พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายฟอกเงินย้อนหลัง: ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานโดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในคำวินิจฉัยที่ 40-41/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากความผิดฟอกเงิน แม้ทรัพย์สินได้มาก่อน พ.ร.บ.ฟอกเงินใช้บังคับ และการพิสูจน์ที่มาของทรัพย์สิน
ส. เป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดมูลฐานมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปี 2544 ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 เป็นภริยาผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของ ส. จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ส.ผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้คัดค้านทั้งสองที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟอกเงิน: การดำเนินคดีแพ่ง, หน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์, และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
การดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินซึ่งเป็นคดีแพ่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 บังคับให้ยื่นต่อศาลแพ่ง และจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ ผู้คัดค้านจึงมีหน้าที่ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน แต่เมื่อถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ชอบ เพราะแม้ไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน แต่เมื่อถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ชอบ เพราะแม้ไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ต้องสอบถามโจทก์ก่อน หากเคยฟ้องศาลปกครองแล้วก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
ในการพิจารณาว่า คดีจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองเป็นอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10, 11 และ 12 คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าวศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกและศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ว เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีปกครองและมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองมาแล้ว และศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่มิได้ดำเนินการแก้ไขให้มีการสอบถามโจทก์เสียก่อนดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องได้รับอันตรายโดยตรง
โจทก์ร่วมที่ 1 มิใช่ผู้เสียหายในความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งเป็นความผิดต่อรัฐ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใด คงมีแต่โจทก์ร่วมที่ 2 เท่านั้น ที่ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมที่ 1 จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ด้วย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ได้ แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ที่ 1 ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จและออกบัตรประชาชนปลอม การกระทำเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยแจ้งต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่า อ. พวกของจำเลยคือ ส. ทำบัตรประจำตัวประชาชนเดิมสูญหาย และวันเวลาเดียวกันนั้นจำเลยแจ้งให้ผู้เสียหายจดข้อความลงในคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของ ส. สูญหาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยจำเลยมีเจตนาเดียวก็เพื่อที่จะขอให้ผู้เสียหายออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยจำเลยมีเจตนาเดียวก็เพื่อที่จะขอให้ผู้เสียหายออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ อ. ในชื่อของ ส. ให้ใหม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียวกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) เป็นกรรมเดียวกันกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ 267 ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น ชอบแล้ว
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน แต่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อช่วยเหลือพวกของจำเลยด้วยการแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่พวกของจำเลย ซึ่งเป็นเอกสารราชการที่ทางราชการจะออกให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการแล้ว ยังส่อแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลยกับพวกที่มีเจตนาจะนำเอาบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งปรากฏชื่อของผู้อื่นไปใช้ในทางมิชอบ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วางโทษจำคุกจำเลยก่อนลดโทษและใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน แต่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเพื่อช่วยเหลือพวกของจำเลยด้วยการแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่พวกของจำเลย ซึ่งเป็นเอกสารราชการที่ทางราชการจะออกให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการแล้ว ยังส่อแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลยกับพวกที่มีเจตนาจะนำเอาบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งปรากฏชื่อของผู้อื่นไปใช้ในทางมิชอบ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วางโทษจำคุกจำเลยก่อนลดโทษและใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดินสาธารณประโยชน์: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากที่ดินเป็นของรัฐ
จำเลยมีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง และประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหนองน้ำและลำรางสาธารณประโยชน์ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) การที่โจทก์ให้จำเลยและผู้อื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยรัฐไม่ยินยอม และมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยและผู้เช่ารายอื่นๆ ทำให้โจทก์ขาดการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหนองน้ำและลำรางสาธารณประโยชน์ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) การที่โจทก์ให้จำเลยและผู้อื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยรัฐไม่ยินยอม และมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยและผู้เช่ารายอื่นๆ ทำให้โจทก์ขาดการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานและคำรับสารภาพ
จำเลยที่ 2 เป็นสามีจำเลยที่ 1 เมื่อ ส. สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งให้ ส. จำเลยที่ 1 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับก่อนส่งมอบ แม้การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนยังไม่สำเร็จบริบูรณ์แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองก็เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน จึงเป็นความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาดเกินกำหนด และการขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของอื่นที่ไม่ระบุในคำร้อง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 และขายทอดตลาดได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2545 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด แม้โจทก์นำยึดสิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 อีกคราวหนึ่งและไม่ได้มีการขายทอดตลาดก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องก็มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านได้ แต่ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำร้องและมิได้มีคำขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของดังกล่าวมาในท้ายคำร้องด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของภายในบ้านได้ เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นบุพการีในฐานะกรรมการบริษัท – ข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้..." อันเป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัท จำเลยทั้งสามอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท ร่วมกันจงใจทำหลักฐานอันเป็นเท็จว่า บริษัทเป็นหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่บริษัท โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกันกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้องหากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาก็เป็นเงินของบริษัทมิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1