พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914-4915/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายชำระค่าผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยจากการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วมซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การออกเช็คทั้งสองฉบับของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดก
บันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรส เจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่ผู้คัดค้านและผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งผู้คัดค้านและผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ทั้งบันทึกด้านหลังทะเบียนสมรสนายทะเบียนได้ทำในวันและเวลาเดียวกันต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงถือว่าผู้คัดค้านและผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสในเรื่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนยังไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้การจดทะเบียนสมรสนั้นไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) และ 1585 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 22 ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดานั้น มิได้บังคับว่า ความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ม. ซึ่งเป็นมารดาของเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. ได้ให้ความยินยอมในการที่ผู้ตายจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. เป็นบุตรบุญธรรม แม้ ม. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของผู้ตายก็ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
เด็กหญิง อ. และเด็กชาย ส. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1586 (เดิม) หรือ 1598/28 (ใหม่) และถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 ย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (1) ตามมาตรา 1629 ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับ (3) จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจร้องขอจัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4160/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่าง และประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด คือ ปลอมแผ่นป้ายวงกลมเสียภาษีรถยนต์ประจำปี 2541 อันเป็นเอกสารราชการ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ที่แท้จริง และใช้แผ่นป้ายวงกลมเสียภาษีรถยนต์ประจำปี 2541 ที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปติดไว้ที่กระจกหน้ารถยนต์ และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น รวมทั้งบรรยายถึงพฤติการณ์การกระทำของจำเลยด้วยว่า กระทำปลอมโดยวิธีใดและใช้โดยวิธีใด คำฟ้องของโจทก์จึงครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอม จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ไม่ได้อุทธรณ์ว่าไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาเพียงว่า ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้เอกสารราชการปลอม จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารปลอม จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ไม่ได้อุทธรณ์ว่าไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาเพียงว่า ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้เอกสารราชการปลอม จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางเป็นภาระจำยอมโดยอายุความต้องเป็นการใช้ในลักษณะปรปักษ์ มิใช่ด้วยความยินยอมหรือความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
การใช้ทางที่จะเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความนั้น โจทก์ต้องได้ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยได้รับความยินยอมจาก พ. เจ้าของเดิม การที่โจทก์เอาหินกรวดมาทำถนนบนทางพิพาทเท่ากับเป็นการถือวิสาสะที่อาศัยความเกี่ยวพันในฐานะที่จำเลยจะเข้ามาเป็นเครือญาติของโจทก์เป็นสำคัญ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ต่อจำเลยตามมาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า 10 ปี ทางพิพาทก็หาตกเป็นทางภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินในที่สาธารณประโยชน์ ความผิดตาม พ.ร.บ.ที่ดิน และการไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้รถแบ๊กโฮขุดตักดินในที่สาธารณประโยชน์ อันเป็นการทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทรายในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา ต่อมาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธาน สภาตำบลได้จัดทำบันทึกการประชุมสภาตำบลอันเป็นเท็จว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการขุด ตักดินได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 มิใช่เป็นการเตรียมทำเอกสารไว้ก่อนมีการขุดตักดินในที่สาธารณประโยชน์หรือ นำไปใช้อ้างอิงในการขุดตักดินดังกล่าว อันจะเป็นการแสดงเจตนาในการมีส่วนร่วมเข้าไปขุดตักดินในที่ สาธารณประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 3 ไม่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิด กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9 (2) ประกอบมาตรา 108 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้อง, อำนาจศาล, และพยานหลักฐานใหม่
การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มีขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการตรวจคำร้อง ขั้นตอนที่สองเป็นการไต่สวนคำร้อง และขั้นตอนที่สามเป็นการพิจารณาเนื้อหาของคำร้อง โดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาคดีนั้น และมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน (ปัจจุบันเป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว) และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้ โดยอนุโลม ดังนั้น การตรวจคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ป.วิ.