คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 144

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าปรับรายวันเมื่อผู้ขายผิดสัญญา โดยการยอมผ่อนปรนและไม่ยอมผ่อนปรน
ตามสัญญาข้อ 8 เมื่อผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้ออาจบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ขายยังอาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้หรือไม่ ส่วนข้อ 9 ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายยังอาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จึงยอมให้ผู้ขายส่งของเมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาได้แต่ผู้ขายจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน นับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันส่งมอบเรียบร้อยเมื่อผู้ซื้อยอมผ่อนปรนให้เช่นนี้แล้ว ถ้าผู้ขายยังทำให้ผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อก็ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังนี้ เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาโดยส่งของไม่ถูกต้อง ผู้ซื้อก็แจ้งให้ผู้ขายนำของไปเปลี่ยนถึง 3 ครั้ง แสดงว่าผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 แต่ยอมให้ผู้ขายส่งมอบของได้แม้พ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งผู้ขายก็ไม่อาจจัดหาของมาส่งมอบได้ ผู้ซื้อจึงบอกเลิกสัญญา รูปคดีต้องปรับด้วยข้อ 9 ผู้ซื้อมีสิทธิริบหลักประกันและเรียกร้องเอาเงินค่าปรับเป็นรายวันจากผู้ขายได้
ส่วนจำนวนเบี้ยปรับนั้น เมื่อผู้ขายได้รับแจ้งว่าส่งของไม่ถูกต้องตามสัญญาก็มีหนังสือถึงผู้ซื้อขอยกเลิกสัญญาและยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาทุกประการ ผู้ซื้อไม่เลิกสัญญาโดยแจ้งว่าของมีขายในท้องตลาด ให้ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายขอเลิกสัญญาทุกครั้งที่ผู้ซื้อเตือนดังนี้ผู้ซื้อหาควรฝืนใจผู้ขายให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปอีกไม่น่าจะอนุมัติเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ จึงสมควรให้ผู้ซื้อได้รับเบี้ยปรับตั้งแต่วันที่ผู้ขายผิดสัญญาจนถึงวันที่ผู้ซื้อได้รับหนังสือขอยกเลิกสัญญาจากผู้ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าปรับรายวันเมื่อผู้ขายผิดสัญญา โดยพิจารณาถึงการผ่อนปรนและเหตุสุดวิสัย
ตามสัญญาข้อ 8 เมื่อผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้ออาจบอกเลิกสัญญาได้ทันทีโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ขายยังอาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้หรือไม่ ส่วนข้อ 9 ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายยังอาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จึงยอมให้ผู้ขายส่งของเมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาได้ แต่ผู้ขายจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน นับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันส่งมอบเรียบร้อยเมื่อผู้ซื้อยอมผ่อนปรนให้เช่นนี้แล้ว ถ้าผู้ขายยังทำให้ผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อก็ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังนี้ เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาโดยส่งของไม่ถูกต้อง ผู้ซื้อก็แจ้งให้ผู้ขายนำของไปเปลี่ยนถึง 3 ครั้ง แสดงว่าผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 แต่ยอมให้ผู้ขายส่งมอบของได้แม้พ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งผู้ขายก็ไม่อาจจัดหาของมาส่งมอบได้ ผู้ซื้อจึงบอกเลิกสัญญา รูปคดีต้องปรับด้วยข้อ 9 ผู้ซื้อมีสิทธิริบหลักประกันและเรียกร้องเอาเงินค่าปรับเป็นรายวันจากผู้ขายได้
ส่วนจำนวนเบี้ยปรับนั้น เมื่อผู้ขายได้รับแจ้งว่าส่งของไม่ถูกต้องตามสัญญาก็มีหนังสือถึงผู้ซื้อขอยกเลิกสัญญาและยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาทุกประการ ผู้ซื้อไม่เลิกสัญญาโดยแจ้งว่าของมีขายในท้องตลาด ให้ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายขอเลิกสัญญาทุกครั้งที่ผู้ซื้อเตือนดังนี้ผู้ซื้อหาควรฝืนใจผู้ขายให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปอีกไม่น่าจะอนุมัติเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ จึงสมควรให้ผู้ซื้อได้รับเบี้ยปรับตั้งแต่วันที่ผู้ขายผิดสัญญาจนถึงวันที่ผู้ซื้อได้รับหนังสือขอยกเลิกสัญญาจากผู้ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชดเชยค่าก่อสร้างตามมติ ครม. ต้องส่งมอบงานหลัง 24 มิ.