คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ จึงไม่รับวินิจฉัย
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่า ว. หัวหน้าหน่วยงานคดี กองนิติการ สังกัดกรมโจทก์ ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำละเมิดนับตั้งแต่นั้นด้วย เพราะ ว. และอธิบดีกรมโจทก์ต่างก็ปฏิบัติราชการในหน้าที่ของโจทก์เช่นเดียวกัน เพียงแต่ปฏิบัติงานตามระเบียบการบังคับบัญชาที่แตกต่างกันตามหน้าที่เท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 21 ธันวาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ในชั้นฎีกา จำเลยกลับฎีกาว่า คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งที่โจทก์ต่างแต่งตั้งได้สอบสวนหาตัวผู้กระทำละเมิดแล้วมีความเห็นว่า จำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 จึงถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยเป็นผู้ต้องรับผิดชอบทางแพ่งแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 21 ธันวาคม 2544 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จำเลยจะอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาเดียวกันคือปัญหาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ แต่ข้อที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาแตกต่างไปจากข้อที่เคยยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8969/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: พิจารณาพฤติการณ์พิเศษและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี แต่เป็นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลย ซึ่งผลการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย จึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5 ) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8604/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขาย/จ้างทำของ กรณีสินค้ามีตำหนิ แม้รับมอบไปแล้ว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแนบสำเนาใบสั่งซื้อและใบส่งของเพื่อประกอบข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับเพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ถูกต้อง ฉะนั้นแม้โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นเรื่องซื้อขายศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นเรื่องทั้งซื้อขายและจ้างทำของ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าเป็นเรื่องจ้างทำของ เช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาเนื้อหาแห่งคำฟ้องประกอบทางนำสืบของคู่ความแล้วปรับบทกฎหมายเองตามที่ได้ความได้ ไม่จำต้องยึดถือหัวข้อที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นสำคัญ จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นอันเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
สิ่งของบางส่วนในจำนวนทั้งหมดที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยตามสัญญามีความชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญา แม้จำเลยจะรับมอบสิ่งของจากโจทก์ซึ่งมีจำนวนมากถึง 8,988 ใบแต่ก็เป็นการรับมอบในลักษณะเป็นแผ่นกระดาษซึ่งจำเลยจะต้องนำมาพับเป็นกล่องเอง เมื่อสิ่งของมีจำนวนมากถึง 1 คันรถบรรทุก ความชำรุดบกพร่องนั้นจึงไม่อาจพึงพบได้ในขณะเมื่อจำเลยรับมอบอันจะถือว่าจำเลยยอมรับมอบการที่ทำจากโจทก์แล้วโดยมิได้อิดเอื้อนหาได้ไม่ หากจำเลยนำกล่องกระดาษที่มีคุณลักษณะและสภาพไม่สมบูรณ์เช่นนั้นไปใช้แม้เพียงบางส่วนก็ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในสินค้าของจำเลยต่อไปได้ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย และจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าจำเลยยังสามารถนำกล่องกระดาษที่สั่งซื้อหรือว่าจ้างให้โจทก์นำไปใช้บรรจุสินค้าของจำเลยได้โดยทำให้มีความแน่นหน้าเพิ่มด้วยการติดเทปกาวอันจะถือได้ว่าสิ่งของหรือการงานบางส่วนตามที่จำเลยว่าจ้างยังคงใช้งานได้เป็นประโยชน์แก่จำเลย กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 606 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8392/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีแพ่งอาญา – ดอกเบี้ยจากการลักทรัพย์ – การฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยในคดีอาญานั้น จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกแทนผู้เสียหายได้แล้วแต่ไม่เรียก ฟ้องของโจทก์คดีแพ่งในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญา: การนัดโอนกรรมสิทธิ์หลังแจ้งเลิกสัญญาถือเป็นการแสดงเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาเดิม
ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญา ผนังของห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าวซึ่งจำเลยรับว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย และในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วเมื่อเดือนกันยายน 2539 การนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์ในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งหลังจากนั้นจำเลยยังได้ยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจรับห้องชุดพิพาทว่ายังมีรอยแตกร้าวต้องซ่อมแซมแก้ไขและจำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่ในวันดังกล่าวไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากจำเลยเรียกเงินจากโจทก์อีก 50,000 บาท อ้างว่าโจทก์รับโอนห้องชุดพิพาทล่าช้า หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทอีก เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันและจำเลยไม่โอนห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลิกสัญญาและการบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุด: การกระทำบ่งชี้เจตนาหลังอ้างเลิกสัญญา
ก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาผนังของห้องชุดพิพาทมีรอยแตกร้าวซึ่งจำเลยรับว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย และในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 มีการนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยอ้างว่าได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว การนัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์ในเดือนกันยายน 2539 ซึ่งหลังจากนั้นจำเลยยังได้ยินยอมให้โจทก์เข้าไปตรวจรับห้องชุดพิพาทว่ายังมีรอยแตกร้าวต้องซ่อมแซมแก้ไขและจำเลยได้นัดโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทในวันที่ 26 ธันวาคม 2539 แต่ในวันดังกล่าวไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากจำเลยเรียกเงินจากโจทก์อีก 50,000 บาท อ้างว่าโจทก์รับโอนห้องชุดพิพาทล่าช้า หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์มารับโอนห้องชุดพิพาทอีก เมื่อสัญญายังไม่เลิกกันและจำเลยไม่โอนห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7917/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ทรงเช็คในการฟ้องบังคับหนี้จากผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลัง แม้มีการฟ้องหนี้กู้ยืมเงินไปแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สลักหลังเป็นอาวัลเช็คที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 แล้วส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินบางส่วน ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงหาได้ระงับไปไม่โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ยืมเงินย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์และโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คในฐานะเป็นผู้สลักหลังและให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายด้วยการที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินแก่โจทก์ หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์
คำฟ้องโจทก์บรรยายชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลัง ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คพร้อมดอกเบี้ย โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเฉพาะมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 นำเช็คดังกล่าวไปชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการที่จักต้องรับผิดชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คไปด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาหลังมีกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลมีอำนาจแก้ไขโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 3
แม้คดีนี้จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ หากปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยแล้วก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้กำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้ ตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ภายหลังกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 8 มาตรา 19 และมาตรา 26 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 66 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทนอันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาตามกฎหมายใหม่ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณา
คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแต่จำเลยที่ 1 กำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอ้างว่า มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว จึงไม่อาจแก้ไขโทษตามคำพิพากษาได้นั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7606/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม จึงจะรวมพิจารณาได้ หากเป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก ศาลจะไม่รับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องเดิมของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัท ว. มาตามสัญญาขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่บริษัทดังกล่าวมีต่อจำเลยทั้งสามตามมูลหนี้กู้ยืมเงิน ค้ำประกันและจำนอง แล้วโจทก์ใช้สิทธิของบริษัท ว. ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ที่ค้างชำระ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 อ้างว่าบริษัท ว. ได้ตกลงร่วมลงทุนให้การสนับสนุนโครงการของจำเลยที่ 1 โดยปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 275,000,000 บาท ตกลงให้จำเลยที่ 1 รับเงินสินเชื่อเป็นคราว ๆ แล้วบริษัท ว. ผิดข้อตกลงมิได้จ่ายสินเชื่อเงินลงทุน 30,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จและส่งมอบบ้านพร้อมที่ดินให้ลูกค้าได้ ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์และบริษัท ว. ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 กรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องนิติสัมพันธ์และข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์โดยตรง เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องไปว่ากล่าวแก่บริษัท ว. ต่างหาก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
of 30