พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์ใช้มีดทำร้ายศีรษะผู้เสียหายจนกะโหลกแตกร้าว ถือเป็นการพยายามฆ่า เล็งเห็นผลอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผล คือ 1) บาดแผลฉีกขาดที่บริเวณด้านบนศีรษะข้างซ้ายค่อนมาทางกึ่งกลางศีรษะยาว 7 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกศีรษะ 2) บาดแผลที่ศีรษะด้านขวาเหนือใบหูยาว 7 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลดศีรษะ 3) บาดแผลที่ต้นคอด้านหลังขวายาว 5 เซนติเมตร 4) บาดแผลที่มือซ้ายตรงฐานนิ้วก้อยยาว 2 เซนติเมตร และบริเวณปลายนิ้วนางยาว 4 เซนติเมตร และได้ความจากนายแพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้เสียหายว่าบาดแผลหลักหรือบาดแผลสำคัญคือบาดแผลดังกล่าว ซึ่งแสดงว่าถูกฟันหลายครั้งแต่ไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ทันที แต่ถ้าไม่รักษาอาจจะเกิดการติดเชื้อทำให้ถึงแก่ความตายได้ แม้ทางการแพทย์จะถือว่าไม่ร้ายแรง แต่การที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดเฉพาะที่ยึดได้จากจำเลยยาว 15 นิ้ว กว้าง 2.5 นิ้ว เป็นอาวุธฟันที่ศีรษะผู้เสียหายอันเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรงถึงกับกะโหลกศีรษะแตกร้าว ทั้งเป็นมีดที่มีขนาดใหญ่อาจใช้ทำร้ายคนให้ถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงตำแหน่งและสภาพของบาดแผลดังกล่าวที่ต้องใช้เวลาในการรักษาบาดแผลนานประมาณ 6 สัปดาห์ ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจติดเชื้อเป็นอันตรายถึงแก่ความตายได้ ย่อมแสดงว่าจำเลยกับพวกฟันผู้เสียหายโดยแรงบริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการทำร้ายผู้เสียหายโดยใช้มีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธฟันลงไปที่ศีรษะโดยแรงเช่นนี้ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา: การพิจารณา 'ไตร่ตรองไว้ก่อน' จากพฤติการณ์และเหตุผลในการกระทำ
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ข้อเท็จจริงจะต้องได้ความว่า ก่อนทำการฆ่าผู้กระทำผิดได้คิดวางแผนและไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำผิดไม่ใช่กระทำไปโดยปัจจุบันทันด่วน และการไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุเกี่ยวกับเจตนาส่วนตัวของผู้กระทำผิดซึ่งต้องดูการกระทำเป็นสำคัญเพราะกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสาเหตุที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ก็เนื่องจากจำเลยต้องการให้ น. กลับไปอยู่กินกับจำเลยอีก เพราะก่อนหน้านี้จำเลยและบุตรกับ น. ก็ยังไปมาหาสู่กันอยู่แต่ น. ปฏิเสธ ต่อมาหลังจากจำเลยพูดคุยกับผู้ตายนาน 3 ถึง 4 นาที ผู้ตายไล่ให้จำเลยออกไปจากบ้านที่เกิดเหตุ มิฉะนั้นจะเรียกเจ้าพนักงานตำรวจมาจัดการ คำพูดดังกล่าวของผู้ตายในลักษณะไล่จำเลยให้ออกไปจากบ้านนั้นย่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้จำเลยโกรธ ซึ่งเกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนและใช้อาวุธปืนพกยิงผู้ตาย 1 นัด ซึ่งหากจำเลยได้คิดวางแผนไตร่ตรองทบทวนมาก่อนว่าจะไปยิงผู้ตาย เมื่อไปถึงบ้านที่เกิดเหตุและพบผู้ตายก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับ น. เพื่อชักชวนให้ น. กลับไปอยู่กินกับจำเลยอีก และไม่จำเป็นที่จะต้องซักถามผู้ตายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับ น. น่าจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันทีแต่ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7146/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การแทงผู้ชายที่อยู่กินกับภรรยาตนเอง
การที่จำเลยยังคงติดตามให้ จ. กลับไปอยู่กับจำเลยและบุตรเมื่อจำเลยไปพบเห็น จ. กับผู้เสียหายอยู่กันตามลำพังในห้องน้ำในคืนเกิดเหตุ นับได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายได้กระทำการอันเป็นการข่มเหงในทางจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและจำเลยย่อมเกิดอารมณ์หึงหวงในฐานะที่ตนเองเป็นสามีของ จ. อยู่และบันดาลโทสะขึ้นในขณะนั้นจึงได้ใช้มีดแทงผู้เสียหาย ซึ่งแม้จำเลยแทงผู้เสียหายครั้งแรกในห้องน้ำ และแทงผู้เสียหายครั้งต่อๆ มาที่ประตูหน้าบ้าน แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องติดพันกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามประมวลอาญา มาตรา 72
จ. ยังเป็นภริยาจำเลย แต่การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อตามหา จ. โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายมีความสัมพันธ์กันในทางใด ทั้งจำเลยก็ไม่เคยพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งมิได้วางแผนเตรียมมีดของกลางเพื่อที่จะไปแทงผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายแล้วจำเลยไปพบว่าผู้เสียหายอยู่ในห้องน้ำกับ จ. เพียงสองต่อสอง จึงหยิบมีดที่พบวางอยู่ไปแทงผู้เสียหาย การบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายกับการแทงผู้เสียหายจึงเป็นเจตนาที่มิได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เกิดขึ้นเป็นสองครั้งแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน โดยเป็นความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนกรรมหนึ่งและพยายามฆ่าอีกกรรมหนึ่ง
