คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นันทชัย เพียรสนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีและการไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีคำร้องขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คีดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นคำสั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีและอำนาจศาลในการรับคำร้องขอวินิจฉัยความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดนนทบุรี คำสั่งศาลจังหวัดนนทบุรีที่ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งก่อนศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม ต้องถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นคู่ความในคดีมรดก: การรับมรดกสิทธิเฉพาะตัว และการจำหน่ายคดีเมื่อคู่ความถึงแก่กรรม
การขอตั้งผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของคู่ความที่ถึงแก่กรรมได้ เพราะการขอเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านถือได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถึงแก่กรรม น. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ น. เข้ามาเป็นคู่ความแทน และศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาผู้คัดค้านที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การวางค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ทำให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติ ถ้าคู่ความไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาล และผลของการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 234 หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยมิได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: คำพิพากษาให้ขนย้ายทรัพย์สินครอบคลุมถึงการรื้อถอน
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท พร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จำเลยทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมส่งมอบคืนให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยตามคำพิพากษาถ้าจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติ โจทก์ย่อมขอให้บังคับให้ปฏิบัติได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอให้เพิ่มเติมคำว่า "รื้อถอน" ลงในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสัญญาแบ่งมรดกไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ผู้จัดการมรดกไม่ได้ระบุทรัพย์สินทั้งหมด การปิดบังทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยมิได้ระบุว่ามีที่ดิน 2 แปลงด้วย แต่ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องก็ระบุเพียงว่า ผู้ร้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อโอนซื้อผู้ครอบครองรถยนต์กระบะเป็นของทายาทตามเจตนาของเจ้าของมรดก แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนเท่านั้นโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ระบุว่านอกจากทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีก จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. – การใช้เอกสารปลอมในการสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้ขาดคุณสมบัติ
หนังสือสำคัญรับรองการสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านยื่นเป็นหลักฐานต่อผู้ร้องในวันสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นเอกสารปลอม ซึ่งเท่ากับว่าในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านนั้น ผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามาแสดงต่อผู้ร้อง ซึ่งในกรณีของผู้คัดค้านที่ไม่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภานั้น พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติให้ต้องแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าต่อผู้ร้องเมื่อยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งด้วย เมื่อผู้คัดค้านไม่มีหลักฐานการสำเร็จการศึกษาดังกล่าวมาแสดงในวันยื่นใบสมัครรับเลือกตั้ง ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (3) ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีหรือไม่ เพราะไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12412/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดไต่สวนเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2) จึงจะอุทธรณ์ได้
ในการไต่สวนคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานผู้ร้องได้ 1 ปากและผู้ร้องอ้างส่งพยานเอกสาร 4 ฉบับ แล้วเห็นว่าสามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและให้นัดฟังคำสั่งหลังจากนั้นอีกหลายวัน โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีดังนี้ คำสั่งที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดต้องการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) เมื่อผู้จัดการมรดกมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12060/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม คดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ให้ประหารชีวิต คำให้การรับสารภาพของจำเลยชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 (1) คงจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายืน ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่อาจจะฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288
of 12