อ. มาตรา 161 โดยคำร้องต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ซึ่งศาลชั้นต้นต้องตรวจคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ว่า ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ไม่ปรากฏเหตุที่จะร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะไม่ทำการไต่สวนคำร้องก็ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง โดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนี้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น กับให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้อง และให้ไต่สวนคำร้องต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาคำร้องและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องคดีปกครอง: การไม่เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วันหลังมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสี่ กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำร้องแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2541 โจทก์ต้องเสนอคดีต่อศาลภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 เป็นการเสนอคดีต่อศาลเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2804/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และผลกระทบจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีการประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ยกเลิกความในมาตรา 15 และ มาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่เงื่อนไขที่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามกฎหมายเดิม มาตรา 15 วรรคสอง เป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ มาตรา 15 วรรคสาม (2) จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในส่วนที่เป็นบทความผิดบังคับแก่จำเลย ซึ่งตามฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 55 เม็ด น้ำหนัก 4.880 กรัม และอีก 1 ชิ้นไม่ทราบน้ำหนักเท่านั้นไม่เข้าข้อสันนิษฐานตาม มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ที่ว่าการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งพยานโจทก์ชุดจับกุมเบิกความแต่เพียงว่า ค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ดอยู่ในถุงพลาสติกม้วนอยู่ใต้กางเกงชั้นในวางอยู่ที่พื้นข้างตู้ใส่พระเครื่อง และค้นพบเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 50 เม็ดใส่ถุงพลาสติกซ่อนอยู่ใต้ดินในเล้าหมู ส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคงมีเพียงคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนเท่านั้น โดยไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยจะนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ผู้ใด ที่ไหน อย่างไร แม้โจทก์จะนำสืบว่าในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ แต่คำรับสารภาพดังกล่าวเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยในการรับฟัง นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมซ้อม โดยมีบันทึกข้อความซึ่งพยาบาลเทคนิครับรองอาการบาดเจ็บของจำเลย ทั้งจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่เคยลงลายมือชื่อในเอกสารใดให้เจ้าพนักงานตำรวจ ดังนั้น บันทึกการตรวจค้นจับกุมและบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังโดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง คงรับฟังได้แต่เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ดไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณมูลค่าทรัพย์มรดกและข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่ เป็นการฟ้องเรียกให้ได้ทรัพย์มรดกกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันราคา 201,000 บาท ที่ดินของโจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง, ฟ้องเพิกถอนนิติกรรม, ทรัพย์มรดก
การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสี่เป็นการฟ้องเรียกให้ได้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสี่ คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นคดีที่มีคำปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท และโจทก์ทั้งสี่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์จำนวน 60,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ด้วย จึงเป็นหนี้อันอาจแบ่งแยกได้ แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตนเมื่อที่ดินทรัพย์มรดกที่โจทก์ทั้งสี่ตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมามีราคา 201,000 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ที่ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนตามส่วนเท่าๆ กัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนที่ดินมรดกไปเป็นของจำเลยทั้งสี่และ ค. หรือจัดการอย่างใดก็ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดก โดยศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 มิให้ได้รับมรดก เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องที่ฝ่าฝืนและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ที่ 1 และที่ 4 ให้โอนที่ดินดังกล่าวแก่ ค. แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ดี ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 นอกจากนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่โดยอาศัยข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการที่โอนที่ดินพิพาท เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ที่ว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกต้องมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนตามส่วนเท่าๆ กัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนที่ดินมรดกไปเป็นของจำเลยทั้งสี่และ ค. หรือจัดการอย่างใดก็ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดก โดยศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 1 มิให้ได้รับมรดก เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้หยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องที่ฝ่าฝืนและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ที่ 1 และที่ 4 ให้โอนที่ดินดังกล่าวแก่ ค. แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ดี ล้วนแต่เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ทั้งสิ้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 นอกจากนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่โดยอาศัยข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ทั้งสี่ในข้อกฎหมายที่ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการที่โอนที่ดินพิพาท เป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปด้วย