอันเป็นที่ดินของรัฐซึ่งโจทก์มีอำนาจปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมโดยไม่ต้องจัดซื้อหรือเวนคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518
บทนิยามตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 เกษตรกร หมายความว่าผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักประเภทหนึ่ง กับบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกร ซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอีกประเภทหนึ่งทั้ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลเชิงทะเล ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง ตำบลกมลา ตำบลกะทู้ ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ และตำบลเกาะแก้ว ตำบลรัษฎา ตำบลวิชิต ตำบลกะรน ตำบลฉลอง ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินฯ และระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งหมายให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน แต่ในขณะที่จำเลยยื่นคำขอและคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยมีที่ดินเป็นของตนรวม 12 แปลง มีเนื้อที่รวม 314 ไร่เศษ จำเลยจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เพราะมิใช่ผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมตามเจตนารมณ์ในการตราและประกาศใช้ พ.ร.ฎ.และระเบียบฉบับดังกล่าว
คดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความ 2,000 บาท แทนโจทก์ จึงเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1,500 บาท ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11714/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน – สิทธิเรียกร้องคืนเงิน – อายุความ – การชำระหนี้โดยสุจริต – การใช้สิทธิเรียกร้อง
ตามสัญญาค้ำประกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 จำเลยที่ 2 จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากจำเลยที่ 3 ส่วนตามสัญญาค้ำประกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. นั้น ม. จะต้องรับผิดชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 เรียกร้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 2 จำต้องรับผิดชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามกำหนดเวลาซึ่งจำเลยที่ 2 หักเงินจากบัญชีเงินฝากจำเลย 1,249,000 บาท นำไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 และคดีที่จำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย ศาลมีวินิจฉัยถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใดๆ จากจำเลยที่ 3 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 1 ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไปโดยสุจริตและปราศจากความประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ ม. รับผิดชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันสำหรับเงินที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 2 ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ การที่จำเลยที่ 2 ละเลยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเช่นว่านั้นย่อมเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 เอง จะยกเอามาเป็นข้ออ้างเพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้องคืนเงินให้แก่ ม. หรือแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. มิได้ เมื่อ ม. หรือโจทก์มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ได้ เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ชำระจะเรียกร้องเอาได้
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดในฐานละเมิด แต่มิได้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ ม. รู้ถึงการละเมิด คดีในส่วนจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ โดยมิได้กล่าวในอุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ประเด็นนี้ของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้วและถือว่าประเด็นเรื่องอายุความตามฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11713/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทร้างขาดอำนาจฟ้องคดี แม้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระบัญชี การมอบอำนาจฟ้องต้องเป็นของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1246 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนทะเบียนบริษัทร้างยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้บทบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่ได้ขีดชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา บริษัทโจทก์จึงเป็นอันเลิกกัน ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ย่อมสิ้นไปโดยผลของกฎหมายก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยโจทก์ ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่กลับจดชื่อโจทก์ให้คืนเข้าสู่สถานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สามารถมอบอำนาจให้ ย. อดีตกรรมการของโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ แม้มาตรา 1249 จะบัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีก็ตาม ก็เป็นการตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี และการแก้ต่างว่าต่างในนามของโจทก์ย่อมเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1259 (1) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11712/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาขาดอายุ การตรวจสอบวันยื่นฎีกาเป็นหน้าที่ทนาย การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในคำขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 มีตรายางประทับข้อความว่าถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุกๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยทนายผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาและคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 ยื่นฎีกาภายหลังสิ้นระยะเวลายื่นฎีกาโดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย เป็นการไม่ชอบฎีกาของผู้คัดค้านที่ 6 ถึงที่ 8 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11229/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การรับโอนสิทธิเรียกร้องหลังคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลพิจารณาได้หากมีพยานหลักฐานใหม่แสดงอำนาจมอบอำนาจ
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะว่า ม. ไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลผู้มีชื่อลงนามในสัญญาขายทรัพย์สิน จึงเป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาลอันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ การที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11229/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การวินิจฉัยอำนาจฟ้องยังไม่ถึงประเด็นข้อพิพาท, โจทก์มีพยานหลักฐานใหม่แสดงอำนาจมอบอำนาจ
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 13509/2545 ของศาลชั้นต้นโดยเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามเช็คทั้งเจ็ดฉบับ ซึ่งโจทก์อ้างว่ารับโอนหนี้มาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศ. โดยอาศัยสัญญาขายระหว่างองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกับโจทก์ และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องและโจทก์ไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาคดีเดิมที่ยกฟ้องโจทก์เป็นเพียงการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น จึงเป็นการยกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาล อันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ ที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11229/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกชำระหนี้ตามเช็ค แม้คำพิพากษาเดิมยกฟ้องเรื่องอำนาจฟ้อง แต่ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นหนี้จริง
คดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อประเภทขายลดเช็คกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 นำเช็คมาขายลดตามสัญญา กับจำเลยที่ 1 นำเช็คมาขายลดให้แก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ศรีนคร จำกัด โดยจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งจำเลยทั้งสามจะต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาดังกล่าวหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกับที่พิพาทกันในคดีนี้ ส่วนการที่โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวมาโดยชอบหรือไม่นั้น เป็นข้อที่จะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า ม. ไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลผู้มีชื่อลงนามในสัญญาขายทรัพย์สิน จึงเป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาลอันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ ที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10385/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษและระยะเวลาฝึกอบรมเยาวชนในคดีอาญา: อำนาจศาลในการแก้ไขโทษและปรับบทกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมโดยกำหนดระยะเวลาให้อบรมในเวลาขั้นต่ำไม่น้อยกว่ากี่ปี และขั้นสูงไม่เกินกว่ากี่ปีนับแต่วันพิพากษานั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาตามที่ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) ประกอบมาตรา 143 ให้อำนาจไว้เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงความประพฤติของจำเลย แต่การจะส่งจำเลยไปจำคุกหลังจากอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 142 วรรคท้าย มิใช่เป็นกำหนดระยะเวลาของการฝึกอบรม จึงกำหนดระยะเวลาเป็นขั้นต่ำและขั้นสูงอย่างเดียวกับการฝึกอบรมไม่ได้ เพราะจะเป็นการกำหนดเวลาที่ไม่ชัดเจนแน่นอน เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
การที่จำเลยแก้ฎีกาขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบา หากมีโทษจำคุกก็ขอให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอให้ศาลฎีกาแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจะขอมาในรูปของคำแก้ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10272/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง แม้มีการแยกฟ้องเนื่องจากจับกุมผู้ต้องหาต่างเวลา
ศาลชั้นต้นให้สืบพยานผู้เสียหาย และ ว. ไว้ก่อนในคดีหมายเลขแดงที่ 895/2546 ของศาลชั้นต้นที่พวกของจำเลยซึ่งร่วมกระทำความผิดกับจำเลยในคดีนี้ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 คดีนี้และคดีดังกล่าวจึงเป็นคดีเดียวกัน ศาลจึงรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหาย และ ว. ในการพิจารณาคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9957/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ฎีกาของผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างปัญหาเรื่องการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษของผู้คัดค้านว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้อย่างไรเท่านั้น ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ชอบอย่างไร พร้อมทั้งเหตุซึ่งเป็นข้ออ้างที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าว ฎีกาของผู้คัดค้านจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 29