พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742-3743/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเพื่ออุทธรณ์มติ คชก. ถือเป็นเหตุอันสมควร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 62 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมติ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด ที่ห้ามมิให้ผู้นั้นขัดขวางการทำนาของผู้มีสิทธิในนาหรือที่ให้ผู้นั้นออกจากนาจะต้องไม่มีเหตุอันสมควร แต่ คชก.ตำบล มีหนังสือแจ้งมติให้จำเลยทราบ ซึ่งจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว แต่ภายหลัง ว. ผู้เสียหายกลับไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งที่วันดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างที่จำเลยจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้ และจำเลยก็ได้อุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56 วรรคแรก และหลังจาก คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัยยืนตามมติ คชก.ตำบลแล้ว จำเลยก็ยังได้ยื่นฟ้องต่อศาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การที่จำเลยยังไม่ออกจากที่นาพิพาทจึงเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3552/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยคนไร้ความสามารถเป็นโมฆะ แม้ต่อมาศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
จ. เจ้ามรดกถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2532 ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เจ้ามรดกเป็นคนไร้ความสามารถแต่ศาลฎีกาพิพากษากลับเป็นให้ยกคำร้อง ซึ่งเป็นผลให้ จ. ยังคงเป็นคนไร้ความสามารถอยู่ตามเดิม แม้ในระหว่างที่คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ จ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ คำสั่งที่ให้ จ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถดังกล่าวก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงยกเลิก เพิกถอนหรือลบล้างคำสั่งศาลชั้นต้นศาลเดียวกันที่ได้สั่งให้ จ. เป็นคนไร้ความสามารถมาก่อน ทั้งไม่มีผลทำให้สถานภาพการเป็นคนไร้ความสามารถตามคำสั่งศาลต้องขาดช่วงไปหรือสะดุดหยุดชั่วคราวในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด การที่ จ. โดยความยินยอมของผู้พิทักษ์ได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2535 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ จ. ตกเป็นคนไร้ความสามารถพินัยกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1704
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการเดินรถโดยสาร: จำเป็นต้องมีสิทธิโดยตรงตามกฎหมายหรือสัญญาหรือไม่
พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ได้ทำสัญญานำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารประจำทางกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับสัมปทานกับรัฐโดยตรงหรือมีอำนาจใด ๆ ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก หรือได้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนกลางให้ฟ้องหรือดำเนินคดีแก่ผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าได้กระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก
โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แม้การที่จำเลยนำรถยนต์ที่สี่ล้อเล็กออกแล่นรับผู้โดยสารทับเส้นทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะเป็นการกระทำละเมิดก็เป็นการละเมิดต่อสิทธิขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แม้การที่จำเลยนำรถยนต์ที่สี่ล้อเล็กออกแล่นรับผู้โดยสารทับเส้นทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจะเป็นการกระทำละเมิดก็เป็นการละเมิดต่อสิทธิขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีสงวนเฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้มีสิทธิอื่นไม่อาจสวมสิทธิได้
การบังคับคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะเท่านั้นที่จะต้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งไม่ใช่กรณีที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ซึ่งหมายถึง การใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลโดยให้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องในนามของเจ้าหนี้แทนลูกหนี้ได้ รวมทั้งเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 มิใช่เข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีของลูกหนี้ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิแก่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะดังกล่าวมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่กระทบคำพิพากษาไม่ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยร่วมได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมเพียงแต่กล่าวอ้างว่ามีพยานบุคคลและพยานหลักฐานซึ่งหากนำเข้าสู่การพิจารณาจะทำให้พยานหลักฐานของจำเลยร่วมมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า หากพิจารณาคดีใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องของจำเลยร่วมจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยร่วมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ อุทธรณ์ของจำเลยร่วมดังกล่าวหากศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมและไต่สวนพยานของจำเลยร่วมแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีว่าจะอนุญาตให้จำเลยร่วมพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยร่วมในชั้นนี้จึงไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยร่วมจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน การพิสูจน์ความผิดทางอาญาในคดีข่มขืนกระทำชำเรา
ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้มีความหมายว่า สำหรับความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็ยังฟังพยานหลักฐานของโจทก์ให้เป็นที่พอใจก่อนว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริงตามที่ให้การรับสารภาพจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูง มิให้ต้องรับโทษหนักหรือเกินกว่าความผิดที่ตนกระทำ อย่างไรก็ดี พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่จำต้องได้รับความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงแต่ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียงพอที่ศาลจะลงโทษโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้นแล้ว เพราะเป็นกรณีที่โจทก์เพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นเค้ามูลเพื่อประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น สำหรับคดีนี้แม้โจทก์จะมี อ. มารดาของผู้เสียหาย และ บ. เจ้าของบ้านที่เกิดเหตุกับร้อยตำรวจเอก ส. พนักงานสอบสวนมาเบิกความประกอบพยานเอกสารต่างๆ ยืนยันว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง โดยพยานมิได้รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้เสียหายถูกข่มขืนกระทำชำเราและโจทก์ก็ไม่ได้นำตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานต่อศาล แต่ อ. ก็เป็นมารดาของผู้เสียหายซึ่งรับทราบข้อเท็จจริงจากผู้เสียหายทันทีที่ได้พบกัน และ บ. ก็เป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีใกล้ชิดกับเหตุการณ์เป็นอย่างยิ่ง ส่วนร้อยตำรวจเอก ส. ก็เป็นพนักงานสอบสวนที่สอบคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนไว้และยืนยันข้อเท็จจริงตามนั้น จึงไม่มีข้อพิรุธอันจะเป็นเหตุให้ระแวงสงสัยในถ้อยคำของพยานโจทก์เหล่านั้นแต่ประการใด ส่วนที่จำเลยหยิบยกขึ้นฎีกา เรื่องการตรวจพบตัวอสุจิหลังจากเกิดเหตุแล้วถึง 12 วัน โดยอ้างว่าขัดต่อหลักวิชาการแพทย์นั้น เป็นปัญหาปลีกย่อยอันเป็นเพียงพลความ ไม่ใช่ข้อพิรุธอันควรระแวงสงสัยในพยานหลักฐานของโจทก์แต่ประการใด ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยกับพวกร่วมกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอมซึ่งเป็นการกระทำความผิดตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา, การหักเงินช่วยเหลือค่าทำศพ, การรับวินิจฉัยเฉพาะประเด็น, และการนำสืบพยานนอกคำให้การ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะ 240,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าอุปการะแก่โจทก์คนละ 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนค่าปลงศพซึ่งโจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันปลงศพที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิด 66,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดนั้น แม้จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่เมื่อนำไปรวมกับค่าขาดไร้อุปการะตามสิทธิของโจทก์แต่ละคนแล้ว ไม่เกิน 200,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยแล้วเป็นประเด็นไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เงินที่จำเลยที่ 2 ช่วยค่าทำศพจำนวน 10,000 บาท เป็นการช่วยเหลือค่าปลงศพให้แก่โจทก์ทั้งสองบางส่วนตามหลักมนุษยธรรม มิใช่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ช่วยค่าทำศพโดยยอมรับผิดและมิได้มอบให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง แต่เป็นการให้ในลักษณะร่วมทำบุญอันเป็นการสำนึกในศีลธรรม จึงนำมาหักกับจำนวนเงินค่าปลงศพที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยแล้วเป็นประเด็นไว้ตั้งแต่ในศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เงินที่จำเลยที่ 2 ช่วยค่าทำศพจำนวน 10,000 บาท เป็นการช่วยเหลือค่าปลงศพให้แก่โจทก์ทั้งสองบางส่วนตามหลักมนุษยธรรม มิใช่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ช่วยค่าทำศพโดยยอมรับผิดและมิได้มอบให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง แต่เป็นการให้ในลักษณะร่วมทำบุญอันเป็นการสำนึกในศีลธรรม จึงนำมาหักกับจำนวนเงินค่าปลงศพที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำร้องตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสอง มีความหมายว่า หากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 307 วรรคหนึ่งแล้ว คำสั่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งศาลตามมาตรานี้" ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ อ้างว่าจำเลยที่ 2 ป่วย จึงเป็นคำร้องตามมาตรา 307 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 307 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าชดเชยจาก พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องหนี้สิน
มูลหนี้ตามฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับโจทก์เพื่อขยายเวลาชำระหนี้ แต่จำเลยผิดนัด ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวกับขอให้บังคับจำนอง ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องอ้างว่า ภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพประเภทจัดชั้นสงสัยจะสูญ แต่โจทก์ไม่โอนให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในกำหนดเวลาที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกำหนด โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าว แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่ก็เป็นเรื่องขอให้โจทก์รับผิดจ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุไม่โอนหนี้ดังกล่าวให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามกฎหมาย ซึ่งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำคดีไปฟ้องร้องเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องค่าชดเชยจาก พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม จึงไม่รวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์พร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวกับขอให้บังคับจำนอง ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยอ้างว่า ภาระหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แต่โจทก์ไม่โอนให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยภายในกำหนดเวลาที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยบริหารสินทรัพย์ไทยกำหนด โจทก์ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 ขอให้บังคับโจทก์นำเงินค่าชดเชยมาหักชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าว แม้ข้ออ้างของจำเลยตามฟ้องแย้งจะเกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามฟ้อง แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยหรือไม่นั้นเป็นคนละส่วนกับมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องคดีเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกัน ชอบที่จะนำไปฟ้องเป็นต่างหาก