พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 732/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรมและดอกเบี้ย
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ทั้งสองไม่ไปรับเงินดังกล่าว ฝ่ายจำเลยจึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองไปฝากธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดในวันที่ 10 มิถุนาน 2540 แต่โจทก์ทั้งสองไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์ทั้งสองโดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 10 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 11 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2540 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2540 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นจับกุมแม้ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่ข้อเท็จจริงในคำให้การนำสืบได้ และการเพิ่มโทษจำกัดด้วยกฎหมายล้างมลทิน
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย จะบัญญัติมิให้นำคำรับสารภาพชั้นจับกุมเป็นพยานหลักฐานก็ตาม แต่ข้อความอื่นซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายมิได้ห้ามนำมารับฟังเสียทีเดียว มิฉะนั้นแล้วคงไม่ต้องทำบันทึกการจับกุม และสอบถามคำให้การของผู้ถูกจับไว้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรุนแรงจากกลุ่มนักศึกษา การทำร้ายร่างกายและฆ่าผู้อื่น ศาลยืนโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ
ก่อนเกิดเหตุนักศึกษาของโรงเรียนที่ผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามกับนักศึกษาของโรงเรียนที่จำเลยกับพวกเรียนอยู่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง อีกทั้งจำเลยพกมีดติดตัวอยู่ย่อมเป็นการผิดปกติวิสัยที่สุจริตชนทั่วไปพึงปฏิบัติ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกทุกคนอยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะทำการทะเลาะวิวาทกับคู่อริจำเลยก็ย่อมต้องรู้อยู่แก่ใจว่าพวกของจำเลยคนอื่น ๆ ก็จะต้องมีอาวุธร้ายแรงอย่างเช่นอาวุธปืนติดตัวมาด้วยเช่นกัน จำเลยเป็นคนที่เริ่มต้นก่อการวิวาทขึ้น โดยพูดจาท้าทายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสาม แล้วจำเลยกับพวกพากันขึ้นไปทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามบนรถโดยสารทั้งทางประตูหน้าและประตูหลังท้ายรถ เมื่อจำเลยใช้มีดซึ่งมีความยาวทั้งคมมีดและด้ามประมาณ 1 ฟุตครึ่ง เป็นอาวุธฟันผู้เสียหายที่ 2 ที่เท้าซ้าย 1 ครั้ง และใต้เท้าซ้ายอีก 1 ครั้ง จากนั้นพวกของจำเลยยิงอาวุธปืนกระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 2 ที่บริเวณสะโพกขวา แต่จำเลยก็ยังไม่หยุดทำร้ายผู้อื่นและใช้มีดฟันผู้เสียหายที่ 3 อีกถึง 3 ครั้ง ถูกที่ไหล่ซ้ายและสะบักซ้าย จนกระทั่งมีเสียงปืนดังขึ้นอีก กระสุนปืนถูกผู้ตายที่ราวนมขวา จำเลยกับพวกจึงมีเจตนาร่วมกันที่จะทำการประทุษร้ายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามมาตั้งแต่ต้นโดยร่วมมือร่วมใจกันคบคิดและตระเตรียมกันหาอาวุธติดตัวเพื่อทำการประทุษร้ายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามอันเป็นพฤติกรรมที่จำเลยกับพวกเล็งเห็นผลได้ตลอดเวลา จะอ้างว่าผลที่เกิดกับผู้ตายและผู้เสียหายอื่น ๆ มิใช่การกระทำของจำเลยเพราะจำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิดอันเกิดจากการกระทำของพวกจำเลยหาได้ไม่
จำเลยกับพวกจำนวนกว่า 10 คน ใช้ทั้งปืนและมีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธยิงและฟันตลอดจนกระทืบ เตะและต่อยในลักษณะรุมทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกมีสาเหตุโกรธเคืองกันเป็นส่วนตัวมาก่อน ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้กระทำต่อผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามด้วยความรุนแรงอย่างอุกอาจเยี่ยงอันธพาล ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง นับว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมโดยส่วนรวมและเป็นการทำลายภาพพจน์ของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมาก แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยยังเป็นนักศึกษาแต่ก็มีอายุถึงยี่สิบปีบรรลุนิติภาวะแล้ว ย่อมต้องมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่จะไม่กระทำความผิดร้ายแรงเช่นนั้น ทั้งการที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยโดยไม่ลงโทษในความผิดฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามคำฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยมากอยู่แล้ว ทั้งยังเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีแก่บุคคลอื่นอีกต่อไป ส่วนที่จำเลยอ้างความจำเป็นเกี่ยวกับครอบครัวก็เป็นความจำเป็นที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลย
จำเลยกับพวกจำนวนกว่า 10 คน ใช้ทั้งปืนและมีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธยิงและฟันตลอดจนกระทืบ เตะและต่อยในลักษณะรุมทำร้ายผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกมีสาเหตุโกรธเคืองกันเป็นส่วนตัวมาก่อน ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้กระทำต่อผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามด้วยความรุนแรงอย่างอุกอาจเยี่ยงอันธพาล ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง นับว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมโดยส่วนรวมและเป็นการทำลายภาพพจน์ของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างมาก แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยยังเป็นนักศึกษาแต่ก็มีอายุถึงยี่สิบปีบรรลุนิติภาวะแล้ว ย่อมต้องมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่จะไม่กระทำความผิดร้ายแรงเช่นนั้น ทั้งการที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยโดยไม่ลงโทษในความผิดฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามคำฟ้อง นับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยมากอยู่แล้ว ทั้งยังเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีแก่บุคคลอื่นอีกต่อไป