คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องรุกล้ำที่ดินซ้ำกับคดีเดิมที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีนี้กล่าวอ้างว่าจำเลยสร้างรั้วไม้ไผ่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ทางด้านทิศเหนือ 7 ตารางวา แต่ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างรั้วไม้ไผ่รุกล้ำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยสร้างรั้วเข้าไปในที่ดินโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้สร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยสิ้นสุดเมื่อรื้อถอนโรงเรือน การปลูกสร้างใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิใหม่ เจ้าของที่ดินมีสิทธิขับไล่
แม้การอยู่อาศัยที่ ป. ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 จะเป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ปฏิบัติตามได้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1402 บัญญัติว่า "บุคคลใดรับสิทธิอาศัยในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า" และมาตรา 1408 บัญญัติว่า "เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลงผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเลขที่ 30 (เดิม) ซึ่งเป็นโรงเรือนได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโดยจำเลยทั้งสองเช่นนี้ สิทธิอาศัยที่ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ทำไว้กับ ป. ย่อมสิ้นลงจึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตามบทกฎหมายข้างต้น การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป. ถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่แต่อย่างใดไม่ และการที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ในที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอม บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) จึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน่ของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 30 (ใหม่) เช่นนี้พอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านเลขที่ 30 (ใหม่) ซึ่งเป็นโรงเรือนคงอยู่ตามมาตรา 1311

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยสิ้นสุดเมื่อโรงเรือนถูกรื้อถอน การปลูกสร้างใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ก่อให้เกิดสิทธิอาศัย ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องขับไล่
การอยู่อาศัยที่ ป.ได้ให้ไว้แก่ ฮ. และจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลสิทธิใช้ยันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ป.ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองรื้อบ้านซึ่งเป็นโรงเรือนไปแล้ว สิทธิอาศัยย่อมสิ้นลง จึงไม่มีโรงเรือนอันจะมีสิทธิอาศัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1402 และมาตรา 1408 การที่จำเลยทั้งสองปลูกบ้านขึ้นแทนภายหลังจากที่ ป.ถึงแก่ความตายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก็หาก่อให้เกิดสิทธิอาศัยขึ้นมาใหม่ไม่และเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินพิพาทตามมาตรา 144 ทั้งเป็นการปลูกโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามมาตรา 1311 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทและบ้านพอถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ประสงค์จะให้บ้านคงอยู่ตามมาตรา 1311 ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทและบ้าน โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชอบที่จัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันลักทรัพย์: พยานหลักฐานประกอบแวดล้อม คำเบิกความผู้เสียหาย และคำรับสารภาพผู้ร่วมกระทำความผิด เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรและยกฟ้องฐานลักทรัพย์ โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาฐานความผิดฐานใดฐานหนึ่งระหว่างฐานรับของโจรกับฐานลักทรัพย์ไปตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม เพียงแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่มีสิทธิที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมไปจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8772/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาฝากทรัพย์, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิเรียกร้องเงินฝาก, สัญญาเลิกกัน, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
แม้โจทก์จะฝากเงินไว้กับจำเลยเมื่อปี 2504 แต่จำเลยก็ไม่เคยบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ สัญญาฝากทรัพย์จึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากแล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่า ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชีจึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ไม่พบว่ามียอดเงินในบัญชีจึงเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ ต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ขอถอนเงินในระหว่างเดือนธันวาคม 2544 ถึงเดือนมกราคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 10 เมษายน 2545 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8425/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดิน พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ กำหนดตามความเป็นธรรม โดยเทียบเคียงหลักเกณฑ์ พ.ร.บ.เวนคืน
การจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดิน พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 บัญญัติไว้เพียงว่า ให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน
แต่มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้ในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ว่าให้กำหนดโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) แต่โดยที่ พ.ร.บ. ทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินเช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จะกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ก็ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าพื้นที่ติดกับอาคารพาณิชย์ต้องทำเป็นหนังสือตามกฎหมาย จึงมีผลบังคับใช้ได้
การที่โจทก์ทั้งสองยอมให้จำเลยทั้งสองได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่ด้านนอกบริเวณด้านข้างและด้านหน้าของอาคารพาณิชย์ของโจทก์ที่ 1 ในการติดป้ายโฆษณาสินค้าของจำเลยที่ 1 ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเป็นรายปี และจำเลยทั้งสองตกลงชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายปี ปีละ 80,000 บาท ถือว่าจำเลยทั้งสองจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการเช่าทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 537
เมื่ออาคารพาณิชย์ของโจทก์ที่ 1 เป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 และทรัพย์สินที่เช่าเป็นพื้นที่ด้านข้างและด้านหน้าของอาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผนังตึกติดตรึงตราโดยลักษณะถาวรกับอาคารพาณิชย์จึงเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งบัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
เมื่อข้อตกลงการเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าตามข้อตกลงการเช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6335/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีต่อศาล และอายุความค่าจ้างต่างจากเงินประกัน
การมีคู่สัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิคู่กรณีมิให้นำเสนอคดีต่อศาลเสียทีเดียว ดังนั้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ตกลงกันให้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดต่อศาลแล้ว หากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เมื่อจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องขอต่อศาล ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
เงินประกันผลงานที่จำเลยหักจากค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้โจทก์ในแต่ละงวดเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยในฐานะคู่สัญญาประสงค์จะใช้เป็นหลักประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างค้างชำระที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเสียภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6291/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมูลหนี้จากสัญญาจ้างทนายความ การกระทำละเมิด และการปลอมแปลงเอกสาร
มูลหนี้ที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์เกิดจากความเสียหายที่จำเลยรับเป็นทนายความว่าความให้โจทก์ ซึ่งถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยเป็นตัวแทน แล้วจำเลยไม่ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกหนี้เงินกู้จาก ป. แต่กลับปลอมสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยได้ฟ้อง ป. และ ป. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ทำการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงมิใช่กรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 420, 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5730/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตรวจสอบรัฐบาลและตั้งข้อสงสัยการกระทำของรัฐมนตรีได้ หากมีเหตุผลสมควร
ขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอก ช. นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ ใช้บังคับ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันในการอภิปรายของจำเลยที่ 1 มีกำหนดไว้ในมาตรา 131 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่าในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดี ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนนย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้ และวรรคสองของมาตรา 131 บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 อ้างว่าได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 157 ซึ่งประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 หลังจากที่จำเลยที่ 1 อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ ในขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายมาใช้บังคับ ไม่อาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาใช้บังคับย้อนหลังแก่กรณีของจำเลยที่ 1 ได้ และกรณีก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 131 ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 157 อันจะนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 157 มาใช้บังคับแก่กรณีของจำเลยที่ 1 แม้ระหว่างพิจารณาของศาลจะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ออกมาใช้บังคับแล้วก็ตาม คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายนั้น มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 131 ไม่คุ้มครองจำเลยที่ 1 หากการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่จำเลยที่ 1 อภิปรายมีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงโทรทัศน์ ถ้อยคำดังกล่าวในที่ประชุมของจำเลยที่ 1 ไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและมีลักษณะที่อาจเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับเอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 131 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 30