คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อโดยมิชอบ และการดำเนินการเรื่องคู่ความหลังมรณะไม่ถูกต้อง
โจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย โดยจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์และไม่ปรากฏว่าได้คัดค้านคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาดังกล่าว แล้วต่อมา ย. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ กรณีจึงย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ของ ย. ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ ย. เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้นั้น จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษา 2 คน ได้ทำการพิจารณาและพิพากษายกฟ้องตามคำพิพากษา ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2545 ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในขณะนั้นเป็นผู้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา และนัดฟังคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในวันที่ 10 มิถุนายน 2548 แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 มิถุนายน 2548 นั้น มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลและผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา โดยผู้พิพากษาคนดังกล่าวไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนี้และมิใช่บุคคลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29(3) ที่จะมีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาหลังจากได้ตรวจสำนวนคดีนี้แล้วได้ ทั้งคดีนี้มิใช่เป็นกรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 มิถุนายน 2548 จึงเป็นคำพิพากษาที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อพิพาทโต้แย้งกันว่า จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์หยุดทำกิจการทำไม้ป่าชายเลนที่ได้รับสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนเอกสารหมาย จ.4 เป็นการชั่วคราวอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนกับโจทก์หรือไม่ และจะต้องจ่ายเงินชดเชยความเสียหายกับคืนเงินประกันในการที่จะต้องชำระเบี้ยปรับตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด อันเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสำนวนตามที่คู่ความทั้งสองฝ่ายนำสืบแล้วทำคำพิพากษาใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 โดยมิได้มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยซ้ำอีกแล้วสรุปว่าโจทก์ไม่อาจเรียกเงินค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินวางประกันความเสียหายตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน เนื่องจากขณะฟ้อง สัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันจนสิ้นอายุสัมปทานตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งใหม่ที่ทบทวนมติเดิมตามเอกสาร หมาย จ.35 เป็นทำนองว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั่นเอง ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ มีเจตนาใช้รถเพื่อหลบหนีและพาทรัพย์สินไป กระทบความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม
จำเลยเดินไปหยิบเอาเงินเหรียญกษาปณ์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่ได้พูดหรือทำกิริยาอาการอย่างใดที่ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากจำเลยหยิบเอาเงินเหรียญกษาปณ์ของผู้เสียหายแล้วได้วิ่งหนีไปนั่งรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่งจอดอยู่หน้าร้านค้าที่เกิดเหตุเพื่อหลบหนีและผู้เสียหายวิ่งตามไปทันขณะจำเลยนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์ดังกล่าว แล้วจำเลยถูกผู้เสียหายกระชากคอเสื้อและบิดกุญแจรถดับเครื่องยนต์เพื่อแย่งเอาเงินคืน จำเลยได้เตะผู้เสียหาย 1 ครั้ง การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต การที่จำเลยเตะผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายตามไปแย่งเอาเงินคืนนั้นจึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายขัดขวางการหลบหนีเพื่อให้พ้นจากการจับกุมและเพื่อการพาทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่เกิดเหตุแล้วก่อเหตุทั้งเมื่อจำเลยได้ทรัพย์ของผู้เสียหายไปแล้วจำเลยก็วิ่งหนีไปนั่งรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่งจอดไว้หน้าร้านค้าที่เกิดเหตุและติดเครื่องยนต์แต่ผู้เสียหายวิ่งตามไปทันจึงกระชากคอเสื้อจำเลยแล้วบิดกุญแจรถดับเครื่องยนต์ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาจะใช้รถจักรยานยนต์มาที่เกิดเหตุแล้วก่อเหตุและใช้รถจักรยานยนต์พาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษและรอการลงโทษเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน แม้ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง โดยจำเลยไม่ได้ขอให้อนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิดและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้วการกระทำของจำเลยสร้างความเดือนร้อนแก่เจ้าของทรัพย์ กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี จำเลยจึงต้องระวางโทษหนักกว่าอีกกึ่งหนึ่งตาม มาตรา 340 ตรี เป็นระวางโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 7 ปี 6 เดือน ดังนั้น แม้วางโทษจำคุกขั้นต่ำแก่จำเลยและจำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วก็ยังคงต้องลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี 9 เดือน โทษจำคุกจึงเกิน 3 ปี ไม่อาจรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และผลของการยอมความ
คดีความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเมื่อใดก็ได้ โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและเจรจาทำความตกลงประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมมิได้มอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล ทนายโจทก์ร่วมก็มีอำนาจยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์ร่วม การที่ทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน จึงมีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่ยังไม่ได้ออกใบหุ้น ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง
หุ้นที่ยังไม่ได้ออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่เป็นหุ้นที่มีหลายเลขใบหุ้นแล้ว การซื้อหุ้นดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในฟ้องและการลงโทษตามประกาศกฎหมาย: จำเลยไม่อาจอ้างว่าไม่รู้กฎหมายได้