ส่วนที่จำเลยอ้างความจำเป็นเกี่ยวกับครอบครัวก็เป็นความจำเป็นที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการรับสารภาพและการโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดโดยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบหลายกรรมต่างกัน ซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องในแต่ละกระทงมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องทุกกระทงความผิดไป ฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นไปโดยมุ่งประสงค์จะโต้แย้งว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดโดยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 แต่เพียงกรรมเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยให้การรับสารภาพอันเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ และเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยบิดเบือนให้เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9883/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยกรณีจ่ายช้า
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับเจ้าหน้าที่เวนคืนได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 อันจะถือว่าเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดในวันที่ 11 มิถุนายน 2540 แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินตามกำหนดเวลาดังกล่าว ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่นำเงินค่าทดแทนที่ดินนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในนามของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ในวันถัดจากวันที่ 11 มิถุนายน 2540 คือวันที่ 12 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่ต้องมีการวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน นับแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบ และสิทธิของผู้รับซื้อขายฝากเมื่อผู้ขายไม่ไถ่ถอน
โฉนดที่ดินมีชื่อ บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพีงผู้เดียวโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกับ บ. บ. ยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ท. ทั้งแปลงโดยไม่ชอบ และ ท. นำไปขายฝากกับจำเลยแล้วไม่ไถ่ถอน ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตกเป็นสิทธิขาดแก่จำเลย แต่โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์จากจำเลยกึ่งหนึ่งโดยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนให้ระหว่าง บ. กับ ท. เท่ากับว่าการโอนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการโอนชอบ ท. ย่อมมีสิทธินำไปขายฝากให้แก่จำเลยได้ จำเลยจึงรับซื้อไว้โดยชอบ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่สามารถบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9672/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานกระทำชำเราเด็ก ต้องระบุอายุของผู้เสียหายให้ชัดเจน เพื่อให้ลงโทษตามบทหนักได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย (เกิดวันที่ 27 ตุลาคม 2528) อายุยังไม่เกิน 15 ปี ... อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้ขณะเกิดเหตุตามฟ้อง ผู้เสียหายจะมีอายุยังไม่เกิน 13 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องดังกล่าว โดยมิได้ระบุองค์ประกอบความผิดว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 13 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีโทษหนักกว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ดังนั้น คงลงโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9497/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม และการขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกนอกพินัยกรรม
แม้พินัยกรรมฉบับที่ 2 ของผู้ตาย มีข้อความเขียนระบุไว้ว่า "บุคคลที่ข้าพเจ้าไม่ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมฉบับนี้ ข้าพเจ้าไม่ประสงค์ให้รับมรดกของข้าพเจ้าแต่อย่างใด" ก็ตาม แต่นอกจากที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวแล้วยังมีทรัพย์มรดกอื่น ๆ นอกพินัยกรรมอีกหลายรายการ อีกทั้งในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่ระบุให้จำหน่ายทรัพย์มรดกอื่น ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมเสียทั้งหมดและมิได้ระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกไว้ให้ชัดเจนตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมซึ่งมีผู้ร้องรวมอยู่ด้วยเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ผู้ร้องจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
ตามประเด็นข้อกฎหมายที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกาว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2544 ที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ต. ผู้ตายนั้นหมายความว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีสิทธิที่จะจัดการมรดกของผู้ตายเฉพาะที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเท่านั้น โดยผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทิและหน้าที่ที่จะไปจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมหรือที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวแต่อย่างใดใช่หรือไม่ เพียงใด เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกทั้งเป็นเรื่องนอกประเด็น เพราะประเด็นในคดีนี้มีเพียงว่าผู้คัดค้านที่ 2 เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าผู้คัดค้านที่ 2 จะจัดการทรัพย์มรดกที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวได้หรือไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แต่ข้ออ้างข้อเถียงของผู้ร้องในเรื่องนี้เกี่ยวข้องพาดพิงถึงการวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับก่อนในคดีเดียวกันนี้ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางเสียหายต่อคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวขึ้นได้ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวในศาลล่าง ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2544 ที่พิพากษาตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ต. ผู้ตายโดยกำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนั้นมีความหมายว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711 โดยมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมและเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 มิได้จำกัดให้ผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะจัดการมรดกเฉพาะเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น แต่ให้มีอำนาจในการจัดการมรดกโดยทั่วไป ซึ่งหมายความถึงทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตายเท่าที่มีอยู่ไม่ว่าจะระบุไว้ในพินัยกรรมหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการที่ผู้ร้องฎีกาโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาศาลฎีกา 8045/2544 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมหรือที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมแต่ประการใดนั้น เป็นการนำคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับมาแปลความเบี่ยงเบนกล่าวอ้างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองเพื่อให้ได้เป็นผู้จัดการมรดกในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกอื่น ๆ ที่ผู้ตายมิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมอันเป็นการไม่ชอบ
ตามคำร้องของผู้ร้องในคดีนี้ว่า ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาได้ขอให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะนำสืบและอุทธรณ์ฎีกาขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ศาลไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ตามประเด็นข้อกฎหมายที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกาว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2544 ที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ต. ผู้ตายนั้นหมายความว่าผู้คัดค้านที่ 2 มีสิทธิที่จะจัดการมรดกของผู้ตายเฉพาะที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเท่านั้น โดยผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทิและหน้าที่ที่จะไปจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมหรือที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวแต่อย่างใดใช่หรือไม่ เพียงใด เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกทั้งเป็นเรื่องนอกประเด็น เพราะประเด็นในคดีนี้มีเพียงว่าผู้คัดค้านที่ 2 เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าผู้คัดค้านที่ 2 จะจัดการทรัพย์มรดกที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับดังกล่าวได้หรือไม่ จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แต่ข้ออ้างข้อเถียงของผู้ร้องในเรื่องนี้เกี่ยวข้องพาดพิงถึงการวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับก่อนในคดีเดียวกันนี้ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปในทางเสียหายต่อคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวขึ้นได้ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวในศาลล่าง ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้
ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8045/2544 ที่พิพากษาตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ต. ผู้ตายโดยกำหนดให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายนั้นมีความหมายว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711 โดยมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมและเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 มิได้จำกัดให้ผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะจัดการมรดกเฉพาะเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเท่านั้น แต่ให้มีอำนาจในการจัดการมรดกโดยทั่วไป ซึ่งหมายความถึงทรัพย์มรดกทั้งหมดของผู้ตายเท่าที่มีอยู่ไม่ว่าจะระบุไว้ในพินัยกรรมหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการที่ผู้ร้องฎีกาโต้แย้งว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาศาลฎีกา 8045/2544 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมหรือที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมแต่ประการใดนั้น เป็นการนำคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับมาแปลความเบี่ยงเบนกล่าวอ้างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองเพื่อให้ได้เป็นผู้จัดการมรดกในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกอื่น ๆ ที่ผู้ตายมิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมอันเป็นการไม่ชอบ
ตามคำร้องของผู้ร้องในคดีนี้ว่า ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาได้ขอให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะนำสืบและอุทธรณ์ฎีกาขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ศาลไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9176/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การครอบครองโดยไม่สุจริตไม่อาจได้สิทธิ
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่มิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงอันจะต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสารซึ่งเป็นระวางรูปแผนที่ทางอากาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเกิดขึ้นโดยสภาพการใช้มาตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งเกิดขึ้นโดยสภาพการใช้มาตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8902/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน การฟ้องเท็จ และการนำสืบพยานหลักฐานเท็จ
เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินกับ บ. แต่จำเลยจัดให้ บ. และ ฝ. ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วม จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมสัญญากู้ยืมเงิน การที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ร่วมโดยระบุว่าโจทก์ร่วมออกเช็คชำระหนี้เงินกู้ยืมถึงกำหนดชำระและบังคับได้ตามกฎหมายจึงเป็นฟ้องเท็จ เพราะการกู้ยืมเงินไม่ได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ร่วม จึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ เมื่อจำเลยเบิกความยืนยันและอ้างส่งหนังสือสัญญากู้ยืมเงินปลอมเป็นพยานต่อศาล จึงเป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จด้วย