ย. 2517 แม้ต่ออายุสัญญา ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับปรุงราคาค่าก่อสร้างสถานที่ราชการเฉพาะงานก่อสร้างที่ค้างอยู่ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน2517 เพื่อเป็นการชดเชยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างเนื่องจากเกิดวิกฤติกาลน้ำมันในปี พ.ศ.2517โดยให้คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศมีอำนาจวินิจฉัยข้อหารือจากส่วนราชการได้ตามที่เห็นสมควร และคณะกรรมการดังกล่าวได้ให้ความหมายงานส่วนที่ยังค้างอยู่ตามมติของคณะรัฐมนตรีว่าหมายถึงงวดงานที่ส่งมอบภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517และให้ถือเอาวันที่ผู้รับเหมาส่งมอบงานจริง ดังนั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะได้รับชดเชยค่าก่อสร้างจะต้องมีงวดงานที่ส่งมอบจริงภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517
งานงวดที่โจทก์ขอเงินค่าชดเชยนี้ โจทก์มีหนังสือส่งมอบงานก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2517 แม้การส่งมอบงานงวดดังกล่าวคณะกรรมการยังไม่รับมอบเพราะงานยังไม่แล้วเสร็จและมาแล้วเสร็จภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน2517 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบงานภายหลังวันที่ 24มิถุนายน 2517 และการที่โจทก์ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุสัญญาก็ถือได้เพียงว่าโจทก์มิได้ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดเท่านั้น แต่การส่งงวดงานตามสัญญาก็ต้องถือตามเจตนาของโจทก์ที่ได้ส่งไว้แล้วก่อนวันที่ 24 มิถุนายน2517 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคู่สัญญากับโจทก์และเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องเงินชดเชยค่าก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในมติของคณะรัฐมนตรีแล้วเสนอเรื่องเพื่อขอรับงบประมาณเท่านั้น มิได้มีอำนาจอนุมัติดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะได้แจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 อนุมัติในหลักการที่โจทก์ขอรับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดเชยค่าก่อสร้างตามมติ ครม. ต้องส่งมอบงานหลัง 24 มิ.ย. 2517 แม้ต่ออายุสัญญา ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปรับปรุงราคาค่าก่อสร้างสถานที่ราชการเฉพาะงานก่อสร้างที่ค้างอยู่ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2517 เพื่อเป็นการชดเชยค่าก่อสร้างให้แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างเนื่องจากเกิดวิกฤติกาลน้ำมันในปีพ.ศ.2517โดยให้คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบก่อสร้างสถานที่ราชการและถาวรวัตถุของประเทศมีอำนาจวินิจฉัยข้อหารือจากส่วนราชการได้ตามที่เห็นสมควร และคณะกรรมการดังกล่าวได้ให้ความหมายงานส่วนที่ยังค้างอยู่ตามมติของคณะรัฐมนตรีว่าหมายถึงงวดงานที่ส่งมอบภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517และให้ถือเอาวันที่ผู้รับเหมาส่งมอบงานจริง ดังนั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะได้รับชดเชยค่าก่อสร้างจะต้องมีงวดงานที่ส่งมอบจริงภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517
งานงวดที่โจทก์ขอเงินค่าชดเชยนี้ โจทก์มีหนังสือส่งมอบงานก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2517 แม้การส่งมอบงานงวดดังกล่าวคณะกรรมการยังไม่รับมอบเพราะงานยังไม่แล้วเสร็จและมาแล้วเสร็จภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2517 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการส่งมอบงานภายหลังวันที่ 24มิถุนายน 2517 และการที่โจทก์ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุสัญญาก็ถือได้เพียงว่าโจทก์มิได้ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดเท่านั้น แต่การส่งงวดงานตามสัญญาก็ต้องถือตามเจตนาของโจทก์ที่ได้ส่งไว้แล้วก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2517 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคู่สัญญากับโจทก์และเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องเงินชดเชยค่าก่อสร้างตามที่กำหนดไว้ในมติของคณะรัฐมนตรีแล้วเสนอเรื่องเพื่อขอรับงบประมาณเท่านั้น มิได้มีอำนาจอนุมัติดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะได้แจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 อนุมัติในหลักการที่โจทก์ขอรับเงินชดเชยค่าก่อสร้าง ก็ไม่ทำให้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดเชยค่าก่อสร้าง: การตีความเงื่อนไขการจ่ายเงิน การอนุมัติงวดเงินเป็นวิธีการจ่าย ไม่ใช่เงื่อนไข
