พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์และข้อพิพาทเรื่องหนี้จากการซื้อขายหุ้น
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายได้กระทำตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา1129 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซื้อขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย โดยไม่ได้โอนชื่อให้จำเลย แต่มีหลักฐานลงไว้ในบัญชีทะเบียนผู้ถือหุ้นซึ่งระบุหุ้นทุกหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนลูกค้าในแต่ละวัน ต่อมามีการคิดทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ค้างอยู่แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้างเกิน และค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่ใช่ฟ้องเรียกทรัพย์ ไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่ใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกหนี้ผ่อนชำระ: การฟ้องเรียกหนี้แต่ละงวดมีอายุความ 5 ปีนับจากวันถึงกำหนดชำระ
เมื่อเงินประกันของโจทก์ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนโจทก์นั้นโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยผ่อนชำระคืนโจทก์เป็นงวด ๆ งวดละเดือนการที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย จึงเป็นการเรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดเวลาแน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 มีกำหนดอายุความห้าปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ตกลงกันว่า จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อรับเงินค่างวดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้โดยทันที ถือว่ามิใช่กรณีที่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยที่ 1 จะตกเป็นผู้ผิดนัดก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ให้คำเตือนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้คำเตือนจำเลยที่ 1 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแต่ละงวด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2735/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายลงทุนสร้าง/ซื้อ/พิมพ์ภาพยนตร์เป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี และรายจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้หักลดหย่อนไม่ได้
โจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ ซื้อภาพยนตร์จากต่างประเทศและเป็นผู้พิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวขึ้นมาใหม่เป็นหลายชุด ภาพยนตร์หรือฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวย่อมเป็นทรัพย์สินของโจทก์ หาใช่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นการขายภาพแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น รายจ่ายของโจทก์ในการสร้างภาพยนตร์ ซื้อภาพยนตร์มาจากต่างประเทศและพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือเป็นรายจ่ายในการขยายออกซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5)
รายจ่ายที่ไม่ปรากฏชื่อหรือที่อยู่ของผู้รับเงิน แม้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรองว่าได้จ่ายไปจริงก็ตาม เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
รายจ่ายที่ไม่ปรากฏชื่อหรือที่อยู่ของผู้รับเงิน แม้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรองว่าได้จ่ายไปจริงก็ตาม เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร, การอุทธรณ์ภาษี, และเงินเพิ่มทางภาษีอากร: ศาลฎีกาวินิจฉัยการประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการบังคับชำระภาษีอากร
จำเลยนำสินค้าของเด็กเล่นจากเมือง ฮ่องกง เข้ามาในราชอาณาจักรเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง จึงแจ้งการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มเติม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินที่ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าการประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเป็นอันชอบแล้ว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือเป็นการแต่งตั้งตามตำแหน่งราชการ ไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัว
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ข้อ (1) ระบุว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยินยอมตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 (จังหวัด พิษณุโลก ) เป็นผู้ชำระบัญชี ซึ่งขณะนั้น ม.ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 ม. จึงเป็นผู้ชำระบัญชีโดยตำแหน่งราชการไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัว เมื่อ ม. ย้ายไปรับราชการที่อื่นและ จ. ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 6 แทน จ. ก็ย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีในคดีนี้ต่อไปได้ การที่ศาลแต่งตั้ง จ. เป็นผู้ชำระบัญชีคนใหม่แทน ม. ผู้ชำระบัญชีคนเดิม จึงไม่เป็นการผิดวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์และจำเลย ทั้งไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาตามยอมของคู่ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์: การครอบครองต่อเนื่องและการโต้แย้งสิทธิเดิม ทำให้สิทธิครอบครองเดิมขาดอายุความ
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จำเลยได้ลงชื่อรับรองแนวเขตที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งเป็นการยอมรับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วก็ตาม แต่อีกสองเดือนถัดมาจำเลยก็ได้คัดค้าการที่ทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาท และจำเลยได้เข้าครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทตลอดมาเช่นนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนภายใน 1 ปีย่อมหมดสิทธิฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น: กำหนดความกว้างของทางผ่านตามความจำเป็นและสภาพการณ์
ที่ดินโจทก์มีบ้านปลูกอยู่หลายหลัง โจทก์และบุคคลอื่นในที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ได้แต่อาศัยเดินผ่านบ้านคนรู้จักในที่ดินจำเลย โจทก์กับบริวารจึงมีสิทธิจะผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคแรก
ที่ดินตามแนวที่โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นนั้นเป็นทางที่ใกล้ถนนสาธารณะที่สุด และเกิดความเสียหายแก่ที่ดินจำเลยน้อยที่สุดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็นนั้น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว และตามสภาพการณ์ ความเจริญของบ้านเมืองทุกวันนี้รถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น สมควรกำหนดให้ทางจำเป็นกว้าง 4 เมตร ตามแนวที่โจทก์ขอผ่านนั้น.
ที่ดินตามแนวที่โจทก์ขอผ่านเป็นทางจำเป็นนั้นเป็นทางที่ใกล้ถนนสาธารณะที่สุด และเกิดความเสียหายแก่ที่ดินจำเลยน้อยที่สุดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องทางจำเป็นนั้น ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้เฉพาะทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว และตามสภาพการณ์ ความเจริญของบ้านเมืองทุกวันนี้รถยนต์เป็นพาหนะที่จำเป็น สมควรกำหนดให้ทางจำเป็นกว้าง 4 เมตร ตามแนวที่โจทก์ขอผ่านนั้น.