คำฟ้องบรรยายชัดแจ้งถึงประกาศกรมสรรพสามิตเรื่อง กำหนดราคายาสูบเพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าปรับ ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2542 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2544) พร้อมรายละเอียดของวันที่ได้ประกาศ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ทั้งกฎกระทรวงดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกฎกระทรวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องจึงเป็นการเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทราบประกาศกรมสรรพสามิตและกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามประกาศกรมสรรพสามิตและกฎกระทรวงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการก่อสร้าง - ผู้ว่าจ้างต้องร่วมรับผิดในความเสียหายจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ใกล้เคียง
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 แบ่งแยกความเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ที่ 1 ไว้เป็นสองส่วน ส่วนแรกได้แก่ค่าเสียหายทางด้านความเสียหายของทรัพย์สินซึ่งคือสิ่งปลูกสร้างอาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ที่ 1 ที่ได้รับความเสียหายตามข้อ 1 ซึ่งยังมิได้ประเมินกันให้ถูกต้องและจะดำเนินการสำรวจโดยสถาบันซึ่งทั้งสองฝ่ายยอมรับภายในเดือนตุลาคม 2537 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นและค่าใช้จ่ายในการสำรวจทั้งหมด ส่วนที่สองได้แก่ค่าสินไหมทดแทนความเดือนร้อนรำคาญทั้งความปลอดภัยเกี่ยวกับชีวิตและอนามัย ซึ่งความเสียหายส่วนหลังนี้จำเลยที่ 1 ได้ชำระแก่โจทก์ที่ 1 ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เกิดข้อพิพาทจนถึงเดือนธันวาคม 2537 แล้วเป็นเงิน 500,000 บาท แต่หากการก่อสร้างในส่วนโครงสร้างของอาคารไม่เสร็จภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็จะยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 อีกเดือนละ 35,000 บาท นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2538 เป็นต้นไป มิได้คำนวณรวมกัน โจทก์ที่ 1 จึงยังคงมีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายทางด้านทรัพย์สินซึ่งตามบันทึกข้อตกลงข้อ 1 ที่โจทก์ที่ 1 มิได้รับชดใช้
บันทึกข้อตกลงข้อ 1. มีข้อความระบุว่า ความเสียหายจากการก่อสร้างอาคารที่มีผลทำให้อาคารทาวน์เฮาว์เสียหายจะดำเนินการสำรวจโดยสถาบันซึ่งทั้งสองฝ่ายยอมรับภายในเดือนตุลาคม 2537 ไม่มีการตกลงว่าจะต้องชดใช้เงินจำนวนเท่าใด คู่กรณีตกลงจะชำระเมื่อใด และที่ไหน อย่างไร ทั้งตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องรับผิดในมูลหนี้ละเมิดตามเดิม จึงไม่เป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 อันจะทำให้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้ละเมิดยังคงมีอยู่ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ได้ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 ได้
ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยที่ 1 ต้องทำการก่อสร้างตามแบบแปลนและคำสั่งของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ 1 ที่เกิดขึ้นจากการทำการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในที่ชุมนุมชนซึ่งมีอาคารบ้านเรือนตลอดจนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตั้งอยู่ใกล้ชิดติดกันมาก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมรั้วสนามกอล์ฟโดยไม่ขออนุญาต ไม่ถือเป็นการละเมิด หากโครงสร้างมั่นคงและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยทำสนามกอล์ฟและก่อสร้างแผงตาข่ายไนล่อนสูง 30 เมตร โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อกันลูกกอล์ฟที่ถูกตีไม่ให้ออกนอกรั้วสนามตกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่ก็ไม่อาจกันลูกกอล์ฟกรณีนี้ได้ จำเลยจึงต่อแผงตาข่ายให้สูงขึ้นอีก 10 เมตร โดยไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่ามีลูกกอล์ฟตกเข้าไปในที่ดินโจทก์อีก และตาข่ายส่วนที่ต่อเติมเป็นไนล่อนมีลักษณะเบาสายลมสามารถพัดผ่านทะลุได้ ทั้งหากมีการล้มของรั้วตาข่ายที่ต่อเติมใหม่ก็จะหล่นเข้าสู่สนามกอล์ฟเพราะมีเชือกรั้งไว้ เช่นนี้ การต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต กับการที่การต่อเติมมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน เพราะหากการต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตแต่แข็งแรง ก็ไม่อาจก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นได้ แต่หากการต่อเติมได้รับอนุญาต แต่การกระทำไม่แข็งแรง ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้น การต่อเติมแผงตาข่ายให้สูงขึ้นอีก 10 เมตร โดยมิได้มีการอนุญาตต่อทางราชการ มิใช่ว่าจะต้องเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไปทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมรั้วสนามกอล์ฟโดยไม่ขออนุญาต ไม่ถือเป็นการละเมิด หากโครงสร้างมั่นคงแข็งแรงและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ตาข่ายป้องกันลูกกอล์ฟออกนอกรั้วสนามฝึกซ้อมกอล์ฟส่วนที่จำเลยต่อเติมเป็นไนล่อนซึ่งมีลักษณะเบา สายลมสามารถพัดผ่านทะลุได้ การที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต กับการที่การต่อเติมมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน ถ้าการต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาตแต่แข็งแรงก็ไม่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ หรือการต่อเติมได้รับอนุญาตแต่การกระทำไม่แข็งแรงก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ มิใช่ว่าหากต่อเติมแล้วมิได้มีการขออนุญาตต่อทางราชการแล้ว จะเป็นการกระทำละเมิดไปทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างทำของเพื่อกิจการของผู้อื่น: การดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างเพื่อกิจการของจำเลยมีอายุความ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ออกแบบตกแต่งและโฆษณาโครงการโฆษะ คอมเพล็กซ์ และโอเอซิส พลาสซ่าของจำเลย จำเลยให้การรับว่าได้ว่าจ้างโจทก์จริง ดังนั้น การดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างของโจทก์แม้จะปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์ได้กระทำเพื่อกิจการของจำเลย จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์-ยักยอก ข้อแตกต่างในรายละเอียดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ไม่ถึงขั้นให้ยกฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วม แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก แต่การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และยักยอกต่างเป็นการได้ทรัพย์ไปเช่นเดียวกันจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ทั้งข้อแตกต่างดังกล่าว ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดมิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกได้
of 30