พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นดอกเบี้ยทบต้นหลังเลิกสัญญาเดินสะพัดเป็นโมฆะ, สัญญาค้ำประกันมีผลใช้บังคับ
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลงยกเว้นหาได้ไม่ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "เมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยทบต้นตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร...และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย"เป็นข้อสัญญาที่ตกลงยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อกับธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ยธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้ก็ได้สุดแต่ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควรไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้บังคับได้เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้องรับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงยกเว้นกฎหมายดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันมีผลใช้ได้เมื่อหนี้สมบูรณ์
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา หรือการคิดดอกเบี้ย ทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลง ยกเว้นหาได้ไม่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "ลูกค้าขอให้สัญญาว่าเมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้ เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับชำระดอกเบี้ย ทบต้นตาม จำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร... และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย" เป็นข้อสัญญาที่ตกลง ยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตก เป็นโมฆะไม่มีผลใช้ บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อ กันธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ย ธรรมดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลง กันไว้ก็ได้ สุดแต่ ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควร ไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้ บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้ บังคับได้ เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ย ทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้ เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้อง ผูกพันตาม สัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้อง รับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึง จำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลภาครัฐ: สิทธิของผู้เสนอราคาเมื่อหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการทำสัญญา และพิสูจน์ได้ว่าผู้เสนอราคารับทราบข้อตกลงล่าช้า
การประกวดราคาก่อสร้างอาคารเรียนของจำเลย ปรากฏว่าเมื่อเปิดซองประมูลโจทก์เป็นผู้ประมูลในราคาต่ำสุด แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาก่อสร้างดังกล่าว จำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจำเลยมีสิทธิจะตกลงจ้างผู้ยื่นซองประกวดราคารายใดก็ได้ไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างผู้เสนอราคาต่ำเสมอไป จะจ้างผู้รับเหมารายเดียวกันหรือแยกจ้างหลายรายหรือจะไม่ตกลงจ้างทุกรายก็ได้ในเมื่อมีเหตุอันสมควร จึงยังถือไม่ได้ว่า โจทก์ผู้เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ประมูลได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2525 และโดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาข้อ 6 มีว่า 'ฯลฯ ผลการประกวดราคาไม่ผูกพันว่าจังหวัดจะต้องแจ้งให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องติดต่อสอบถาม หรือดูประกาศผลการประกวดราคาเอง' ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งผลการประกวดราคาให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าตนชนะการประกวดราคาเป็นผู้ประมูลได้ในวันที่ 6กรกฎาคม 2525
เมื่อโจทก์ทราบว่าตนประมูลได้แล้ว การมาทำสัญญาต้องบังคับตามประกาศประกวดราคาข้อ 10 ซึ่งระบุว่า 'ผู้ยื่นซองประกวดราคาได้ต้องมาทำสัญญาจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทางราชการแจ้งให้ทราบ ฯลฯ' โจทก์ได้รับจดหมายของจำเลยให้ไปทำสัญญาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือขอทำสัญญากับจำเลยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2525 ก่อนได้รับจดหมายของจำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาและทิ้งงาน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อนี้เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2525 และโดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาข้อ 6 มีว่า 'ฯลฯ ผลการประกวดราคาไม่ผูกพันว่าจังหวัดจะต้องแจ้งให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องติดต่อสอบถาม หรือดูประกาศผลการประกวดราคาเอง' ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งผลการประกวดราคาให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าตนชนะการประกวดราคาเป็นผู้ประมูลได้ในวันที่ 6กรกฎาคม 2525
เมื่อโจทก์ทราบว่าตนประมูลได้แล้ว การมาทำสัญญาต้องบังคับตามประกาศประกวดราคาข้อ 10 ซึ่งระบุว่า 'ผู้ยื่นซองประกวดราคาได้ต้องมาทำสัญญาจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทางราชการแจ้งให้ทราบ ฯลฯ' โจทก์ได้รับจดหมายของจำเลยให้ไปทำสัญญาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือขอทำสัญญากับจำเลยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2525 ก่อนได้รับจดหมายของจำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาและทิ้งงาน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อนี้เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้ามีผลผูกพันแม้ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หากการเลิกสัญญาไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่1สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่1จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญาการที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัทน.กับจำเลยที่1ก็เนื่องจากบริษัทน.และจำเลยที่1ตกลงเลิกสัญญากันไม่ทำให้จำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่าจำเลยที่1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้นไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่1ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่นหรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: สัญญาสำเร็จผล แม้ไม่มีโอนกรรมสิทธิ์ การเลิกสัญญายังต้องชำระ
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญา การที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากบริษัท น. และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากัน ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1 จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1 จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้ามีผลผูกพันแม้ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ หากการเลิกสัญญาไม่กระทบสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
โจทก์เป็นนายหน้าติดต่อขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อขายระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ได้ทำกันสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ชี้ช่องจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จแก่โจทก์ตามสัญญา การที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันระหว่างบริษัท น. กับจำเลยที่ 1 ก็เนื่องจากบริษัท น. และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากัน ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน
ข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ระบุไว้ความว่า จำเลยที่ 1จะจ่ายค่านายหน้าในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขเพราะเงื่อนไขต้องเป็นเหตุการณ์ที่จะมีขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน ถ้าผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเป็นอย่างอื่น หรือไม่เลิกสัญญากันก็ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ซื้อขายกันตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการลดอัตราดอกเบี้ยตามข้อบังคับธนาคาร กรณีผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ธนาคารไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปี ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปีตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปี จึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31(ข) โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามข้อบังคับธนาคารอาคารสงเคราะห์ แม้ผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน โจทก์ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปีต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปีจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31 (ข)โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การรังวัดแบ่งแยกที่ดินมิใช่เงื่อนเวลา สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเกิดเมื่อทำสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยจำเลยรับจะไปดำเนินการรังวัดแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวม เมื่อแบ่งแยกและคำนวณเนื้อที่ดินในโฉนดส่วนของจำเลยได้เท่าไร โจทก์จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้ และจำเลยจะโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงที่ว่าให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินก่อนแล้วจึงจะโอนขายให้แก่โจทก์ มิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยจะดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินมาให้แล้วเสร็จเมื่อใด จึงมิใช่เงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหรือขั้นตอนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เท่านั้น เมื่อโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยจัดการรังวัดแบ่งแยกก่อนโอนกรรมสิทธิ์และยอมรับแบ่งที่พิพาทส่วนกลางตามสัญญา จำเลยจึงต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์: การรังวัดแบ่งแยกที่ดินไม่ใช่เงื่อนไขบังคับสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยจำเลยรับจะไปดำเนินการรังวัดแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวม เมื่อแบ่งแยกและคำนวณเนื้อที่ดินในโฉนดส่วนของจำเลยได้เท่าไร โจทก์จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้ และจำเลยจะโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงที่ว่าให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินก่อนแล้วจึงจะโอนขายให้แก่โจทก์ มิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยจะดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินมาให้แล้วเสร็จเมื่อใด จึงมิใช่เงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหรือขั้นตอนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเท่านั้น เมื่อโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยจัดการรังวัดแบ่งแยกก่อนโอนกรรมสิทธิ์และยอมรับแบ่งที่พิพาทส่วนกลางตามสัญญา จำเลยจึงต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์