คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เพลินจิต ตั้งพูลสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานและคำรับสารภาพ
จำเลยที่ 2 เป็นสามีจำเลยที่ 1 เมื่อ ส. สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งให้ ส. จำเลยที่ 1 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับก่อนส่งมอบ แม้การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนยังไม่สำเร็จบริบูรณ์แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองก็เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน จึงเป็นความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาดเกินกำหนด และการขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของอื่นที่ไม่ระบุในคำร้อง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 และขายทอดตลาดได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2545 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด แม้โจทก์นำยึดสิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 อีกคราวหนึ่งและไม่ได้มีการขายทอดตลาดก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องก็มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านได้ แต่ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำร้องและมิได้มีคำขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของดังกล่าวมาในท้ายคำร้องด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของภายในบ้านได้ เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เป็นบุพการีในฐานะกรรมการบริษัท – ข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้..." อันเป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัท จำเลยทั้งสามอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท ร่วมกันจงใจทำหลักฐานอันเป็นเท็จว่า บริษัทเป็นหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่บริษัท โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกันกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้องหากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาก็เป็นเงินของบริษัทมิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องกรรมการบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้น: ไม่ขัดต่อมาตรา 1562 ป.พ.พ. หากฟ้องเรียกค่าเสียหายให้บริษัท
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นปู่ของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ท. และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกับกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้อง หากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหา ก็เป็นเงินของบริษัท มิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ประเภทยาเสพติดที่แตกต่างกัน และการรับฟังคำรับสารภาพที่ต้องอาศัยหลักฐานสนับสนุน
ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ มาตรา 13 ศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมโจทก์และจำเลย และโจทก์ส่งรายงานตรวจวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษของกลางเอกสารหมาย จ. 1 ต่อศาลโดยคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงและไม่คัดค้านผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 9 นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ ดังกล่าว เพราะมิใช่เป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานสืบเสาะและพินิจจำเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการสืบเสาะไม่เป็นพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประเภทยาเสพติด
เมื่อพนักงานคุมประพฤติส่งรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยให้แก่ศาลแล้วศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฎในรายงานดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติฯ มาตรา 13 เท่านั้น โดยจะนำมารับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
of 6