คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ตุลยสิงห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 586 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่าซื้อรถยนต์: การคิดค่าเสียหาย ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลดค่าเสียหายลงนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพิ่มขึ้นและชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น ฎีกาในส่วนดอกเบี้ยโจทก์เพิ่งยกเป็นประเด็นขึ้นว่าในชั้นฎีกาจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6267/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เมื่อจำเลยรับเงินชำระหนี้แล้ว
ศาลพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน การบังคับตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ระบุในคำพิพากษา โดยโจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากไม่สามารถคืนได้จึงค่อยใช้ราคาแทน ระหว่างการบังคับคดีโจทก์นำเงินไปวางศาลชำระราคารถแทนพร้อมค่าเสียหายตามคำพิพากษาทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่รับเงินที่วางได้ แต่จำเลยกลับขอรับเงินดังกล่าวเท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืน และถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว แม้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันไปแล้ว แต่การที่จำเลยยอมรับชำระราคารถยนต์ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์โดยผลของการชำระหนี้ดังกล่าว แม้ว่ารถยนต์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยการส่งมอบ แต่รถยนต์เป็นพาหนะที่มีกฎหมายควบคุม การนำไปใช้ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีให้ถูกต้องก่อนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ได้
ปัญหาว่าการที่จำเลยรับเงินที่โจทก์วางศาลแล้วต้องมีหน้าที่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6267/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: การยอมรับชำระราคาถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ระบุในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนให้แก่จำเลย หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน โจทก์ก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับที่ระบุไว้ เมื่อในระหว่างการบังคับคดีในคดีเดิมจำเลยได้ขอรับเงินที่โจทก์นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้ว เท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว และแม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันไปแล้ว แต่การที่จำเลยยอมรับชำระราคารถยนต์ก็ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยผลของการชำระหนี้ แม้ว่ารถยนต์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยการส่งมอบ แต่รถยนต์เป็นพาหนะที่มีกฎหมายควบคุม การนำไปใช้ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีให้ถูกต้องก่อนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5383/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่อุทธรณ์ได้ หากมีการโต้แย้ง และอุทธรณ์ต้องชัดเจน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง และนัดฟังคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่การที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2543 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้ว จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แต่อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับคำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นนั้น มิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้ชัดแจ้งอย่างใด เพียงแต่กล่าวอ้างถึงอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4465/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนกรรมการบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และประเด็นการนำข้อเท็จจริงใหม่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยทั้งสี่ มีประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่าการลงมติถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 แล้วแต่งตั้ง ค. เป็นกรรมการในการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2543 ของบริษัทจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ และโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพียงใด เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสี่มิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงเรื่องการประชุมสามัญครั้งที่ 2/2543 ไว้ในคำฟ้องและคำให้การ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้ขออนุญาตศาลชั้นต้นเพื่อขอนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้แล้วก็ตาม อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ในข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยต้องรับผิดชอบความเสียหายจากสัญญาเดิม แม้รถสูญหาย
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่" ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไป คือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย เมื่อสำนักงานของโจทก์เป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ ข้อตกลงที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่งนั้น จึงขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่อาจใช้บังคับได้
สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดถือว่าสัญญาเลิกกันทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีตามสัญญาเช่าซื้อไปก่อนที่รถยนต์ที่เช่าซื้อจะสูญหาย เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วนอกจากโจทก์จะได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ด้วย จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดในความเสียหายหากต่อมาการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 217 จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามที่สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดไว้ และย่อมมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ เมื่อไม่ส่งคืนก็ต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ จนกว่าจำเลยทั้งสองจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แต่เนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย โจทก์จึงเรียกค่าขาดประโยชน์ได้จนถึงวันที่รถยนต์สูญหายไป หลังจากนั้นโจทก์จะเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนลงทุนกิจการน้ำดื่ม เลิกห้างหุ้นส่วน แบ่งทุนคืนได้ แม้ไม่มีการชำระบัญชี
