พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ, การยึดหน่วงค่าจ้าง, การหักกลบลบหนี้, และการรับรองพยานหลักฐานเพิ่มเติม
คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โจทก์ยังส่งสำเนาใบทำงาน/ใบแจ้งหนี้ซึ่งคำนวณถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าจ้างแนบมาท้ายฟ้องด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เป็นเรื่องที่คู่ความจะต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วย จำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาจ้างทำของได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี เป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงชอบที่จะอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ การทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจึงถือว่าเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วย จำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาจ้างทำของได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี เป็นกรณีที่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงชอบที่จะอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ การทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาจึงถือว่าเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และแนวทางการพิจารณาของศาล
ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น จึงไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โดยต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าและจะเรียกเกินกว่าประกาศนั้นไม่ได้ ทั้งจะนำประกาศของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 และมีประกาศกระทรวงการคลังกำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังเช่นธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการเรียกดอกเบี้ยตามคุณภาพลูกค้าแต่ละรายของโจทก์ โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยรวม 14 ครั้ง แม้การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในบางครั้งจะไม่ตรงตามประกาศของโจทก์ก็เป็นดุลพินิจในการพิจารณากับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยไม่เป็นไปตามประกาศของโจทก์ได้ แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้จำเลยที่ 2 และ ฉ. จะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. แล้ว ก็หาทำให้สิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ. ที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ของ อ. สิ้นไปแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาทรวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วย หนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจาก อ. ก็ตกเป็นสิทธิของทายาทของ อ. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วยเช่นกัน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถือว่ามีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดกจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 กลับกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินอีก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก และห้ามเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืม
การมีผู้จัดการมรดกแล้ว ก็หาตัดสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ ทั้งนี้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ โดยทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาท โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทจึงมีอำนาจฟ้อง อีกทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยังเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้ที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว ย่อมถือว่าผู้จัดการมรดกมีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องแล้วย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9574/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย: ผู้ฟ้องต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีหลังบรรลุนิติภาวะ
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า "คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็น...คำร้องขอ..." การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจึงเป็นคำฟ้อง
ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้องขอ) ดังนั้นปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป
ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 จึงเกินกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้องขอ) ดังนั้นปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรของ ป. หรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย หากผู้ร้องเห็นว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในการรับมรดกของ ป. อย่างไร ผู้ร้องต้องไปใช้สิทธิทางศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9362/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี มิใช่ศาลที่ดำเนินการบังคับคดีแทน
การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึด (คำร้องขัดทรัพย์) ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลที่ได้ออกหมายบังคับคดีคือ ศาลที่ได้พิจารณาและตัดสินคดีในชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 302 จะยื่นต่อศาลที่ดำเนินการบังคับคดีแทนศาลที่ออกหมายบังคับคดีไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลที่ออกหมายบังคับคดีคือศาลแพ่งไม่ใช่ศาลจังหวัดพิษณุโลก การที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทต่อศาลจังหวัดพิษณุโลกจึงเป็นการเสนอคำร้องขอต่อศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณา
พิพากษาคดี.
พิพากษาคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9362/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) และ 302
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคำร้องขัดทรัพย์ เป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ที่ต้องยื่นต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีตามมาตรา 302 ซึ่งบัญญัติว่า ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น ดังนั้น การยื่นคำร้องขัดทรัพย์จึงต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาและตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 302 จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ดำเนินการบังคับคดีแทนศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน, เนื้อที่ดินไม่ตรงตามสัญญา, อายุความ 10 ปี, ความรับผิดตามส่วน
โจทก์และจำเลยทั้งสามตกลงซื้อขายที่ดินรวม 4 แปลง เนื้อที่รวม 21 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา ต่อมาโจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินทั้ง 4 แปลง ปรากฏว่าที่ดินทั้งสี่แปลงมีเนื้อที่เพียง 18 ไร่ 92 ตารางวา ขาดหายไป 3 ไร่ 1 งาน 75 ตารางวา การที่จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินของตนมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ปรากฏในโฉนดแต่มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบในขณะทำการซื้อขาย จึงเป็นการปกปิดข้อเท็จจริง เป็นการกระทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์ ไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี โจทก์ยื่นฟ้องภายในระยะเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8912/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดอำนาจศาล: การออกข้อกำหนดโดยศาลต้องมีเหตุผลและชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) ประกอบ มาตรา 30 การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดๆ ตามมาตรา 30 ได้จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 ประการ คือ ออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วประการหนึ่ง และออกข้อกำหนดใดๆ โดยสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรประการที่สอง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลหรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรทั้งสองประการตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) ตามภาพถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาเอกสารหมาย ผ.1 นั้นก็ไม่ใช่การออกข้อกำหนดตามมาตรา 30 ดังนี้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จะนำเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงที่คัดลอกสำเนาจากเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงหมาย ร.35 และ ร.36 ไปให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เปิดเผยหรือไม่ ก็ไม่ทำให้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 30 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
อนึ่ง ปัญหาที่ว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) จะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยแต่อย่างใด
อนึ่ง ปัญหาที่ว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) จะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8506/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องคดีเช็ค: พิจารณาจากธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่ที่เกิดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็ค จึงต้องพิจารณาว่ามูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นศาลใด โจทก์มีอำนาจยื่นฟ้องที่ศาลนั้นได้ เมื่อธนาคารตามเช็คซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว ส่วนเช็คจะมีมูลหนี้หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเรื่องเขตอำนาจศาล เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของคู่ความ