จ. ยังเป็นภริยาจำเลย แต่การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อตามหา จ. โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายมีความสัมพันธ์กันในทางใด ทั้งจำเลยก็ไม่เคยพักอาศัยอยู่กับผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยพลการ จึงเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยมิได้มีเจตนาแต่แรกที่จะเข้าไปทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งมิได้วางแผนเตรียมมีดของกลางเพื่อที่จะไปแทงผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุ แต่เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายแล้วจำเลยไปพบว่าผู้เสียหายอยู่ในห้องน้ำกับ จ. เพียงสองต่อสอง จึงหยิบมีดที่พบวางอยู่ไปแทงผู้เสียหาย การบุกรุกเข้าไปในบ้านผู้เสียหายกับการแทงผู้เสียหายจึงเป็นเจตนาที่มิได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เกิดขึ้นเป็นสองครั้งแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน โดยเป็นความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนกรรมหนึ่งและพยายามฆ่าอีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากเนรคุณ ต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้รับประพฤติเนรคุณจริง และผู้ให้มิได้อยู่ในสภาพยากไร้
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยประพฤติเนรคุณเป็น 2 ประการ ประการแรกจำเลยขับไล่และด่าว่าโจทก์ว่า "แก่แล้วทำไมไม่ตายเสียที น่าจะตายให้พ้น ๆ ไป จะได้ไม่เป็นภาระคนอื่น" ประการที่สอง จำเลยไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ทั้ง ๆ ที่จำเลยสามารถจะหยิบยื่นให้ได้ อันเป็นเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) และ (3) ตามลำดับ แต่เหตุประการแรกโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยด่าว่าโจทก์อย่างไรบ้างที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) ส่วนเหตุในประการที่สองโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูและไม่ให้ค่าเลี้ยงชีพเมื่อโจทก์ขอ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยังมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอีกอย่างน้อย 1 แปลง และโจทก์ยังมีบุตรคนอื่น ๆ ให้การอุปการะเลี้ยงดูอีกด้วย ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3) กรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนคืนการให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5927/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความและผลกระทบจากการตัดถนน-การจดทะเบียนสิทธิ
โจทก์ทั้งสี่ใช้ลำรางพิพาทในการชักน้ำเข้านาที่ดินพิพาท แล้วขุดเป็นบ่ออยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว จากนั้นโจทก์ทั้งสี่ใช้ระหัดวิดน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำชักน้ำเข้าไปยังที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้มาซึ่งภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี แล้ว แม้จะได้ความว่ามีลำรางพิพาทถึงที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีการชักน้ำเข้าไปโดยการใช้ระหัดวิดน้ำหรือเครื่องสูบน้ำจากที่ดินพิพาทแต่ก็อยู่ในลักษณะที่ลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสามต้องรับกรรม หรือรับภาระเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ที่อยู่ถัดไปด้วยเช่นกัน เพราะสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องภาระจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ก็ดี ก็ตกเป็นภาระจำยอมได้ ที่ดินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ทั้งหกแปลงในการใช้ลำรางพิพาทโดยอายุความ
สิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 ต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ ซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะต้องรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 จึงไม่อาจนำมาตรา 1299 วรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
สิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 ต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ ซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะต้องรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 จึงไม่อาจนำมาตรา 1299 วรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุทำร้ายร่างกาย, การประเมินค่าเสียหาย, ค่าทนายความ และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เยาว์และเป็นผู้เสียหาย โดยมีโจทก์ที่ 2 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายในฐานะส่วนตัวและในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยจงใจ เป็นการละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และบรรยายฟ้องถึงค่าเสียหาย 3 ประการ คือ ประการที่ 1 ค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาล บ. เป็นเงิน 3,120 บาท ประการที่ 2 ค่ารถยนต์แท็กซี่ในการเดินทางของโจทก์ที่ 1 จากบ้านไปโรงเรียนหรือโรงพยาบาลเป็นเงิน 6,300 บาท และประการที่ 3 ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้มือซ้ายยกเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้เหมือนคนปกติตลอดชีวิตเป็นเงิน 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 309,420 บาท ซึ่งการที่โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 ถูกจำเลยที่ 1 บุตรของจำเลยที่ 2 ใช้มีดฟันที่ข้อมือซ้ายได้รับบาดเจ็บสาหัส โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีหน้าที่ดูแลจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าเดินทางต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เมื่อต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จ่ายไปจากผู้ที่ทำละเมิดคือจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรง แม้ในคำฟ้องระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสอง แต่คำว่าโจทก์ย่อมหมายถึงโจทก์ทั้งสอง ซึ่งรวมถึงโจทก์ที่ 2 ด้วย โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายประการที่ 1 และประการที่ 2 จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรง ส่วนค่าเสียหายประการที่ 3 โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เสียหายโดยตรง โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเฉพาะประการที่ 3 จากจำเลยทั้งสองเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขบวนการค้ายาเสพติด: การรับสารภาพของผู้ร่วมขบวนการเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน และการลดโทษตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 46,000 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 นอกจากร่วมกันกับจำเลยอื่นมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยที่ 5 และที่ 6 ยังร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอีก 2,000 เม็ด โดยถือว่าเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดเป็นจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้องจริง โดยจำเลยที่ 5 รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 6 แล้วมอบให้จำเลยที่ 3 จากนั้นจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำไปมอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายไปแบ่งปันกันเป็นทอดๆ อันมีลักษณะของการกระทำความผิดเป็นขบวนการ
ในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่า ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 3 เมื่อจับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 3 รับว่ารับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 5 และเมื่อจับจำเลยที่ 5 ได้ จำเลยที่ 5 รับว่ารับแมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ช่วยติดต่อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถวางแผนขยายผลการจับกุมจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ร่วมขบวนการค้ายาเสพติดให้โทษในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
ในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่า ในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 รับว่าจำเลยที่ 1 รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 3 เมื่อจับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 3 รับว่ารับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 5 และเมื่อจับจำเลยที่ 5 ได้ จำเลยที่ 5 รับว่ารับแมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ช่วยติดต่อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถวางแผนขยายผลการจับกุมจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ผู้ร่วมขบวนการค้ายาเสพติดให้โทษในคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทจ่ายเช็คพิรุธ, ผู้ฝากประมาทเลินเล่อตรวจสอบบัญชี, ความรับผิดทางละเมิดและสัญญาฝากทรัพย์