ข้อความในสัญญาที่ว่า "ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้างเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว" นั้นไม่ใช่เป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินชดเชยว่าจะจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างต่อเมื่อสำนักงบประมาณอนุมัติให้จ่าย หากไม่รับอนุมัติก็ไม่ต้องจ่าย แต่เป็นวิธีการที่จะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: การจ่ายเงินเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการจ่าย
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า "ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว" จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้างคือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: ข้อกำหนดการจ่ายเงินไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการชำระหนี้ และประเด็นอายุความที่ไม่อุทธรณ์ในชั้นต้น
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า " ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว " จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้าง คือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สิทธิเมื่อชี้ช่องได้ผู้ซื้อ แม้เลิกสัญญา & ข้อตกลงพิเศษส่วนเกิน
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้ สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์สองจำนวน คือ ถ้าโจทก์ขายได้ราคาเกินกว่า 3,500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์จำนวนหนึ่ง กับบำเหน็จร้อยละ 5 ของราคา 3,500,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งโจทก์ได้ชี้ช่องให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับผู้ซื้อแล้ว ในราคา 5,000,000 บาท เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้จำเลยจะตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อในภายหลัง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ดิน 3,500,000 บาทจากจำเลย ส่วนเงิน 1,500,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้กับข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้คู่สัญญาตกลงกันว่าถ้าโจทก์ขายได้สูงกว่านั้นก็ให้โจทก์รับไป ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการ กรณีนี้คู่กรณีตกลงเลิกสัญญากันหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบำเหน็จนายหน้า: สิทธิเมื่อชี้ช่องซื้อขายสำเร็จ แม้เลิกสัญญา แต่เงินส่วนเกินพิเศษต้องมีเงื่อนไขชัดเจน
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้ สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์สองจำนวน คือ ถ้าโจทก์ขายได้ราคาเกินกว่า3,500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์จำนวนหนึ่งกับบำเหน็จร้อยละ 5 ของราคา 3,500,000 บาทอีกจำนวนหนึ่งโจทก์ได้ชี้ช่องให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับผู้ซื้อแล้วในราคา 5,000,000 บาท เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้จำเลยจะตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อในภายหลัง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ดิน 3,500,000 บาทจากจำเลย ส่วนเงิน 1,500,000 บาทอีกจำนวนหนึ่งนั้นเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้กับข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้คู่สัญญาตกลงกันว่าถ้าโจทก์ขายได้สูงกว่านั้นก็ให้โจทก์รับไป ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการ กรณีนี้คู่กรณีตกลงเลิกสัญญากันหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นประกัน การเซ้งห้องและหน้าที่ชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน
ผู้กู้เอาสิทธิการเช่าเป็นประกัน ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าถ้าเซ้งห้องนี้ได้เมื่อใดจะใช้หนี้ให้ทันที ข้อสัญญานี้ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระหนี้ แต่เป็นข้อตกลงให้ดำเนินการเซ้งห้องแถวแล้วนำเงินมาใช้หนี้ ผู้ค้ำประกันรับเซ้งห้องแถวได้ จึงต้องใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้
of 12