คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุมิตร สุภาดุลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 320 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่ไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการพิจารณาขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาหรือไม่ แต่การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่ไต่สวนคำร้องปล่อยชั่วคราว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว และคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวและยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวน จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งที่ยกคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ฎีกา เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เพื่อประกอบการพิจารณาขอให้ปล่อยชั่วคราวก็สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยที่ 2 ชั่วคราว ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 108 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 และการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้คืนถ้อยคำสำนวนพร้อมคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแก่ศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปก็มีผลเช่นเดียวกับการไม่รับวินิจฉัย และสั่งยกอุทธรณ์จำเลยที่ 2 คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขอคืนเงินจากความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ แม้คำฟ้องระบุเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งได้ออกให้แก่ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยลักไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสด ถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายโดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายและธนาคาร ซ. ดังนั้น คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการนำเอาบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งธนาคารออกให้แก่ผู้เสียหาย ที่จำเลยลักไปจากผู้เสียหาย ไปทำการถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวน 100,000 บาท ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายอยู่ด้วย เพียงแต่วิธีการลักเงินดังกล่าวก็โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ทรัพย์แทนผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ขอคืนเงินจากจำเลยในคดีอาญาเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และการลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานนำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เบิกถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท ของผู้เสียหายที่ 2 ไป อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/5 และมาตรา 269/7 เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายว่า จำเลยได้ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ซ. ซึ่งได้ออกให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่จำเลยได้ลักไปเพื่อใช้ประโยชน์ในการเบิกถอนเงินสด ถอนเงินสดจำนวน 100,000 บาท ไปจากวงเงินเครดิตของผู้เสียหายที่ 2 โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายและธนาคาร ซ. และยังมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวด้วย ดังนั้น ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า โจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานลักเงินของผู้เสียหายที่ 2 อยู่ด้วย เพียงแต่วิธีการลักเงินดังกล่าวก็โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัตินั่นเอง จึงเป็นความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์และความผิดฐานลักทรัพย์ด้วยแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้เรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหายที่ 2 โจทก์จึงมีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9804/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติ และความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง
จำเลยถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเนื่องจากสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นกรณีตามมาตรา 163 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ที่บัญญัติให้ถือว่าผู้นั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ด้วย หาใช่กรณีเสียสิทธิเลือกตั้งเนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 164 และตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังคงบัญญัติบทกำหนดโทษกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ในมาตรา 139 อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ได้บัญญัติภายหลังยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ จึงไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ทั้งบัญญัติให้มีระวางโทษเท่าเดิม จึงไม่มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5661/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่เป็นโมฆะเนื่องจากฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และผู้ทำสัญญาไม่มีคุณสมบัติ
โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะประกอบธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารจำเลยได้ จำเลยก็ทราบเรื่องดังกล่าวดี จึงไม่ได้รายงานการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 อันทำให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยจึงไม่อาจนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785-3787/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมและเจ้าของรวมมีสิทธิเรียกร้อง
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่นาง ต. ผู้เป็นมารดาเพียงผู้เดียว แต่นาง ต. มารดาผู้รับพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นาง ต. มารดาย่อมตกไปตามมาตรา 1698 (1) ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นมรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง แม้พินัยกรรมดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แต่ความปรากฏในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่ความตายและการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้
เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457 ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ดังนั้นทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของรวม เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ. แม้จะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ. ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะ ส่งเสียให้เล่าเรียนและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กหญิง ญ. เป็นบุตร ดังนั้นเด็กหญิง ญ. จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ฉะนั้นผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
สำหรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1547 มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467-2468/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาการก่อสร้าง: ศาลฎีกาตัดสินให้ปรับลดค่าเสียหายและกำหนดระยะเวลาคิดดอกเบี้ย
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารขนาด 16 คูหา แบ่งงวดงานก่อสร้างทั้งหมด 11 งวด กำหนดลงมือก่อสร้างวันที่ 1 ตุลาคม 2537 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2538 จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งงานตามกำหนดงวดในสัญญาได้ โจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับโดยเมื่อพ้นกำหนดตามสัญญาคือวันที่ 30 กันยายน 2538 โจทก์ที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 เร่งรัดทำการก่อสร้างตามงวดงาน เอกสารทุกฉบับที่โจทก์ที่ 1 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เป็นเวลาหลังจากครบกำหนดตามสัญญาก่อสร้างแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญแม้จะส่งงานเกินกำหนดเวลาแต่ละงวดโจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับผลงาน การที่โจทก์ที่ 1 ยอมรับผลงานก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงวดงานจึงเป็นการขยายระยะเวลาสัญญาว่าจ้างไปโดยไม่มีกำหนด มิได้ถือเอาวันที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่างวดงานในงวดที่ 9 แต่โจทก์ที่ 1 ปฏิเสธโดยขอให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายน 2539 แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานทั้งหมดใหม่คือวันที่ 15 กันยายน 2539 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 16 กันยายน 2539 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2539 มิใช่วันที่ 30 กันยายน 2538 ดังนั้น จำเลยจที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสิบหก
เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานเดิมในวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นสาระสำคัญ และได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานใหม่เป็นวันที่ 15 กันยายน 2539 โจทก์ที่ 1 จึงอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อนวันที่ 15 กันยายน 2538 หาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องค่าปรับรายวันตามสัญญาในระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2538 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2539 จากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10830/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 คดีมี/ไม่มีทุนทรัพย์ - ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ 74 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,000 บาท เป็นทุนทรัพย์ 74,000 บาทจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินอีกส่วนหนึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทาน เท่ากับว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งส่วนที่มีทุนทรัพย์และส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าตามสัญญาเช่า เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9183/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางสาธารณประโยชน์ การรบกวนสิทธิ และอำนาจฟ้องของผู้ได้รับความเสียหาย
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ โจทก์ชอบที่จะใช้สอยทางพิพาทได้ การที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองโดยทำการไถทางแล้วปลูกต้นสักในเส้นทางดังกล่าว ย่อมเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในการใช้เส้นทางสาธารณประโยชน์ อันถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และ 1337 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์มีเส้นทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะหรือไม่ ทั้งไม่ต้องคำนึงว่าประชาชนเลิกใช้เส้นทางดังกล่าวแล้วเพราะตราบใดที่ยังไม่มีการประกาศยกเลิกโดยทางการก็ยังคงสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์อยู่ การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
of 32