จำเลยเป็นผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจึงย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบรายการในเช็คว่าถูกต้องหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คบางฉบับให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ในเช็คมีความพิรุธปรากฏอยู่ จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อันเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 แต่เมื่อเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นจึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรเมื่อความพิรุธในเช็คที่น่าจะตรวจสอบพบมีหนึ่งในสาม ส่วนอีกสองในสามมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หนึ่งในสามส่วนของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนสิ่งปลูกสร้างที่ล่าช้าและไม่ครบถ้วน การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อขอเวนคืนทั้งหลัง
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ซึ่งจำเลยได้เรียกโจทก์มาทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนที่ดินเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 ฝ่ายจำเลยควรจะดำเนินการสำรวจอย่างจริงจังว่าสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ถูกเวนคืนและต้องรื้อถอนในส่วนใดบ้าง ควรได้รับเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างจำนวนเท่าใดแล้วกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างในเวลาเดียวกันหรือเวลาใกล้เคียงกับที่ดำเนินการกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน แต่หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ ปล่อยเวลาในล่วงเลยไปจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2542 จึงได้ประมาณราคาค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงนำการประมาณราคาดังกล่าวมากำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2543 โดยแจ้งให้โจทก์ทราบภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วกว่า 1 ปี ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในตอนแรกว่าฝ่ายจำเลยไม่กำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ประกอบกับตัวบ้านเลขที่ 59/1 ประมาณ 1 ใน 3 อยู่ในแนวเขตที่จะต้องเวนคืน หากให้รื้อถอนเฉพาะส่วน โครงสร้างของบ้านส่วนที่มิได้ถูกรื้อถอนจะตั้งอยู่ติดถนนสาธารณะโดยไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างตัวบ้านกับรั้วบ้านดังเช่นสภาพของเดิมที่มีระยะห่างกันประมาณ 5 เมตร ทั้งยังทำให้พื้นที่ใช้สอยของบ้านส่วนที่เหลือจากการถูกรื้อถอนคับแคบลงไม่อาจใช้ประโยชน์ตามสภาพเดิมได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนบ้านที่เหลืออยู่ได้ และโจทก์ก็ได้ร้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2541 แล้ว แต่จำเลยไม่ดำเนินการให้ การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2541 ขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลังจำนวน 15,000,000 บาท อันเป็นการขอให้เวนคืนสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนด้วย พอถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 19 แล้ว เมื่อรัฐมนตรีฯ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน จึงถือว่ารัฐมนตรีฯ ให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเวนคืนตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ตามความตอนท้ายวรรคสองของมาตรา 19 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 59/1 ทั้งหลังจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียน, เช่าต่อโดยไม่มีกำหนด, สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่า
ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติว่า "เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้หรือไม่ ถ้าเช่ามีกำหนดว่าสามปีขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าไซร้ หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ท่านว่าการเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวพิพาท จากโจทก์เป็นเวลา 21 ปี นับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2532 แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี คือวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เท่านั้น แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้ว จำเลยยังคงเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปอีกโดยโจทก์มิได้ทักท้วง จึงต้องถือว่าเป็นการเช่าต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ซึ่งโจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามวิธีที่กำหนดไว้ในมาตรา 566 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 ตามใบตอบรับไปรษณีย์ การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์จึงมีผลตามกฎหมายแล้ว จำเลยต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท หาใช่โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าไม่