พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไล่เบี้ยของหน่วยงานรัฐต่อเจ้าหน้าที่ และอายุความฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทน
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นกรมตำรวจฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และโจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิด: ศาลอุทธรณ์ตีความตามเจตนาสุจริตและปกติประเพณีได้
แม้จำเลยที่ 3 มิใช่ผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ได้ทำบันทึกการตกลงค่าเสียหายว่าจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 3 สมัครใจเข้าทำสัญญากับโจทก์รับที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จากการถูกผู้อื่นกระทำละเมิด เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ให้ต้องรับผิดตามสัญญา ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 3 นำสืบในสำนวนความมาวินิจฉัยโดยตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตของคู่กรณีและโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 368 จึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลายและข้อยกเว้นระยะเวลาบังคับคดี ผู้ซื้อสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีหากเกิน 10 ปี
ผู้ร้องประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมมาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ ผู้ร้องจึงตกอยู่ในบังคับที่จะต้องบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีเกิน 10 ปี แล้ว ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ประกอบกับการอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามมาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินอายุความ ผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยทั้งสองยอมผ่อนชำระเงินเป็นรายเดือนแก่โจทก์ เริ่มวันที่ 5 มิถุนายน 2536 แต่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองนับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้ ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ล้มละลาย ผู้ร้องได้ทำสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองคดีนี้ ผู้ร้องจึงได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2547 เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่มีมูล ศาลสั่งวางประกันแล้วไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งศาลเป็นที่สุด
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คำร้องดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหาย เนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาวางเป็นประกันค่าสินไหมทดแทนชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำแถลงขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินประกันและมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้วางเงินประกันเพื่อคัดค้านการขายทอดตลาด การไม่อุทธรณ์ตามมาตรา 223 และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และไม่ได้แจ้งกำหนดวันเวลาขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ กรณีตามคำร้องของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินจำนวน 50,000 บาท มาวางเป็นประกันค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน จำเลยที่ 2 ไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำแถลงขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินประกันและมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ในการที่จะฎีกาต่อมาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันเพื่อต่อสู้คดีเพิกถอนการขายทอดตลาด หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงิน 50,000 บาท มาวางเป็นประกันค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน จำเลยไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำแถลงขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินประกันและมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลย คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นของผู้ชนะคดีเท่านั้น จำเลยในฐานะผู้แพ้คดีไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้นที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออก คำบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินที่โจทก์และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันให้แก่โจทก์ตามส่วนในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นของฝ่ายชนะคดีเท่านั้น จำเลยในฐานะผู้ถูกบังคับคดีไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับคู่ความอีกฝ่าย
โจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทตามคำขอของโจทก์แล้ว จำเลยยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจดำเนินการให้ได้เพราะโจทก์และจำเลยต้องร่วมกันยื่นคำขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จำเลยแจ้งให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกร่วมกับจำเลย แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้โจทก์ดำเนินการยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพพาทนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น ที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง จำเลยไม่ใช่เป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน-การต่ออายุสัญญา-อายุความ-การคืนหนังสือค้ำประกัน ไม่ถือเป็นการระงับหนี้
แม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงการต่ออายุสัญญาจ้างโดยไม่ชักช้าตามที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันข้อ 2 ตอนท้ายก็ตาม ข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อนี้ เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคสอง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ต่ออายุสัญญาออกไป โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่ 25 เมษายน 2533 ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์คืนหนังสือค้ำประกันของจำเลยให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ไปเพราะความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โจทก์ แต่โจทก์มิได้เจตนาประสงค์จะให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. และจำเลยพ้นจากความรับผิด ถึงจำเลยจะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ยังคงต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าปรับแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 จำเลยจะอ้างธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปว่า เมื่อจำเลยได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือค้ำประกันจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้เป็นลูกค้าโดยสุจริต และจำเลยคืนหลักประกันไปจำเลยก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่ ทั้งนี้ เพราะกรณีไม่ต้องบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วใน ป.พ.พ. มาตรา 698 ถึงมาตรา 701
ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ต่ออายุสัญญาออกไป โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้นับแต่วันที่ 25 เมษายน 2533 ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์คืนหนังสือค้ำประกันของจำเลยให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ไปเพราะความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โจทก์ แต่โจทก์มิได้เจตนาประสงค์จะให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. และจำเลยพ้นจากความรับผิด ถึงจำเลยจะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนึ่ง ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ยังคงต้องรับผิดในค่าเสียหายและค่าปรับแก่โจทก์ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 จำเลยจะอ้างธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปว่า เมื่อจำเลยได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือค้ำประกันจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้เป็นลูกค้าโดยสุจริต และจำเลยคืนหลักประกันไปจำเลยก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่ ทั้งนี้ เพราะกรณีไม่ต้องบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วใน ป.พ.พ. มาตรา 698 ถึงมาตรา 701