พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นบุพการีในฐานะกรรมการบริษัท – ข้อห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
ป.พ.พ. มาตรา 1562 บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้..." อันเป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดฟ้องบุพการีของตน จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 โดยระบุว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัท จำเลยทั้งสามอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท ร่วมกันจงใจทำหลักฐานอันเป็นเท็จว่า บริษัทเป็นหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ เพื่อนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่บริษัท โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกันกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้องหากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหาก็เป็นเงินของบริษัทมิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819-820/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องผิดสัญญาเช่าป่าไม้: ศาลชี้ผิดประเด็นต้องพิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยฐานผิดสัญญาสัมปทานที่ป่าไม้เขตซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ระงับการทำป่าไม้ชายเลนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ปี 2539 เป็นการผิดสัญญาและทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยความเสียหายแก่โจทก์และคืนเงินประกันแก่โจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินชดเชยและเรียกเงินประกันคืนหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรีมีมติใหม่ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนต่อไปได้ โจทก์สามารถทำไม้ป่าชายเลนต่อไปจนสิ้นอายุสัมปทาน ขณะฟ้องคดีนี้อายุสัมปทานของโจทก์ยังคงมีอยู่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายและเงินประกันความเสียหายตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนได้แล้วพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ ยึดรถยนต์โดยไม่ชอบ ชดใช้ค่าเสียหายขาดประโยชน์และค่าเสื่อมราคา
สินค้ารถยนต์ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.2534 มาตรา 3 ได้ให้คำจำกัดความไว้แล้ว การที่กรมสรรพสามิตจำเลยออกคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 437/2537 ให้รถยนต์ซึ่งทำจากชิ้นส่วนของรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย แม้มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับและด้านหลังเปิดโล่งเป็นรถยนต์นั่งตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 05.01 ด้วย เป็นการเปลี่ยนประเภทรถยนต์กระบะตามความหมายของรถยนต์กระบะ ให้เป็นรถยนต์นั่ง มิใช่การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบอำนาจโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยยึดรถยนต์ของโจทก์ไว้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ระหว่างที่รถยนต์คันของโจทก์ถูกจำเลยยึดไว้ ย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ และระยะเวลาที่ผ่านไปเกือบ 2 ปี ย่อมทำให้รถยนต์ที่จอดทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานเก่าลง อุปกรณ์บางอย่างหมดสภาพหรือหมดอายุการใช้งานซึ่งเป็นเหตุให้รถยนต์มีราคาลดลงจากเดิม อันเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์มิได้ใช้รถยนต์ และค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ให้แก่โจทก์ด้วย
ระหว่างที่รถยนต์คันของโจทก์ถูกจำเลยยึดไว้ ย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ และระยะเวลาที่ผ่านไปเกือบ 2 ปี ย่อมทำให้รถยนต์ที่จอดทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานเก่าลง อุปกรณ์บางอย่างหมดสภาพหรือหมดอายุการใช้งานซึ่งเป็นเหตุให้รถยนต์มีราคาลดลงจากเดิม อันเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์มิได้ใช้รถยนต์ และค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งลงโทษทางวินัยและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ปกครอง ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหาร การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งทางปกครองของฝ่ายบริหารได้นั้น ข้อสำคัญข้อหนึ่งคือ การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการออกโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนและออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การลงโทษทางวินัยกับความรับผิดในทางอาญานั้นต้องแยกออกจากกัน การถูกลงโทษทางวินัยตามข้อกล่าวหานั้นอาจไม่เป็นความผิดทางอาญาก็ได้ ไม่จำเป็นว่าการลงโทษทางวินัยจะต้องเป็นความผิดทางอาญาเสมอไป คดีนี้ประการแรกโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างเลยว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เพียงแต่โต้แย้งข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการ แต่โจทก์ก็ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลอาญาข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแต่คำพิพากษาดังกล่าวก็มีข้อเท็จจริงที่พัวพันกับตัวโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจลงโทษโจทก์ตามพฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า การกระทำของโจทก์ตกอยู่ในกรณีมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนโดยมิได้ลงโทษกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์แต่อย่างใด การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกคำสั่งโดยใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
การลงโทษทางวินัยกับความรับผิดในทางอาญานั้นต้องแยกออกจากกัน การถูกลงโทษทางวินัยตามข้อกล่าวหานั้นอาจไม่เป็นความผิดทางอาญาก็ได้ ไม่จำเป็นว่าการลงโทษทางวินัยจะต้องเป็นความผิดทางอาญาเสมอไป คดีนี้ประการแรกโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างเลยว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เพียงแต่โต้แย้งข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากราชการ แต่โจทก์ก็ถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลอาญาข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแต่คำพิพากษาดังกล่าวก็มีข้อเท็จจริงที่พัวพันกับตัวโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ใช้ดุลพินิจลงโทษโจทก์ตามพฤติการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า การกระทำของโจทก์ตกอยู่ในกรณีมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนโดยมิได้ลงโทษกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์แต่อย่างใด การออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกคำสั่งโดยใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ประเภทยาเสพติดที่แตกต่างกัน และการรับฟังคำรับสารภาพที่ต้องอาศัยหลักฐานสนับสนุน
ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ มาตรา 13 ศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น จะนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมโจทก์และจำเลย และโจทก์ส่งรายงานตรวจวิเคราะห์ยาเสพติดให้โทษของกลางเอกสารหมาย จ. 1 ต่อศาลโดยคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงและไม่คัดค้านผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ภาค 9 นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีดำเนินการควบคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา ฯ ดังกล่าว เพราะมิใช่เป็นการนำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานสืบเสาะและพินิจจำเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 ที่ว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้นั้น มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษา ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีข้อสงสัยว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีโคเดอีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 จำนวน 4 ขวด ปริมาตร 400 มิลลิลิตร น้ำหนักไม่ปรากฏชัด ซึ่งไม่อาจแยกชั่งน้ำหนักโคเดอีนได้ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ตามรายงานการตรวจวิเคราะห์ของกลางระบุว่าของกลางเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลผลการตรวจวิเคราะห์พบโคเดอีนและโพรเมทาซีนในของกลาง และมีหมายเหตุไว้ในข้อ 3 ว่า "โดยทั่วไปยาแก้ไอผสมโคเดอีนที่ขึ้นทะเบียนตำรับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 จะมีส่วนประกอบคือ ใน 5 มิลลิลิตรจะประกอบด้วยโคเดอีนฟอสเฟต 9 มิลลิกรัม และโพรเมทาซีนไฮโดรคลอไรด์ 3.6 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับโคเดอีนประมาณ 7 มิลลิกรัม และเทียบเท่ากับโพรเมทาซีนประมาณ 3 มิลลิกรัม" แสดงว่า ของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีสูตรของสิ่งปรุงตามคำจำกัดความของตำรับยาในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2531) ซึ่งกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามที่กำหนดผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 43 แล้วเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เมื่อของกลางตามผลการตรวจวิเคราะห์เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามฟ้อง เมื่อโจทก์อ้างส่งแต่เพียงรายงานการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งระบุว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งขณะเกิดเหตุการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่มีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานการสืบเสาะไม่เป็นพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประเภทยาเสพติด
เมื่อพนักงานคุมประพฤติส่งรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยให้แก่ศาลแล้วศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฎในรายงานดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติฯ มาตรา 13 เท่านั้น โดยจะนำมารับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรอการลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานที่กระทำผิด
ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 15 นั้น ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ ออกมาใช้บังคับโดยบัญญัติให้ พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ เป็นอันยกเลิกตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไปและกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ มาใช้บังคับแทน การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพ.ร.บ. ดังกล่าวซึ่งถูกยกเลิกไปถือเท่ากับฟ้องของโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7180/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครองที่ยังไม่เคยฟ้องศาลปกครอง ถือไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับคำฟ้องดังกล่าวด้วยว่าให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดินและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับที่ดินมาจากการแบ่งปันทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดสรรที่ดิน แต่เนื่องจากโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทฯ โจทก์จึงให้นาย ข. ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และโจทก์ให้นาย ข. จดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่ธนาคาร การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์สมคบกับนาย ข. และผู้อื่นกระทำการหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและหลีกเลี่ยงเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 80 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ มาตรา 74) เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อต่อมาจำเลยที่ 2 ยึดที่ดินดังกล่าวเพื่อชำระค่าภาษีอากรค้างของนาย ข. การที่โจทก์ฟ้องเพื่อขอคืนที่ดินทั้งแปดแปลง จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งตามคำขอท้ายฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดินและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท ส. ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดสรรที่ดินชื่อโครงการไดร์อิน ต่อมาปี 2528 บริษัท ส. ปิดโครงการดังกล่าวโดยที่ยังขายที่ดินไม่หมด ผู้ถือหุ้นในบริษัท ฯ จึงตกลงแบ่งปันทรัพย์สินของบริษัท ส. ในส่วนที่เหลืออยู่ โจทก์ได้รับแบ่งปันที่ดินประมาณ 20 แปลง แต่เนื่องจากโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท ส. จะใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ได้ เพราะเป็นปรปักษ์แก่กันตามหนังสือของกรมที่ดิน และเวลาขายต่อจะต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดินอีกครั้งหนึ่ง โจทก์จึงจะได้กระจายใส่ชื่อบุคคล ซึ่งโจทก์ไว้วางใจให้ถือแทนหลายราย ข. เป็นลูกจ้างโจทก์คนหนึ่ง ซึ่งโจทก์ให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปดแปลงแทนโจทก์ และโจทก์ได้จำนองที่ดินดังกล่าวค้ำประกันหนี้ของโจทก์ที่ธนาคาร และโจทก์นำสืบว่านอกจากที่ดินทั้งแปดแปลงแล้ว โจทก์ยังดำเนินการให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนอีกหลายแปลง การกระทำของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์สมคบกับ ข. และผู้อื่นกระทำการหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และหลีกเลี่ยงเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 80 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การที่โจทก์ฟ้องเพื่อขอคืนที่ดินทั้งแปดแปลงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ที่ดินทั้งแปดแปลง