โจทก์และจำเลยต่างมีปัญหาด้านการเงิน ประสงค์จะเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนกัน จำเลยกลับท้าให้โจทก์ฟ้องคดีและให้การต่อสู้คดีปฏิเสธการเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์เช่นนี้ ถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ดังนั้น โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้
แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนนี้มีลูกหนี้ เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีเพียงอาคารและเครื่องทำน้ำดื่มเท่านั้น กิจการทำน้ำดื่มก็เพิ่งจะเริ่มต้นยังไม่ปรากฏกำไรหรือขาดทุนในการดำเนินกิจการ หากจะให้มีการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนก็คงจะไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด จึงสมควรพิพากษาแบ่งทุนให้โจทก์ได้โดยไม่ต้องชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ ผู้ค้ำประกันไม่ผูกพันหากไม่ตกลงร่วมด้วย
หากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดจนครบจำนวนเงิน130,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลืออีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่าซื้อจึงระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยาย: ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อให้ผู้เช่าซื้อ
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อจากโจทก์เป็นผลต่อเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไปจองซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อกับบริษัท อ. ข้อตกลงและหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวที่จะต้องจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อจึงตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อจากบริษัทดังกล่าวมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อโจทก์จะอ้างว่าไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ นอกจากนี้โจทก์ยังมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจึงต้องมีหน้าที่ทำนองเดียวกับผู้ให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 ที่จะต้องให้ผู้เช่าซื้อได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อ รถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นทรัพย์ที่มีทะเบียน โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อจึงมีหน้าที่จดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่าซื้อได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อได้ตามสภาพของรถยนต์และโดยชอบด้วยกฎหมาย กับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อจึงมีหน้าที่จดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรงอีกด้วย
เมื่อบริษัท อ. ไม่โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และบริษัท อ. เป็นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้บริษัท อ. จดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ หาใช่กรณีพ้นวิสัยดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการให้มีการจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อจนจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อล่วงเลยไปแล้วถึง 4 งวด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 5 จนกระทั่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ และตามสัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีก็ตาม สัญญาเช่าซื้อก็หาได้เลิกกันเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อไม่ เพราะโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 อยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญา ทั้งโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ได้ การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันต่อมาจึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ
เมื่อมีการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่กัน จึงเป็นกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อกัน ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยปริยายจึงชอบแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่ตามเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์แล้วรวม 4 งวด ให้แก่จำเลยที่ 1 สำหรับเงินจองซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของจำเลยที่ 1 มาตีราคาเป็นเงิน 630,000 บาท และชำระเป็นเงินสดอีก 110,000 บาท รวมทั้งเงินค่าจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อที่บริษัท อ. รับไว้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่จองซื้อ เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์นั้นมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อต่อ จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่เช่าซื้อและถือว่าโจทก์ได้รับไว้ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับโดยนำเอาเงินจองซื้อรถยนต์จำนวน 740,000 บาท มาออกใบเสร็จเป็นเงินดาวน์และภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินโจทก์จึงต้องคืนเงินจอง ค่าจดทะเบียนและต่อทะเบียนรถยนต์ที่จองหรือที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วย ในขณะเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อของโจทก์ถือเป็นการได้ใช้ทรัพย์ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จะชดใช้คืนแก่โจทก์ย่อมทำได้ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับชำระราคาแทนการคืนรถเช่าซื้อ ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์และสร้างภาระผูกพันในการโอนทะเบียน
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่จำเลย (โจทก์คดีนี้) หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคากับโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง จำเลยไม่สามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ เพราะโจทก์มีเจตนานำเอารถหลบหนี การที่จำเลยยอมรับเงินค่ารถยนต์ ค่าขาดประโยชน์ และค่าเสียหายจากโจทก์โดยที่จำเลยมิได้บอกปัดหรือทักท้วงให้โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนก่อน จึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์ตามที่จำเลยฎีกาไม่ และแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า การที่จำเลยเลือกบังคับคดีโดยรับชำระราคาแทนการบังคับให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์ เป็นการสละสิทธิในการบังคับให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์คืนตามคำพิพากษา แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันไปแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยยอมรับชำระราคารถยนต์ดังกล่าว ถือได้โดยปริยายว่า จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ รถยนต์คันพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่โอนทะเบียนและส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 59