คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5686/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในคดีสัญญาแชร์ และการวินิจฉัยข้อตกลงการชดใช้เงินแทนสมาชิก
จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยมีปัญหาต้องวินิจฉัยก่อนว่า สัญญาแชร์ระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยมีข้อตกลงตามที่จำเลยกล่างอ้างหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต หากมีเหตุผลอันสมควร
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่ครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเงินก็ตาม แต่เหตุที่ไม่มีการหักเงินจากเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2540 เนื่องจากนาย ว. ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 และที่ 3 และขณะนั้นเป็นผู้จัดการธนาคารโจทก์ สาขาที่จำเลยทั้งสามทำสัญญากู้และค้ำประกัน ไม่ยอมดำเนินการ เพราะนาย ว. ไม่ต้องการให้จำเลยที่ 2 ซึ่งกำลังป่วยอยู่กระทบกระเทือนทางจิตใจ อันแสดงว่าเหตุที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เพิกเฉยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยมิได้ใช้สิทธิตามกฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่ฝ่ายจำเลยจะพึงได้รับ กรณีไม่อาจถือได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5491/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การของจำเลยทั้งสี่ข้อ ได้แก่ 1) ข้อที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเดิมเป็นว่า ลายมือชื่อโจทก์ผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม และตราประทับไม่ใช่ตราสำคัญของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ 2) ข้อที่เกี่ยวกับอาคารพิพาทที่อ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนและจำเลยมีสิทธิอยู่ได้ตลอดชีวิตเป็นว่า โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารที่จำเลยเช่า 3) ข้อที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและการบอกกล่าวของโจทก์ที่อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นว่า ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยยังคงครอบครองอาคารที่เช่าโดยโจทก์ไม่เคยทักท้วงจึงเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา การเลิกสัญญาเช่าจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 566 ก่อนฟ้องโจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาและหนังสือบอกกล่าวของโจทก์มิใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และ 4) ข้อที่เกี่ยวกับเหตุที่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมทั้งหมดเป็นว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยมิได้บรรยายว่าจำเลยเข้ามาอยู่บนที่ดินแปลงใดบ้านพิพาทตั้งอยู่บนถนนตรอกซอยอะไร ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ล้วนเป็นการยกข้อเท็จจริงและเหตุแห่งการปฏิเสธขึ้นใหม่เปลี่ยนแปลงข้อต่อสู้เดิมที่จำเลยได้ให้การไว้ตั้งแต่แรก รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นเคยมีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขตามคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลย ทั้งจำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ก่อนวันสืบพยาน มิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีไม่ต้องด้วยเหตุยกเว้นที่จำเลยอาจยื่นคำร้องได้ภายหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันสืบพยานแล้วจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากนี้ การที่จำเลยฎีกาในข้อ 3) และ ข้อ 4) ยังเป็นการยกข้อต่อสู้ตามคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขขึ้นกล่าวอ้างในฎีกา จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้และจำเลยฎีกาต่อมา ก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัดเป็นโมฆะ หากเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด สิทธิการเรียกร้องหนี้และการหักชำระหนี้
แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ในการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โจทก์จึงได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดมาใช้บังคับ กรณีของจำเลยอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อชฎาทองเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งโจทก์เรียกเก็บได้เพียงร้อยละ 13.75 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารโจทก์ข้อ 2.1.1 เท่านั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 2 นั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ระบุไว้ตอนท้ายของเอกสารต่างหาก และยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏว่าโจทก์ได้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งหลายอัตราตามตารางรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งโจทก์คิดจากจำเลยมีบางรายการในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีบ้าง ร้อยละ 19.50 ต่อปีบ้าง และร้อยละ 24 ต่อปีก็มี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีกต่างหาก จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์เอง อันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ดังนั้นเงินส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ทำให้โจทก์จำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยจะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แล้วโจทก์นำไปจัดการหักชำระหนี้ต่างๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเอง ประกอบกับโจทก์เป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนย่อมมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ฉะนั้นเมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วก็เท่ากับสัญญากู้ยืมเงินมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5142/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การรับรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
เมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้สอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหาผู้รับผิดในทางแพ่งจนทราบว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดในทางแพ่งและรายงานข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้น และในวันที่ 8 มกราคม 2544 ธ. ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่ 8 รักษาราชการแทนรองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทางหลวง ได้ลงนามในหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ ซึ่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ก่อให้เกิดเหตุละเมิดคิดเป็นค่าเสียหายจำนวน 31,373.75 บาท และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีจึงถือได้ว่า ธ. ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่ 8 รักษาราชการแทนรองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งในขณะนั้นอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของโจทก์ ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยทั้งสองตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2544 ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยทั้งสองในวันที่ 6 มกราคม 2546 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดกรรมและโทษฐานครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการจำหน่ายยาเสพติดหลายครั้งเป็นคนละกรรม
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 62 เม็ด น้ำหนัก 5.6625 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.5562 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียว แม้จำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 50 เม็ด ไปก่อน และยังคงมีเมทแอมเฟตามีน 12 เม็ด เหลืออยู่ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง แต่หลังจากนั้นจำเลยก็ได้จำหน่ายหมดไปในครั้งที่ 2 โดยไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ในครอบครองของจำเลยอีกต่อไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทในแต่ละครั้งรวม 2 กรรม เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องหนี้สินที่ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แม้มีการฟ้องร้องคู่กัน เนื่องจากข้อหาและประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน
แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ฟ้องขอให้บังคับอีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชำระหนี้โดยอ้างสัญญากู้ยืมเงิน และบันทึกข้อตกลงปลอดจำนองที่ดินหลักประกันก็ตาม แต่ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 26197/2541 นั้น โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ผิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงปลอดจำนองที่ดินหลักประกันทำให้โจทก์ (จำเลยที่ 1 ในคดีนี้) ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไปให้เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบประทับตราอนุญาตให้จัดสรรที่ดินและโอนให้แก่ผู้ซื้อได้ ส่วนในคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 กับพวก รับผิดชำระเงินที่กู้ยืมคืนโจทก์โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายในกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีนี้จึงแตกต่างกับในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 26197/2541 กรณีจึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และผลกระทบต่อการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์ให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง และศาลชั้นต้นส่งหมายนัดแจ้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โดยวิธีรับหมายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 แต่โจทก์มิได้ดำเนินการชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงถือว่า โจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. 132 (1) นั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งอุทธรณ์และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเท่ากับเป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั่นเอง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับอุทธรณ์แล้วโจทก์จะร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4597/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การกระทำร่วมกัน, การลดโทษ, พยานหลักฐาน, เหตุบรรเทาโทษ
ป.อ. มาตรา 78 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ ทั้งเมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแต่อย่างใดว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพแต่เพียงว่ามีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยซื้อจากชาวม้งในเขตจังหวัดตากแล้วจะนำลักลอบเข้าไปยังกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งก็เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปแล้วว่าชาวเขาที่อยู่ในเขตหลายจังหวัดบริเวณภาคเหนือของประเทศรวมทั้งจังหวัดตากเป็นแหล่งค้าส่งยาเสพติดให้โทษรายใหญ่และจำนวนมาก คำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติมาตรา 100/2 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อเจ้าหนี้ปฏิเสธการชำระหนี้โดยไม่มีเหตุผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701
บทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการวางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพื่อที่ลูกหนี้จะได้หลุดพ้นจากความรับผิดเป็นคนละเรื่องกับการที่ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้อันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 โดยไม่ต้องมีการวางทรัพย์
การที่จำเลยที่ 3 นำแคชเชียรเช็คพร้อมเงินสดตามจำนวนที่ได้รับแจ้งจากพนักงานของธนาคารโจทก์ไปชำระ ณ สาขาของโจทก์ที่รับผิดชอบเรื่องหนี้สินรายพิพาท จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันถึงกำหนดโดยชอบ เมื่อพนักงานของโจทก์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 3 เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคสอง
of 30