พบผลลัพธ์ทั้งหมด 294 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พนักงานสอบสวนฟัง พนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้ที่คิดตั้งข้อหาขึ้นเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการรับแจ้งความ ครั้งแรกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากระทำอนาจารและทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไปรวมทั้งสอบปากคำผู้เสียหายแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดในข้อหากรรโชกอีกในคราวเดียวกันด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาได้
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11351/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานครอบครองยาเสพติด โดยการฟ้องจำกัดเฉพาะกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 149 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว 2 เม็ด คดีของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง ส่วนความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ความผิดฐานนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 145 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 149 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงกรรมเดียว มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นอีกกรรมหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษ จำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกรรมหนึ่งจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนเวนคืนที่ดิน: การฟ้องเรียกค่าทดแทนซ้ำกับคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และการไม่กระทบสิทธิจากความล่าช้าของรัฐ
คดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมทั้งดอกเบี้ย เป็นเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลง สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น ค่าเสียหายเนื่องจากต้องรื้อถอนสาธารณูปโภคและขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มในรายการและจำนวนเงินเดียวกันกับคดีก่อนพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น จำเลยทั้งสองในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9602/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินทอนจากการล่อซื้อยาเสพติด: เงินทอนถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องริบตามกฎหมาย
เงินทอนของกลางในการล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9602/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด ศาลริบเงินทอนจากการซื้อขาย
เงินทอน 10 บาท ของกลางที่สายลับใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 102
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานเด็ดขาดการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย, อายุความความผิดปรับ, และการแก้ไขคำพิพากษา
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 15 เม็ด ของกลางเป็นแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนที่ผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ มีน้ำหนักรวม 4.480 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.457 กรัม กรณีต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่า เป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย... (2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป..." ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด แม้ทางนำสืบของโจทก์จะได้ความเพียงว่า มีผู้แจ้งว่าจำเลยจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่ส่อแสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษก็ตาม จำเลยก็มีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มกราคม 2547 คดีของโจทก์ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว ปัญหาข้างต้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215, 225
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเกินแปดหมื่นบาท โดยพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ เช่นนี้จะกักขังเกิน 1 ปี ไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในชั้นบังคับตามคำพิพากษา
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มกราคม 2547 คดีของโจทก์ในความผิดดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว ปัญหาข้างต้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215, 225
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยเกินแปดหมื่นบาท โดยพิพากษาว่าไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกิน 1 ปี หรือไม่ เช่นนี้จะกักขังเกิน 1 ปี ไม่ได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุในคำพิพากษาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาในชั้นบังคับตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษหลายกระทง, ลดโทษที่ถูกต้อง, และการลงโทษปรับควบคู่จำคุกในคดีอาญา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เพิ่งจะบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แต่คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยทั้งสองซึ่งมีอายุ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ย้อนหลังดังนั้น การสอบสวนและจัดทำบันทึกการสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมย่อมชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นแล้ว
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีอาญา ถือเป็นการฎีกาต้องห้าม
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมอันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มารา 104 (2) แม้ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เป็นกฎหมายเฉพาะ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ ดังนั้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/53)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/53)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่จำกัดเฉพาะการโต้แย้งดุลพินิจวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงว่าขอให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปให้บิดามารดาดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ยังคงเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นให้ส่งตัวจำเลยที่ 1 ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมเช่นเดิม เพียงแต่แก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรม อันเป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.104 (2) ดังนี้แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 จะโต้แย้งว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด แต่ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้ศาลมอบตัวจำเลยที่ 1 ให้บิดามารดาเพื่อดูแลแทนการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมอันเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามตามมาตรา 124 ประกอบมาตรา 121 และไม่มีบทบัญญัติใดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้เหมือนในชั้นอุทธรณ์ และแม้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง แต่ไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนี้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่จึงไม่รับวินิจฉัย
(มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2553)
(มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดแจ้ง, ดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมผิดกฎหมาย, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยขาดไป 1 หน้า จำเลยอาจจะติดต่อขอรับจากศาลหรือขอคัดถ่ายเอกสารจากศาลได้ ไม่ทำให้คำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้
การประกอบธุรกิจของโจทก์อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 การเรียกดอกเบี้ยจะต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งในขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์รวมทั้งโจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้จะต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วส่งสำเนาประกาศไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงินจากจำเลยอัตราร้อยละ 0.5 ของวงเงินที่กู้หรือ 1,500 บาท โดยหักจากต้นเงินที่จะจ่ายให้แก่จำเลย
ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยของโจทก์มิได้กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับในกรณีชำระล่าช้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับในการชำระเงินล่าช้าได้